เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อย่างเช่น แกลบ ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด เศษปุ๋ยคอก และเศษวัสดุอื่นๆ ที่หลงเหลือจากการใช้ประโยชน์ส่วนมากมักจะถูกปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นขยะ เน่าเหม็น และไร้มูลค่า อีกทั้งยังสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมโดยรวม หากมีการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่า จึงเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย
นายจำรัส เกตุมณี, นายปัญญา ลาไธสง และ นายวิวัตร ศรีคำสุข นักศึกษาจากภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ช่วยกันคิดค้น เครื่องอัดขุยมะพร้าวด้วยระบบอัตโนมัติขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระและส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีเศษวัสดุเหลือใช้อย่าง "ขุยมะพร้าว" สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ่มค่า โดย ผลงานดังกล่าว อาจารย์ ชัยรัตน์ หงส์ทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ผลงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจากเจ้าของผลงานว่า เครื่องอัดขุยมะพร้าวอัตโนมัตินี้ ควบคุมด้วยระบบ PLC จุดประสงค์ที่คิดสร้างเพราะต้องการสร้างมูลค่าเศษวัสดุที่เหลือทิ้งจากการเกษตร และลดขยะที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเครื่องอัดขุยมะพร้าวอัตโนมัติเครื่องนี้ จะทำการขัดเศษขุยมะพร้าวใช้เป็นรูปทรงกระบอก เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
"ประโยชน์ที่ได้ อย่างเช่น ใช้ทำเป็นแท่งเมล็ดพันธุ์พืช กล้าไม้และแท่งปุ๋ยสำหรับใส่ต้นไม้ ใช้เป็นแท่นเพาะเมล็ดโดยไม่ต้องใช้ถุงดำ เนื่องจากแท่งวัสดุที่อัดได้ มีความหนาแน่นพอที่จะไม่แตกออกจากกัน ทำให้รูปทรงกระบอกเหมือนถุงดำเพาะกล้าไม้ เป็นการลดปริมาณขยะที่ย่อยสลายยากเช่นถุงดำ และประหยัดต้นทุนในการซื้อถุงดำเพาะกล้าไม้อีกทางหนึ่งด้วยครับ"
ในส่วนของเครื่องและการทำงาน เจ้าของผลงานเล่าต่อว่า เครื่องจะแยกการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นจุดลำเลียง สำหรับลำเลียงวัตถุดิบ ใช้มอเตอร์ ไฟฟ้าขนาด 24 โวลต์ ส่วนที่สอง เป็นชุดอัดแท่งขุยมะพร้าว สำหรับอัดแท่งขุยมะพร้าวขนาด 150x200x140 มิลลิเมตร เมื่อประกอบเข้าด้วยกันและทดสอบประสิทธิภาพการทำงานพบว่า เครื่องสามารถอัดแท่งวัตถุดิบมีอัตราเฉลี่ย 7.3 กรัม/1 คู่ ใช้เวลาเฉลี่ย 20 นาที
"สำหรับการผลิตแท่งอัดขุยมะพร้าวของเครื่องอัดขุยมะพร้าวต่อการผสม 1 ครั้งใช้ปริมาณการผลิต 20 ชิ้น มีอัตราการผลิตแท่งอัดขุยมะพร้าว 360แท่งต่อชั่วโมง ส่วนผสมสำหรับอัดขุยมะพร้าว ประกอบด้วย ขุยมะพร้าว 5 กิโลโรม สารเหนียว 0.8 กิโลกรัม และน้ำดินเหนียว 6 กิโลกรัม ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วเทลงใน Hopper ของถึงลำเลียง จากนั้นก็เดินเครื่องเพื่อใบป้อนลำเลียงวัตถุดิบลงชุดอัดแท่ง จากนั้นกระบอกสูบนิวเมตริกส์ทำการอัดวัตถุดิบให้เป็นแท่งขุยมะพร้าวและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป" เจ้าของผลงานทิ้งท้าย
ข่าวล่าสุด ในหมวด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น