++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อดีตทหารอากาศผนึกอาจารย์ม.ราชภัฎอุดรฯ วิจัยใช้น้ำเปล่าเป็นเชื้อเพลิงสำเร็จ

อุดรธานี-อดีตทหารอากาศผนึกนักวิชากา รม.ราชภัฏอุดรธานี วิจัยนำน้ำเปล่าใช้เป็นเชื้อเพลิงได้สำเร็จแล้ว เผยนำหลักการแยกไฮโดรเจนจากน้ำ ผสมกับก๊าซLPG ผ่านกลไกสมองกลควบคุมเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ในห้องเครื่อง ระบุเติมน้ำแค่ 1 ลิตรรถวิ่งได้ถึง 3,000 กิโลเมตร ระบุทดลองวิ่งมากกว่า 40,000 กิโลเมตรไร้ปัญหา ทั้งทำให้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้น สุดทึ่งต้นทุนติดตั้งอุปกรณ์แค่ 40,000 บาท เตรียมจดสิทธิบัตรเป็นผลงานของคนไทย ยันตอบแทนบุญคุณประเทศชาติ หวังให้คนไทยใช้พลังงานประหยัด
      
       ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พันจ่าอากาศเอกสมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตทหารอากาศ ฝ่ายช่างบำรุงเครื่องบิน ปัจจุบันทำงานอยู่องค์การนาซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา นำรถยนต์ฮอนด้าซีวิค สีบรอนซ์ เครื่องยนต์ 1800 ซีซี ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนแทนน้ำมัน ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นสาเหตุหลักของเกิดภาวะโลกร้อน
      
       พ ันจ่าอากาศเอกสมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา เปิดเผยว่า ตนและผศ. วิเชียร จันทะโชติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล คณะเทคโนโลยี ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาการคิดค้นนำน้ำมาผลิตทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงใช้เวลาคิดค้น เรื่องนี้เป็นระยะเวลา 4 ปี โดยรถยนต์คันนี้ใช้เชื้อเพลิงอยู่ 3 ประเภท คือ น้ำมันเบนซิน , ก๊าซLPG และก๊าซไฮโดรเจน โดยติดตั้งอุปกรณ์ผลิตพลังงานทดแทนไว้ในฝากระโปร่งรถด้านท้าย ประกอบด้วย เครื่องรีแอ็กเตอร์เป็นตัวถังเก็บน้ำเปล่า กลไกการทำงานเครื่องนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวแยก ก๊าซไฮโดรเจนออกมาจากน้ำ โดยก๊าซที่ได้จะนำไปผสมกับก๊าซ LPG ในอัตราส่วน ก๊าซไฮโดรเจน 60 ต่อ ก๊าซ LPG 40 จากนั้นจะส่งไปยังห้องเครื่องยนต์
      
       ส่วนภายในเครื่องยนต์ได้ติดตั้งสมองกลเป็นตัวควบคุมและประเมินผลการท ำงานสั่งจ่ายพลังงาน พร้อมมีชิปคอยเก็บข้อมูลหาค่าบกพร่องของระบบในการทำงาน ปัจจุบันรถคันนี้ซึ่งเป็นต้นแบบนำไปทดลองใช้วิ่งมาแล้ว 40,000 กิโลเมตร
      
       พันจ่าอากาศเอกสมิตร กล่าวต่อว่า ส ำหรับอัตราความสิ้นเปลื้องพลังงาน เมื่อเติมน้ำ 1 ลิตร รถยนต์คันนี้จะสามารถวิ่งได้ถึง 3,000 กิโลเมตร โดยจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ ราคาต้นทุนอยู่ที่ 40,000 บาท ส่วนกำลังของเครื่องยนต์นั้นปกติ 1,000 รอบต่อนาที ถ้าติดตั้งพลังงานทดแทนดังกล่าว อัตราเร่งรอบเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 1,200 รอบต่อนาที และขณะนี้ยังไม่มีปัญหาของเครื่องยนต์บกพร่องเกิดขึ้นแต่อย่างใด
       

       เดิมตนเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นลูกศิษย์ ผศ. วิเชียร จันทะโชติ จากนั้นตนได้ไปรับใช้ชาติเป็นทหารที่ต่างจังหวัด อยู่ฝ่ายช่างซ่อมเครื่องบิน ทำให้ตนหยุดเรียน และได้ลาออกจากราชการ กระทั่งมีโอกาสเข้าไปทำงานอยู่ที่องค์การนาซ่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ทำการศึกษาเรื่องของน้ำเพื่อแยกไฮโดรเจนออกจากออกซิเจน นับว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การผลิตพลังงานทดแทนดังกล่าว
      
       การทำงานคิดค้นพลังงานน้ำใช้ในรถยนต์ครั้งนี้ ได้ปรึกษากับผศ.วิเชียร จันทะโชติ ตลอดเวลา เพื่อยืมเครื่องมือและตำรา มาทดลองในการคิดค้นจนเกิดผลสำเร็จขึ้น
      
       พันจ่าอากาศเอกสมิตร กล่าวต่อไปว่า พ ลังงานทดแทนน้ำที่ใช้เครื่องยนต์รถยนต์ครั้งนี้ จะนำไปจดสิทธิบัตร เป็นผลงานของประเทศไทย เพราะอยากให้เทคโนโลยีนี้เป็นสมบัติของชาติ และของคนไทยสามารถนำไปใช้ ตนถือว่าการทำเช่นนี้เป็นการตอบแทนพระคุณแผ่นดินอีกทางหนึ่งด้วย และตนอยากให้คนไทยได้ใช้พลังงานทดแทนที่ตนเองคิดค้นขึ้นมา ไม่ต้องไปซื้อพลังงานเชื้อเพลิงจากต่างชาติมาใช้ โดยตนจะร่วมกับผศ. วิเชียร จันทะโชติ ในการผลิตตำราการเรียนการสอนในเรื่องนี้ เพื่อให้นำไปทำการสอนให้แก่นักศึกษา ผลิตบุคลากรพัฒนาประเทศชาติต่อไป

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2551 15:54 น. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น