++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผลของการใช้ใบมันสำปะหลังในระดับที่แตกต่างกันในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต


ผลของการใช้ใบมันสำปะหลังในระดับที่แตกต่างกันในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต
และระดับกลูตาไธโอนในไก่กระทง
Effects of Cassava Leaves on Production Performance
and Blood Total Glutathione of Broilers
จีราภา เตียวสมบูรณ์กิจ (Jeerapa Tiewsomboonkit)
อุทัย คันโธ (Uthai Kanto)
ดร. ชนินทร์ ติรวัฒนวานิช (Dr. Chanin Tirawattanawanich)∗∗∗
สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ (Sukanya Juttupornpong) ∗∗
บทคัดย่อ
ผลของการใช้ใบมันสำปะหลังในระดับที่แตกต่างกันในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและระดับ กลูตาไธโอนในไก่กระทง โดยในการทดลองใช้ไก่กระทงคละเพศอายุ 1 วัน จำนวน 1,440 ตัว แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง แต่ละกลุ่มประกอบไปด้วย 12 ซ้ำๆ ละ 15 ตัว โดยใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) อาหารที่ใช้ทดลองเป็นสูตรอาหารไก่กระทงที่มีกากถั่วเหลืองและใบมันสำปะหลังแห้งเป็นแหล่งโปรตีน อาหารทดลองมี 4 สูตร ตามปริมาณใบมันสำปะหลังคือ 0, 3, 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร ผลจากการศึกษา พบว่าไก่ที่กินอาหารที่มีใบมันสำปะหลังในระดับที่แตกต่างกันในช่วงอายุ 0-3, 3-6 และ 0-6 สัปดาห์ มีปริมาณอาหารที่กินต่อตัวต่อวัน น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นต่อตัว ลดลงตามระดับใบมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)>ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)>ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในทุกช่วงอายุ จากการศึกษาปริมาณกลูตาไธโอนในกระแสเลือด พบว่าไก่ที่กินอาหารที่มีระดับใบมันสำปะหลังในสูตรอาหาร 0 และ 3 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณกลูตาไธโอนในเลือดต่ำกว่าไก่ที่กินอาหารสูตรที่มีระดับใบมันสำปะหลัง 5 และ 7 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)>ทั้งที่อายุ 21, 28 และ 35 วัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้ใบมันสำปะหลังในสูตรอาหารไก่กระทงมีผลทำให้การต้านอนุมูลอิสระของไก่กระทงเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ : ใบมันสำปะหลัง สมรรถภาพการผลิต กลูตาไธโอน
Key words : cassava leaves, performance, glutathione



ABSTRACT
Effects of cassava leave meal supplementation at 0, 3, 5 and 7 % in broiler diet on performance and blood total glutathione level of broilers were investigated. A total of 1,440 day-old chicks were divided into 4 groups of 12 replications each. There were 15 animals in each replication. Each group of the animals was randomly fed one of those experimental diets for 42 days. Results of the study have shown that increasing level of cassava leave meal in the broiler diet significantly (P<0.05)>
นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
∗∗ ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
∗∗∗ ภาควิชาสรีระวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น