++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การตรวจวัดและคาดการณ์อุทกภัยในลุ่มน้ำชีด้วยข้อมูลดาวเทียมเรดาร์แซทหลายช่วงเวลา และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


การตรวจวัดและคาดการณ์อุทกภัยในลุ่มน้ำชีด้วยข้อมูลดาวเทียมเรดาร์แซทหลายช่วงเวลา
และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Flood Detection and Estimation in Chi Basin using Multi-temporal RADARSAT and GIS
ทัศพร ธนจาตุรนต์ (Tussaporn Thanajaturon)*
ดร. ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ (Assoc. Prof. Dr. Charat Mongkolsawat)**
รัศมี สุวรรณวีระกำธร (Rasamee Suwanwerakamtorn)***
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้เลือกใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเรดาร์แซทศึกษาขอบเขตน้ำท่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดและคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำชี วิธีการศึกษาประกอบด้วยการจัดเตรียมฐานข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียมเรดาร์แซท ปี พ.ศ. 2544 2545 และ 2546 นำข้อมูลดังกล่าวมาผ่านกระบวนการปรับแก้ความถูกต้องของพิกัดพร้อมเชื่อมต่อภาพให้ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา จากนั้นตีความพื้นที่น้ำท่วมเพื่อใช้วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยโดยการซ้อนทับชั้นข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมทั้ง 3 ปี วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยที่ได้ร่วมกับชั้นข้อมูลภูมิสัณฐาน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่น้ำท่วมในลุ่มน้ำชี ปี พ.ศ. 2544 2545 และ 2546 คิดเป็นร้อยละ 4.47 5.71 และ 2.38 ตามลำดับ ขณะที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ เสี่ยงสูงมาก สูง ปานกลาง และต่ำ คิดเป็นร้อยละ 1.52 1.68 4.70 และ 92.10 ตามลำดับ การเกิดอุทกภัยส่วนใหญ่พบใน ที่ราบน้ำท่วมถึง ที่ราบขั้นบันไดระดับต่ำ และกลาง การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไดัรับผลกระทบมากที่สุดคือ พื้นที่เกษตรกรรมประเภทนาข้าว
ABSTRACT
The objective of this study is to detect and estimate the flood risk areas. The study area is Chi watershed, Northeast Thailand. The study is based on multi- temporal RADARSAT data acquired in 2001, 2002 and 2003. The methodology procedure includes geometric correction of images, mosaicking and visual interpretation. The identified flood areas of the 3 years were encoded in the GIS databases. To establish the flood risk areas, the overlay analysis based on historical flood extent of 2001, 2002 and 2003. The flood risk areas falls within the land use types and land form was also created to identify their relationships. The results provided the series of flood extent in 2001, 2002 and 2003 which accounted for 4.47, 5.71 and 2.38 % of the total area, respectively. The flood risk areas in the Chi watershed cover areas of about 1.52, 1.68, 4.70 and 92.10 % for the very high, high, moderate, and low risk areas, respectively. The recurring flood areas mostly found in paddy field.
คำสำคัญ : พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเรดาร์แซทหลายช่วงเวลา
Key words : Flood risk area, Multi-temporal RADARSAT
*มหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
***อาจารย์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น