++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

รู้หรือไม่ "ใบหญ้าหวาน" รักษาโรคได้? หาคำตอบได้ที่ ม.มหิดล

ทีม วิจัยภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล
คิดค้นสารสกัดจากใบหญ้าหวาน "สตีไวโอไซด์"มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส
300 เท่า มีคุณสมบัติพิเศษ
เหมาะสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


อ.ดร.นพ. ฉัตรชัย เหมือนประสาท ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อหิวาตกโรคเป็นโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ
Vibrio cholera ในลำไส้ เชื้อดังกล่าวสามารถสร้างสารพิษ cholera toxin
กระตุ้นการหลั่งของคลอไรด์อิออน
จากเซลล์ลำไส้เข้าสู่โพรงลำไส้เป็นจำนวนมาก

"คลอไรด์อิออน"
ดังกล่าวสามารถดึงดูดเกลือโซเดียมและน้ำเข้าสู่โพรงลำไส้
จึงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียน้ำทางลำไส้และนำไปสู่การขาดน้ำอย่างรุนแรงซึ่งมี
อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โรคนี้ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
แต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคนี้หลายแสนคน
โดยส่วนใหญ่เกิดกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
การรักษาในปัจจุบันคือการให้ผู้ป่วยกินสารละลายเกลือแร่(ORS)
เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
ซึ่งการรักษาโดยวิธีดังกล่าวไม่ได้ช่วยลดอาการท้องร่วงโดยเฉพาะในผู้ป่วย
เด็กหรือผู้สูงอายุ

ใบหญ้าหวาน

จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ทีมวิจัยของ รศ.ดร. วรนุช ฉัตรสุทธิพงษ์
และ อ.ดร.นพ. ฉัตรชัย เหมือนประสาท ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล นำไปสู่การศึกษาสารสกัดจากใบหญ้าหวาน (Stevia
rebaudiana Bertoni) ชื่อ "สตีไวโอไซด์" (stevioside) ซึ่ง
มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 300 เท่า เมื่อเข้าสู่ลำไส้แล้ว
จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่จะย่อยสตีไวโอไซด์เป็นสตีไวออล
(steviol)และน้ำตาลกลูโคส สตีไวออลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
ส่วนน้ำตาลกลูโคสจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย
ดังนั้นสตีไวโอไซด์จึงเป็นสารให้ความหวานที่ให้แคลอรี่ต่ำมาก
ในปัจจุบันได้มีการนำสารนี้ผสมในเครื่องดื่มและอาหารบางประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น
เกาหลี จีนและบราซิล
ทีมวิจัย กล่าวเพิ่มว่า
นอกจากประโยชน์ในการใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลซูโครสสำหรับคนที่ต้อง
การลดความอ้วนหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว
ยังมีรายงานว่ามีการใช้สารสกัดจากใบหญ้าหวานในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
และโรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศต่างๆ แถบทวีปอเมริกาใต้อีกด้วย

"เรา ค้นพบว่า
สตีไวออลสามารถยับยั้งการหลั่งของคลอไรด์อิออนในเนื้อเยื่อลำไส้ของมนุษย์
ได้ และด้วยความร่วมมือกับนักเคมีทำให้ค้นพบสารอนุพันธุ์ของสตีไวออลอีกหลายตัว
ที่มีฤทธิ์ดีกว่าสตีไวออล
จากการศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารในกลุ่มนี้พบว่าสารกลุ่มนี้ยับยั้ง
การหลั่งของคลอไรด์อิออนในเซลล์ลำไส้มนุษย์โดยการยับยั้งการทำงานของโปรตีน
ขนส่งคลอไรด์อิออนชื่อว่า Cystic fibrosis transmembrane conductance
regulator (CFTR)
และสารดังกล่าวไม่มีพิษต่อเซลล์ลำไส้แต่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อโปรตีนขนส่ง
คลอไรด์อิออน CFTR เท่านั้น เมื่อฉีดสารพิษ cholera toxin
เข้าลำไส้ของหนูถีบจักร
พร้อมกับสารอนุพันธุ์สตีไวออลพบว่าสามารถลดการสูญเสียน้ำทางลำไส้ได้มากกว่า
ร้อยละ 90"

อ.ดร.นพ.ฉัตรชัย ตัวแทนทีมวิจัย กล่าวทิ้งท้ายว่า "การ
ค้นพบดังกล่าวสามารถนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาสารอนุพันธุ์ของสตีไวออลเพื่อ
เป็นยารักษาอหิวาตกโรคและโรคท้องร่วงอื่นๆ
ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ใหม่คือการลดการสูญเสียน้ำจากลำไส้และคาดว่าเมื่อใช้
ร่วมกับการรักษาแบบเดิมคือการให้ผู้ป่วยดื่มสารละลาย ORS
จะเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
ขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยกำลังพัฒนาสารในกลุ่มดังกล่าวเพื่อใช้ในการรักษาโรคท้อง
ร่วงและโรคอื่นๆ ที่สามารถใช้อนุพันธ์สตีไวออลได้ผล"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น