++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

\'หมูด่าง\'สายพันธุ์ใหม่ใช้สมุนไพรเลี้ยงดี..ไม่มีโรค

วงการ ผู้เลี้ยงสุกร (หมู) หรือ Pig, Hog, Swine
ในขณะนี้กำลังนั่งจับเข่าพูดคุยกัน คงหนีไม่พ้นเรื่อง "สารปนเปื้อน"
โดยเฉพาะ "สารเร่งเนื้อแดง" จำพวกกลุ่มเบตาอะโกนิสต์
หากตรวจพบผู้ประกอบการใช้สารตัวนี้ ต้องถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมาย กำหนด
มีอัตราโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ!!!
ท่านรัฐมนตรี เนวิน ชิดชอบ และหลายฝ่ายพยายามหาทางแก้ไขปัญหา
โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร มีผลกระทบมากที่สุดในเวลานี้ ได้ฟัง
คุณสุภาพ ธีรานุวัฒน์ เจ้าของสามพรานฟาร์มเลี้ยงสุกร
ที่สามารถวางแนวหาทางออกของเรื่องนี้ไว้แล้ว ได้เผยว่า
การเลือกสายพันธุ์สุกรเป็นสิ่งที่สำคัญ
ฉะนั้นโครงการเพาะเลี้ยงสุกรปลอดสารจึงจำเป็นอย่างยิ่ง จากเมื่อ 10
ปีก่อนได้นำสุกร สายพันธุ์ลาร์จไวท์ (Large-White) สายพันธุ์จากอังกฤษ
เป็นประเภทพันธุ์ เบคอน ตัวผู้น้ำหนัก 300-500 กิโลกรัม ตัวเมีย 250-350
กิโลกรัม หัวโตขนาดปานกลาง จมูกยาว หูตั้ง ลำตัวยาวแคบลึก ไหล่หนา โตเร็ว
แข็งแรง ตัวเมียให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง มาผสมกับสุกร สายพันธุ์เพียร์เทรน
ที่มีลักษณะตัวใหญ่หุ่นสูง ให้เนื้อแดงมาก
เปอร์เซ็นต์การช็อกไม่มีประสิทธิภาพทางร่างกาย
ทนต่อโรคระบาดในสัตว์ได้สูง โครงการนี้ดำเนินการมา 10 ปีแล้ว
ได้พัฒนาและประเมินหาคุณค่า ของการผสมพันธุ์สุกร
จนได้สายพันธุ์ที่เหมาะสม และมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมาะแก่
การผลิตสุกรปลอดสารคือ "สุกรด่าง" หรือ หมูลายจุด ใช้ชื่อสายพันธุ์ว่า
สามพรานฟาร์ม ณ วันนี้ นำมาทดลองเลี้ยงด้วยระบบสมุนไพร ไม่มีการ
ใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเร่งเนื้อแดง ปรากฏว่ามี...ข้อดีคือ
อัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
สิ่งสำคัญต้องดูแลเรื่องความสะอาด และสุขอนามัยให้ละเอียดถี่ถ้วนเท่านี้
ก็จะได้ลักษณะของ พ่อพันธุ์... คุณภาพซากดี, สัมพันธ์ไขมันสันหลังบาง,
ไม่เกิดอาการช็อกง่าย และมีความคึกคะนองสูง
แม่พันธุ์....จำนวนลูกต่อครอกมาก, เลี้ยงลูกเก่ง, ต้านทานโรคดี
และมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม ที่สำคัญ...ไม่ต้องใช้สารปรับซาก
ให้เกิดสารตกค้างหรือปนเปื้อนแต่อย่างใด

ถึงตอนนี้...หมูด่างกำลังเป็นสัญลักษณ์ ของหมูปลอดสารแห่งจังหวัดราชบุรี
ที่เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้ความสนใจกันมาก เพราะนอกจากลดต้นทุนการผลิต
ยังสร้างให้ชีวิตผู้บริโภคยืนยาวอีกด้วยครับ.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น