++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

วัฒนธรรมการเมืองแบบอนา-ประชาธิปไตย

โดย ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน 23 กันยายน 2552 15:45 น.
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีหลักการใหญ่ๆ คือ
สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการกระทำการต่างๆ
ในกรอบของกฎหมาย
ขณะเดียวกันก็มีความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายและความเสมอภาคทางการเมือง
หนึ่งคนหนึ่งเสียง รวมทั้งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ทั้งหมดนี้เป็นรากฐานสำคัญของระบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นต้องมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
หลักนิติธรรม ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและมีส่วนร่วมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลักการสำคัญที่สุด
ถ้าขาดหลักการดังกล่าวระบบการเมืองนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย
การมีส่วนร่วมของประชาชนนี้ยังมีการกล่าวถึงในหลักธรรมาภิบาล
อันได้แก่การปกครองบริหารโดยทั่วไป

การมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หรือการมีส่วนร่วมในการทำประชาพิจารณ์และประชามติ
รวมทั้งการต่อสู้คัดค้านกับนโยบายที่ไม่เห็นด้วย
เป็นส่วนสำคัญของระบบการเมืองแบบเปิดที่เรียกว่าประชาธิปไตย
แต่การมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญ 2 ตัว
ตัวแรกได้แก่ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในส่วนของประชาชน
และโครงสร้างและกระบวนการที่สามารถตอบสนองต่อการมีส่วนร่วมดังกล่าวได้

ในแง่ของทฤษฎีได้มีการกล่าวว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะได้ผลนั้นขึ้นอยู่กับ
3 ตัวแปร ได้แก่

ตัวแปรแรก ได้แก่ สภาพสังคมเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย เช่น
มีระบบสังคมที่เป็นอุตสาหกรรมหรือกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม
มีชนชั้นกลางมากในระดับหนึ่ง คนมีการศึกษาในระดับหนึ่ง มีชุมชนเมืองมากพอ
มีสื่อมวลชนที่รับผิดชอบ ฯลฯ

ตัวแปรที่สอง ได้แก่
โครงสร้างและกระบวนการซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญและในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างสถาบันและกระบวนการในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

ตัวแปรที่สาม ได้แก่
วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนและผู้นำ
โดยเฉพาะผู้นำต้องมีศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยและมีจิตวิญญาณของความเป็น
ประชาธิปไตย

แต่ปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาก็คือ
วัฒนธรรมทางสังคมซึ่งเกิดจากการกล่อมเกลาเรียนรู้ในครอบครัว
รวมทั้งค่านิยมที่สืบทอดกันมาเป็นร้อยๆ ปี
มักจะมีลักษณะขัดแย้งกับวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของวัฒนธรรมการเมืองที่มาจากเผด็จการ
เมื่อมีการสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็จะเกิดความขัดแย้งกันขึ้น
ผลก็คือทำให้เกิดการล้มลุกคลุกคลานเนื่องจากวัฒนธรรมสังคมและวัฒนธรรมการ
เมืองไม่เอื้ออำนวยต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ในสภาพเช่นนี้จึงเกิดการ "ตกหลังของวัฒนธรรมการเมือง" (political culture
lag) กล่าวคือ วัฒนธรรมการเมืองตามไม่ทันความพยายามที่จะสถาปนาระบบการเมืองแบบที่พึง
ประสงค์ จนนักวิชาการชาวละตินอเมริกาคนหนึ่งได้กล่าวไว้เมื่อหลายสิบปีว่า
"ประชาธิปไตยเหมือนต้นไม้ที่มาจากเขตเมืองหนาว
เมื่อนำมาปลูกในดินและอากาศของประเทศในละตินอเมริกาจึงเติบโตได้ไม่เต็มที่"

อย่างไรก็ตาม
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมโลกตามคลื่นอารยธรรมของอัลวิน ทอฟเฟอร์
ซึ่งมีสามคลื่นอารยธรรมนั้น
ย่อมส่งผลต่อประเทศกำลังพัฒนาซึ่งขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงภายในด้วย
โดยเกิดจากจำนวนหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้นของประชากร
รวมทั้งการพยายามพัฒนาเศรษฐกิจจากเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม
และจากการรับเอาเทคโนโลยีข่าวสารเข้ามาในสังคม
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม
รวมทั้งการตื่นตัวทางการเมืองในระดับหนึ่ง

แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ
จากการเปลี่ยนแปลงในทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสิทธิเสรีภาพ
ในบางสังคมเกิดขึ้นเร็วมากจนโครงสร้างและสถาบันทางการเมืองไม่สามารถจัดตั้ง
สถาบันขึ้นมารองรับการมีส่วนร่วมดังกล่าวได้
ซึ่งนำไปสู่ความไม่สอดคล้องของความตื่นตัว (political consciousness)
และการเรียกร้องทางการเมือง โดยสภาวะดังกล่าวนั้น แซมมูแอล ฮันติงตัน
บอกว่าเป็นความจำเริญทางการเมือง (political modernization)

เมื่อความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีการรองรับการมีส่วนร่วมทาง
การเมืองด้วยการพัฒนาสถาบันทางการเมืองขึ้นมา
การจัดตั้งสถาบันขึ้นมารองรับการมีส่วนร่วมเป็นการพัฒนาการเมือง
(political development)
แต่การเสียดุลระหว่างสองส่วนคือความจำเริญทางการเมืองสูง
ในขณะที่การพัฒนาทางการเมืองต่ำจะนำไปสู่ความวุ่นวายหรือความผุกร่อนทางการ
เมือง (political decay)
อันเป็นที่ทราบกันในหมู่นักวิชาการที่ทราบในเรื่องนี้

การจัดตั้งสถาบันเพื่อรองรับการมีส่วนร่วมทางการเมืองอันเกิดจากการเปลี่ยน
แปลงทางสังคมนั้น
ขึ้นอยู่กับผู้นำทางการเมืองหรือคนที่อยู่ส่วนบนของสังคมว่ามีความเข้าใจถึง
การเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด
คนที่อยู่ส่วนบนของสังคมเป็นคนที่มีสถานะทางสังคม อำนาจ
และสถานะทางเศรษฐกิจเหนือกว่าชนชั้นล่าง
ส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในสังคมภาย
ในและสังคมระดับโลก โดยลืมคำกล่าวของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่ว่า
"เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอดได้ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุด
หรือเก่งที่สุด หากแต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้"
นี่คือปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างล่าช้าของระบบการเมืองแบบเปิด

ขณะเดียวกันในส่วนของชนชั้นล่างที่เป็นประชาชนทั่วไป
ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ถูกทำให้อ่อนแอจากความจนและความเขลาเนื่องจากขาดข้อมูล
ที่พอเพียงต่อความเข้าใจสภาพสังคม
การมีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของระบบการเมืองแบบเปิดจึงอาจ
จะถูกชักจูงโดยผู้นำทางความคิด
รวมทั้งการขาดขอบเขตของการจำกัดการกระทำให้อยู่ในกรอบที่มีเหตุมีผลและสร้าง
สรรค์

สภาพดังกล่าวนี้นำไปสู่สภาวะของการเมืองที่มีลักษณะกึ่งการมีส่วนร่วมและ
กึ่งอนาธิปไตย วัฒนธรรมการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างครึ่งๆ กลางๆ
ในลักษณะที่มีการมีส่วนร่วมแต่ไม่อยู่ในกรอบของกติกาที่ตกลงกันโดยสังคมโดย
ส่วนรวม ทำให้สภาพของการมีส่วนร่วมและการพัฒนาระบบการเมืองแบบเปิดในหลายประเทศ
กลายเป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบอนา-ประชาธิปไตย

วัฒนธรรม
การเมืองแบบอนา-ประชาธิปไตยอาจไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบอบการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายและความผุกร่อนทางการเมือง
(political decay) ตามข้อถกเถียงของแซมมูเอล ฮันติงตัน
ปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000111536

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น