++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

4 มหา'ลัยแดนอีสาน ผนึกกำลัง ก.วิทย์ฯ ยกระดับทฤษฏีการศึกษา-เพิ่มคุณภาพSMEs

ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ตัวแทนมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอีสาน กล่าวว่า ในส่วนของ 4
มหาวิทยาลัยเครือข่าย iTAP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งได้ผนึกกำลังร่วมใจจัดงาน "iTAP อีสาน Big Impact" เพื่อช่วย SMEs
ภาคอีสานให้สามารถปรับตัวสู้วิกฤติเศรษฐกิจให้ได้นั้นประกอบไปด้วย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โดยทั้งหมดมีความเห็นพ้องในแนวทางของการเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ซึ่ง
พร้อมที่จะถ่ายทอดและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆ
เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่มีความเข้มแข็ง
ซึ่งเท่ากับเป็นการถ่ายทอดความรู้และการร่วมกันแสวงหาแนวทางการยกระดับภาค
การศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทการผลิตบุคลากรเพื่อสนับสนุน
พัฒนาและยกระดับชุมชนผ่านองค์ความรู้ด้านต่างๆ นั่นเอง

"การ ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่
ซึ่งสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีนั้นเห็นพ้องกับแนวทางที่กระทรวง
วิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการ
พร้อมทั้งยินดีอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยเครือข่าย iTAP
ในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งย่อมสามารถประเมินสถานการณ์
สภาพปัญหาของผู้ประกอบการในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด

ยัง เป็นการเปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ได้ใช้องค์ความรู้ที่มีการศึกษา
อย่างเป็นระบบ ถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติจริง ซึ่งก็คือภาคธุรกิจ
การเอื้อประโยชน์แก่กันและกันนี้ เท่ากับว่าภาคการศึกษาได้วัดผลทฤษฎี
ภาคธุรกิจได้รับแรงส่งที่ผ่านกระบวนการคิดและทดลองจนเห็นผลแล้ว
ซึ่งจะทำให้โครงสร้างภาคอุตสาหกรรมของเราแข็งแกร่งขึ้น
ทั้งสถาบันการศึกษาและผู้ประกอบการจะก้าวไปพร้อมๆ
กันเพื่อแผ่ขยายและต่อยอดองค์ความรู้สืบไปไม่รู้จบ
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าระบบการศึกษาจะได้ขับเคลื่อนภาคสังคมอย่างแท้จริง"


ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช
ด้าน ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ย้ำหลังเปิดตัวโครงการดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2552
พบว่าได้รับแรงตอบรับล้นหลาม และเชื่อว่าการเดินเข้าหากลุ่ม SMEs
ในแต่ละภูมิภาค เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคทางวิศวกรรมที่ง่ายต่อการนำ
ไปใช้ให้แก่ผู้ผลิตโดยตรง จะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่
ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม
อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ได้ผลอย่างชัดเจน
เป็นรูปธรรมในวงกว้าง สามารถสนองตอบความต้องการของ SMEs ได้โดยตรง

"3 ภาคการผลิตหลักที่สำคัญระดับมหภาคของประเทศ
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยจำนวนมาก นั่นก็คือ การผลิตข้าว
การเลี้ยงไก่ และการอบยางพารา ซึ่ง iTAP มีผู้เชี่ยวชาญกว่า 350 คน
ที่สามารถดึงเอาความเชี่ยวชาญเหล่านั้นมาช่วยยกระดับเทคโนโลยีของ SMEs
ทั่วประเทศ สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีกับโรงสีข้าวกว่า 43,000 แห่ง
ฟาร์มไก่ 64,000 แห่ง และเตาอบยางแผ่นรมควันอีก 660 แห่งทั่วประเทศ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีโรงสีข้าวประเภทอุตสาหกรรม 28,923 บริษัท
เฉพาะที่จังหวัดนครราชสีมามี 4,626 บริษัท นับว่าเป็นจำนวนไม่น้อยเลย

ดังนั้นการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโรงสีข้าวเพื่อให้
"ก้าวสู่อุตสาหกรรมโรงสีข้าวยุคใหม่ ด้วยกลไกของเทคโนโลยี"
จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นว่าจะสามารถ
เสริมศักยภาพให้แก่ SMEs ในพื้นที่
ส่วนนี้ถ้าสำเร็จเท่ากับว่าผู้ประกอบการจะมีกำไรจากส่วนที่เคยสูญเสียไปใน
กระบวนการผลิตแบบเดิม จนสามารถคุมต้นทุน ตุนกำไรเพิ่ม
เสริมศักยภาพการแข่งขันได้อีก
นอกจากนั้นยังเท่ากับว่าเราได้ร่วมกันเสริมความแข็งแกร่ง
และติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ภาคธุรกิจโครงสร้างโดยตรง
ซึ่งนอกจากประโยชน์ทางการค้าแล้ว
ยังสามารถลดการใช้พลังงานซึ่งเป็นต้นทุนที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบด้วย
และได้ผลักดันให้โครงการ iTAP
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดที่ 2
ที่เชื่อมโยงกับนโยบายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของภาครัฐที่ได้เริ่มดำเนินการ
แล้ว" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าว

ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์

ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช.
และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวว่า ในปี 2552 นี้
จะมุ่งเน้นการยกระดับเทคโนโลยีในภาคการผลิตหลักที่สำคัญของประเทศ
ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างแก่ประเทศได้อย่างมาก
ส่งตรงถึงมือผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกรต่างๆ อันได้แก่
การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการสีข้าว การอบยางพารา
และสภาวะแวดล้อมในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ฯลฯ
ด้วยการเพิ่มคุณภาพผลผลิตหลายเท่าตัว ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้า
พร้อมลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่ iTAP หรือ
โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย
หนึ่งในโครงการภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กำลังเร่งดำเนินการภายในปี 2552 นี้ก็คือ
ตั้งเป้าช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่ SMEs ได้กว่า 300 ราย
ให้มีผลสำเร็จจากการดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่ง iTAP ได้ช่วยเหลือ SMEs
ไปแล้วกว่า 2,000 ราย

"iTAP เน้นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม
นั้นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ที่ชัดเจนจากการลดต้นทุน
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยนำเสนอแนวทางการปรับปรุง
พัฒนาเทคนิคการผลิตที่ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
และต่อยอดความรู้ออกไปไม่สิ้นสุด
ตลอดจนกระตุ้นส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมได้ปรับตัวพร้อมรับกับสภาพการแข่งขัน
ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งภาคการผลิตข้าวของไทยก็เช่นกันจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องได้รับ
Know-how ใหม่ๆ อยู่เสมอ
เพื่อที่จะรักษาตลาดและคุณภาพสินค้าของเราไว้ให้ได้
ซึ่งเชื่อว่าด้วยเครือข่าย iTAP ที่มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนทั้ง 10 แห่ง
และมีความพร้อมทั้งเทคโนโลยีและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่จะให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการในพื้นที่ด้วยความเต็มใจ ดังนั้นโอกาสที่เปิดกว้างอย่างนี้
จึงอยากให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงผู้ประกอบการอย่างทั่ว
ถึงและรวดเร็ว เพื่อประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรมของเราโดยตรง" ศ.ดร.ชัชนาถ
เทพธรานนท์ กล่าว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

1 ความคิดเห็น:

  1. นับเป็นดำริที่ดีของมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่ร่วมกันทำ แต่สิ่งสำคัญ ในการพัฒนา SMEs คือการลดต้นทุนการผลิต ให้มีประสิทธิภาพ และได้ผลิตผลที่ไร้สาร การจะทำให้ได้ผลจึงต้องมีปัจจัยตัวช่วยที่ทรงประสิทธิภาพ และจะต้องเป็นของดีราคาถูก อาจหายากซักหน่อยในโลกเสรี แต่พอมี ลองแวะหาความรู้กับเราที่ http://www.ainews1.com

    ก็เรียนเชิญท่านอาจารย์ทุกท่านที่มีเป้าหมายการช่วยเหลือสังคมญาติพี่น้องเกษตรกร และชาว SMEs ลองเข้าไปดูในรายละเอียด

    ตอบลบ