++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

เคาะข่าวริมโขง : แฉ "มติชน" ทำตัวเป็นสื่อเสี้ยม นำวิจัย นศ.ปรอ.เผยแพร่ ป้ายสี ASTV ทำสังคมแตกแยก

รายการ "เคาะข่าวริมโขง" ออกอากาศทาง "อีสานทีวี" ช่วงเวลา 18.30-20.30
น.วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน มี น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก นายชัชวาลย์
ชาติสุทธิชัย และนายประพันธ์ คูณมี เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยวันนี้มีหลากหลายประเด็นมานำเสนอเพื่อเติมความรู้ให้แก่พี่น้องชาวอีสาน
อีกเช่นเคย อาทิ กรณี ภาวะความเป็นผู้นำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ กรณี จับพิรุธคดีกล้ายาง
ที่พบว่ามีอัยการและคนใน
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) บางคน
มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หาช่องทางช่วยจำเลยให้พ้นจากความผิด
และกรณีเว็บไซต์มติชนออนไลน์ นำเสนอผลงานวิจัยของ นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท
นักศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ.) รุ่น 21 ในข้อหัว ชำแหละ
อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอล ASTV ต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวของคนกรุงเทพ

โดย น.ส.อัญชะลี เปิดประเด็นด้วยกรณีภาวะความเป็นผู้นำของ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่มีปัญหาต่อการแก้ไขต่างๆ ซึ่ง
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์
ได้ให้สัมภาษณ์สดผ่านทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งมี นายสรยุทธ
สุทัศนะจินดา และน.ส.กฤติกา ศักดิ์มณี เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้
พิธีกรได้จี้คำถามไปที่นายกรัฐมนตรี ว่า
กลุ่มคนเสื้อแดงจะร่วมรักษาอธิปไตย จะออกไปปกป้องพื้นที่ 4.6
ตร.กม.หลังจากที่รัฐบาลเพิกเฉย ไม่ยอมอะไรเลย
โดยกลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในเดือนตุลาคมนี้
และประกาศว่างานนี้จะเป็นการชุมนุมจนถึงขั้นแตกหัก
ซึ่งนายอภิสิทธิ์กล่าวตอบว่า เรื่องการแก้ไขปัญหารุกล้ำพื้นที่ 4.6
ตร.กม.จะเน้นวิธีการเจรจาเป็นหลัก โดยไม่ใช้วิธีรุนแรง พิธีกรถามอีกว่า
ขณะนี้รัฐบาลอยู่ภายใต้ภาวะความกดดันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและ
กลุ่มคนเสื้อแดงใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอบว่า
อย่ามัวแต่นำประเด็นนี้ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ คนไทยไม่ควรขัดแย้งกันเอง
โดยขอยืนยันว่ากรณีพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ที่ถูกกัมพูชารุกล้ำ
สามารถเจรจาตกลงกับอีกฝ่ายได้

นายประพันธ์กล่าวเสริมกรณีนี้ว่า จริงๆ
แล้วประเทศต้องการผู้นำที่มีความชัดเจน สิ่งที่ นายอภิสิทธิ์
ออกมาพูดไม่ได้ทำให้คนไทยรู้สึกภาคภูมิใจในอธิปไตยของตนเอง
รวมทั้งไม่ได้ภูมิใจที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ นายอภิสิทธิ์ โดยที่ผ่านมา
ตนไม่เคยเห็นว่านายกรัฐมนตรี จะแสดงท่าทีที่ชัดเจนเรื่องนี้
พูดแต่ว่าจะเน้นวิธีการเจรจา
แต่ก็ไม่สามารถระบุถึงแนวทางการเจรจาและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ไม่หนำซ้ำ
ยังปล่อยให้มีม็อบจัดตั้งไปรุมทำร้ายประชาชนที่รักชาติ
ซึ่งออกไปปกป้องแผ่นดินไทยอีก ทั้งนี้
โดยหลักการแล้วเรื่องนี้ไม่ต้องเจรจาก็ได้
เพราะไม่ได้มีข้อพิพาทเรื่องเขตแดน เห็นอยู่ชัดๆ
ว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ฝั่งเขตแดนไทย
ซึ่งการที่รัฐบาลไปยอมเจรจากับทางกัมพูชา
ก็เท่ากับยอมรับเงื่อนไขของอีกฝ่าย
นับว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่กระทำเช่นนี้
เอาดินแดนประเทศตัวเองไปตกลงผลประโยชน์กับประเทศอื่น

"รัฐบาลต้องแสดงจุดยืนที่เด็ดขาด อีกทั้งต้องยืนยันความบริสุทธิ์
ว่าไม่มีคนในรัฐบาลไปตกลงผลประโยชน์อะไรกับทางรัฐบาลกัมพูชา
เพราะการเพิกเฉย ทำให้สังคมคิดเช่นนั้น
เนื่องจากหากไม่มีเรื่องผลประโยชน์แอบแฝง
รัฐบาลก็น่าจะตัดสินใจอะไรได้เด็ดขาดมากกว่านี้" นายประพันธ์กล่าว

น.ส.อัญชะลี กล่าวว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายความมั่นคง ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า หลังจาก นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เดินทางกลับจากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่สหรัฐฯ
จะต้องจัดการเรื่องพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ให้เป็นเรื่องเป็นราว โดยนายสุเทพ
จะนำทัพหน้าเดินทางไปเจรจากับ สมเด็จฯฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
นายชัชวาลย์ กล่าวเสริมกรณีนี้ ว่า บุคคล 4 คนที่ตนจะพูดถึงต่อไปนี้
เชื่อว่ามีความฉลาดพอ และไม่ได้ตาบอด ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายกษิต ภิรมย์ และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.
โดยขณะนี้ มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่ามีการรุกล้ำพื้นที่ดังกล่าวมีการตัดถนน
มีการสร้างวัด จัดตั้งชุมชนถาวร
อีกทั้งบริเวณภูมะเขือมีทหารกัมพูชายึดจุดสูงสุด
ซึ่งถือเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่ทำไมรัฐบาลและกองทัพกลับนิ่งเฉย
ไม่ยอมหรือแก้ปัญหาใดๆทั้งสิ้น

น.ส.อัญชะลี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ของนายวีระ สมความคิด
แกนนำภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร ได้ข้อมูลว่า
หมู่บ้านชาวกัมพูชาที่รุกล้ำเขตแดนของไทย มีสิ่งที่ผิดปกติ
ไม่เหมือนหมู่บ้านชาวบ้านทั่วไป คือ ไม่มีเด็กและคนชรา
มีแต่ผู้หญิงและผู้ชายเท่านั้น
ซึ่งเท่าที่ทราบล้วนแล้วแต่เป็นทหารที่พร้อมแปรสภาพจากชาวบ้านเป็นนักรบได้
ทันที มีการปักธงชาติกัมพูชาและตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นภาษาท้องถิ่นอีกด้วย

นายชัชวาลย์กล่าวเสริมว่า
กรณีนี้ในเมื่อตำหนิรัฐบาลแล้วจะไม่ตำหนิกองทัพก็ไม่ได้
เพราะไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
ผบ.ทบ.จะมาอ้างว่าดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้
เนื่องจากไม่ได้รับคำสั่งจากทางรัฐบาล
ทั้งๆที่กระทรวงกลาโหมและกองทัพถือว่าเป็นแขนและขาที่สำคัญในการใช้อำนาจของ
นายกรัฐมนตรี แต่กลับทำผลประโยชน์ให้ส่วนรวมไม่ได้เลย ดังนั้น
ถ้าหากมีความรักชาติจริงต้องออกมาดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้โดยใช้วิธีการเด็ด
ขาด

ต่อมา น.ส.อัญชะลี กล่าวถึงกรณีกระแสข่าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี อาจจะไม่เอาทั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ และ พล.ต.อ.จุมพล
มั่นหมาย เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในการแต่งตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ โดยกรณีนี้
นายประพันธ์กล่าวว่า เรื่องนี้สะท้อนความเป็นผู้นำในตัว นายอภิสิทธิ์
ได้เป็นอย่างดี เพราะแค่การแต่งตั้ง ผบ.ตร. ยังจัดการไม่ได้
ก็ถือว่าเป็นจุดอ่อนสำคัญในการใช้อำนาจ เพราะแค่ภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูดี
ไม่สามารถประคับประคองประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้
ถ้าหากจัดการปัญหาไม่ได้ทุกอย่างก็จบ ซึ่งตนพูดได้เลยว่า หากนายกรัฐมนตรี
กลับจากต่างประเทศครั้งนี้ แล้วมีการเปลี่ยนตัวจาก พล.ต.อ.ปทีป
ตันประเสริฐ ไปเป็นคนอื่น ตนถือว่านายอภิสิทธิ์คุมเกมเรื่องนี้ไม่อยู่
จนทำให้ต้องเลือกผู้อื่นขึ้นมาแทน

นายชัชวาลย์กล่าวเสริมว่า คนที่นายอภิสิทธิ์อาจเลือกขึ้นมาเป็น
ผบ.ตร.คนใหม่ คือ พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รอง ผบ.ตร.
ซึ่งถือว่ามีความสนิทชิดเชื้อกับนายเนวิน ชิดชอบ ดังนั้น
จึงนับว่ายังไงนายกรัฐมนตรี ก็หนีไม่พ้นปัญหาความขัดแย้งไม่ว่าจะเลือกใคร
เพราะถ้าเลือก พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ทางพรรคภูมิใจไทย นายสุเทพ
และนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก็คัดค้าน หากเลือก
พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ก็ถือเป็นคนสนิท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี โดยตนบอกได้เลยว่า หาก นายอภิสิทธิ์
ไม่มีความเด็ดขาดในการเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ ตามอำนาจในมือที่ตนเองมี
ก็ถือว่า เป็นนายกรัฐมนตรีนอมินีให้นายสุเทพ นายนิพนธ์ และนายเนวิน
ชิดชอบ เหมือนสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์ เคยโจมตี นายสมัคร สุนทรเวช
และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นผู้นำนอมินีของ
พ.ต.ท.ทักษิณ

จากนั้น นายประพันธ์เปิดประเด็นถึงพิรุธคดีกล้ายาง
ที่พบว่ามีอัยการและคนใน
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) บางคน
มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
พยายามหาช่องทางช่วยเหลือจำเลยให้รอดพ้นจากความผิด ว่า คดีกล้ายาง
หลังจากที่ศาลอาญา แผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยจำนวน 44 คน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ นายเนวิน
ชิดชอบ แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนหลายอย่าง โดยคดีนี้ มีพิรุธตรงที่
มีอัยการและคณะกรรมการ คตส. บางคน
ไปเบิกความเป็นพยานช่วยจำเลยให้รอดพ้นจากความผิด
ทั้งที่โดยหน้าที่รับผิดชอบแล้ว ถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชน ดังนั้น
ต้องรับผิดชอบรักษาผลประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน
โดยกรณีนี้สมควรจะต้องมีการตรวจสอบการทำงานของอัยการและ นายแก้วสรร
อติโพธิ หนึ่งในคณะกรรมการ คตส.
ที่เดินทางไปเป็นพยานคดีกล้ายางให้แก่พรรคพวก นายเนวิน ชิดชอบ

"โดยมารยาทแล้ว ทั้งอัยการบางคนและนายแก้วสรร ไม่สมควรทำเช่นนี้
เพราะไม่ชอบด้วยเหตุผล โดยการที่ศาลยกฟ้องเกิดจากหลายสาเหตุ
มีทั้งเรื่องข้อกฏหมายและข้อเท็จจริง
ที่ศาลนำมาประกอบการพิจารณาแต่เหนือสิ่งอื่นใด
เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ไม่เช่นนั้น
ต่อไปคงได้เห็นอัยการบางคน
เวลาว่างก็ไปรับจ๊อบเป็นพยานให้จำเลยรอดพ้นจากความผิด ทั้งที่ก่อนหน้านี้
ตัวเองก็เป็นฝ่ายดูข้อมูลเชิงลึกคดีทั้งหมด
ทำแบบนี้แล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร" นายประพันธ์ กล่าว

น.ส.อัญชะลี กล่าวว่า เดิมที่อัยการกับ
คตส.ไม่ได้มีเรื่องผิดใจอะไรกัน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ แต่หลังจากที่
คสต.สอบคดีทุจริตโครงการปรับปรุงระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าและเครื่องตรวจสอบ
วัตถุระเบิด หรือซีทีเอ็กซ์-9000 ที่มีนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุด
ในฐานะดำรงตำแหน่งอดีตบอร์ด ทอท. สมัยเป็นรองอัยการสูงสุด
เกี่ยวพันคดีนี้ด้วย จึงทำให้เกิดรอยร้าว
อัยการบางคนตั้งแง่ไม่ส่งสำนวนฟ้อง หากเป็นคดีที่ คตส.
ส่งเรื่องมาให้พิจารณา โดยอ้างว่าข้อมูลไม่หนักแน่นพอ หรือไม่รอบด้าน
อย่างคดีกล้ายาง อัยการก็ไม่ยอมสั่งฟ้องให้ จนทำให้
คตส.ต้องตั้งทีมฟ้องเอง ซึ่งหลังจากที่จำเลยคดีนี้หลุดพ้นจากความผิด
ฝ่ายอัยการยังมีการแถลงข่าวเยาะเย้ย
คตส.ว่าเตือนแล้วว่าหลักฐานไม่รอบด้าน ทั้งที่จริงๆแล้ว การที่ต้องการให้
คตส.ไปสืบหาพยานหลักฐานเพิ่ม เพราะต้องการยื้อเวลาช่วยจำเลยต่างหาก

จากนั้น ช่วงต่อมา น.ส.อัญชะลี ยกประเด็นเว็บไซต์มติชน ออนไลน์
นำเสนอผลงานวิจัยของ นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท นักศึกษา
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ปรอ.) รุ่น 21 ในข้อหัว ชำแหละ
อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอล ASTV
ต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวของคนกรุงเทพฯ
พร้อมกับพาดหัวข่าวกล่าวหาว่าเป็นสื่อที่สร้างความแตกแยก
โดยเนื้อหาของงานวิจัยดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้ ผลงานวิจัย สรุปผลว่า
ผู้รับชมที่มีการศึกษาสูง และรับชมสื่อ ASTV
จะไตร่ตรองก่อนเชื่อหรือไม่เชื่อ
แต่ถ้าผู้รับชมที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เมื่อรับชมสื่อ ASTV
จะมีแนวโน้มเชื่อตามทฤษฎีเข็มฉีดยา ซึ่งนับว่ามีผลกระทบร้ายแรง
ในด้านการสร้างความแตกแยกให้กับสังคมทุกระดับ

น.ส.อัญชะลี กล่าวต่อว่า งานวิจัยดังกล่าว มีอาจารย์ที่ปรึกษา 4
คน ได้แก่ พ.อ.ชำนาญ ช้างสาต รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน พล.ต.ณรงค์
เนตรเจริญ และ พ.อ.กฤษฎา สุทธานินทร์ มีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเชิงลึก
20 ราย ประกอบด้วย ตัวแทนจาก ASTV กรมประชาสัมพันธ์
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นักวิชาการด้านสื่อมวลชน ตำรวจ
สำนักงานกิจการภายนอกประเทศ ทหาร องค์กรสิทธิมนุษยชน
นักวิชาการด้านจิตวิทยา พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ อดีตพรรคไทยรักไทย
วุฒิสภา ศาลปกครอง สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม สถาบันการเงิน
และกระทรวงต่างประเทศ

"การศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบสมมติฐานถึงปัจจัยระดับการศึกษาของกลุ่ม
ตัวอย่าง ต่อพฤติกรรม และทัศนคติ
ของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทาการเมืองจาก ASTV พบว่า
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างมีผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง
หลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV ในหลายประเด็น อาทิ
หากเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
มีแนวโน้มที่เห็นด้วยว่าการชุมนุมเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา
ต่างๆ ซึ่งตรงข้ามกับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี
และสูงกว่าปริญญาตรี นอกจากนี้
กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
เป็นกลุ่มที่นิยมนำเนื้อหาของสื่อที่ได้รับนั้น
ไปเผยแพร่บอกต่อให้กับคนรอบข้างรับฟัง
รวมถึงชักชวนให้บุคคลรอบข้างหันมารับข่าวสารจากสื่อ ASTV มากขึ้น"
น.ส.อัญชะลี กล่าวถึงงานวิจัยดังกล่าว

น.ส.อัญชะลี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้
ผลการวิจัยทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารด้านการ
เมืองผ่านสื่อ ASTV ยังส่งผลกระทบด้านอื่นๆ แต่ที่ร้ายแรงที่สุด คือ
ทำให้เกิดความแตกแยก โดยเฉพาะด้านการปลูกฝังความรุนแรงให้กับเยาวชน

นายประพันธ์กล่าวถึงกรณีนี้ว่า
เนื้อหาผลงานวิจัยนี้กำลังจะสื่อให้เห็นว่า ASTV เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพล
ทำให้ผู้คนจำนวนมากเชื่อถือ ซึ่งมีระดับผลการศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญ
โดยตนถือว่า เป็นเรื่องปกติของงานวิจัยทั่วไป
ที่เอาระดับผลการศึกษามาเป็นเกณฑ์วัดวิจารณญาณของแต่ละบุคคล
ซึ่งหากมองในมุมนกลับกัน ทำไมผู้ทำการวิจัยไม่คิดบ้างว่า
เหตุใดที่คนการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เลือกที่จะดูเนื้อหาสาระรายการต่างๆ
ของสื่อ ASTV แทนที่จะดูฟรีทีวี ซึ่งมีให้เลือกเสพสื่อมากมาย ดังนั้น
อิทธิพลที่ทำให้ผู้คนเกิดความแตกแยกในสังคม ไม่น่าใช่เพราะสื่อ ASTV
แต่มาจากปัจจัยอื่น ทั้งนี้ ตนมองว่าการที่คนการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
หันมาบริโภครายการข่าวมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีด้วยซ้ำ โดยเรื่องนี้
จะต้องใช้เวลาพูดและทำความเข้าใจกันนานกว่านี้ ดังนั้น
ขอยกประเด็นนี้ไปวิเคราะห์ในวันพรุ่งนี้ (25 กันยายน) ซึ่งรับรองได้ว่า
ประชาชนจะได้ข้อมูลรอบด้าน และจะชี้ให้เห็นถึงความชัดเจนของสื่อ ASTV
มากขึ้น ว่ามีความแตกต่างกับบรรดาฟรีทีวีทั้งหลายอย่างไรในการนำเสนอข่าวต่างๆ


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000112308

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น