++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักสูตรติดปีก ปั้นบัณฑิตการบินสู่ฟ้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 พฤศจิกายน 2552 10:02 น.
ปัจจุบันแนวโน้มของการประกอบอาชีพและการสร้างงานในธุรกิจด้านการบิน มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เจริญเติบโตจนกลายเป็น อุตสาหกรรมที่ใหญที่สุดในโลก ก็ยิ่งทำให้กระแสความต้องการบุคลากรที่จบทางด้านเกี่ยวกับการบินสูงขึ้นตาม ไปด้วย และส่งผลให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งหันมาเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับการบินเพื่อตอบ สนองความต้องการเหล่าบรรดาวัยรุ่นที่อยากจะประกอบอาชีพเช่นนี้

ห้องปฏิบัติงานจริง สำหรับ(ว่าที่) นักบินรุ่นใหม่
ม.รังสิต รุกนำเปิดหลักสูตร “การบินฯ” แห่งแรก

สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งผลิต สร้างบุคลากรรองรับสายการบิน ด้วยหลักสูตร “บริหารธุรกิจทางด้านการจัดการธุรกิจ ด้านการบิน”ในระดับปริญญาตรี ขึ้นเป็นที่แรก อย่าง “มหาวิทยาลัยรังสิต” ซึ่งเริ่มเปิดสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2549จากการเปิดสอนเป็นกลุ่มวิชาชีพเลือกให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรการจัดการ การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการโดยผลิตบัณฑิตเข้าสู่อาชีพธุรกิจการขน ส่งทางอากาศมาแล้ว 3 รุ่น ปัจจุบันได้ยกระดับขึ้นเป็นคณะใหม่ที่ชื่อว่า “สถาบันการบิน”โดยใช้ชื่อหลักสูตรว่า “เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบิน”


อุ่นเครื่องก่อนฝึกปฏิบัติจริง
พล.อ.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา คณบดีสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตนักบินพระที่นั่งกองทัพอากาศ ซึ่งมีประสบการณ์ในการบินสายการบินลำเลียง หรือสายการบินพาณิชย์มาตลอดเป็นเวลากว่า 30 กล่าวว่า

“ปัจจุบัน เราเปิดหลักสูตรอย่างเต็มตัวมา 4 ปี เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการบริหารจัดการธุรกิจด้านการบิน โดยจะมีการจัดแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น 2 ส่วนหลักๆคือประมาณ 50 % เป็นองค์ความรู้พื้นฐานด้านการบริหารธุรกิจโดยทั่วไป และอีก 50% เป็นองค์ความรู้ทางวิชาชีพเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและระบบการขนส่งทางอากาศโดยรวมทั้งการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้า โดยการเรียนในภาคทฤษฎีมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้สอน ส่วนในภาคอากาศจะให้ Bangkok Aviation Center (BAC) ฝึกการบินให้กับนักศึกษา

ซึ่งในปี 1 และปี 2จะทำการปูพื้นฐานวิชาเกี่ยวหลักสูตรการบิน ทั้ง 4 วิชา ซึ่งจะมีภาคปฏิบัติด้วยเครื่องบินฝึกจำลองให้นักศึกษาได้ฝึกซึ่งมี 2 เครื่อง ส่วนในปี 3 จะเข้าสู่การบินภาคพื้น ซึ่งมีอาจารย์จากBAC มาช่วยสอนร่วมกับอาจารย์และคณบดี ปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทั้งนี้ นักศึกษาจะเริ่มเก็บชั่วโมงบิน จำนวน 210 ชั่วโมงจนกว่าจะจบหลักสูตร”

ชุดเครื่องแบบสุดเท่ห์
เรียนรู้การบินกับ ม.ชั้นนำต่างประเทศ

พล.อ.อ .คธาทิพย์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรังสิตได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่แคนนาดา และออสเตรเลีย เพื่อส่งนักศึกษาจำนวน 8 คนที่ผ่านการทดสอบปีสองไปเรียนต่อที่สองประเทศนี้ อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนสถานที่ อาจารย์ผู้สอน และบรรยากาศในการเรียนรู้ที่กว้างขึ้น ทั้งนี้นักศึกษาจะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยเหมือนกัน และยังได้ไลเซ่นการบินจาก 2 ประเทศนี้ด้วย

“เรา เน้นความเป็นสากล อยากให้นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น ทั้งสภาพแวดล้อมและภาษาที่หลากหลาย เพื่อให้นักบินรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ภาษาถึงในระดับ 4 ซึ่งนั้นก็คือ สามารถสื่อสารและพูดคุยกันรู้เรื่อง ซึ่งขณะนี้มีบัณฑิตรุ่นแรกซึ่งเป็นผู้ชาย 16 คน และผู้หญิง 1 คน ที่กำลังเข้าสู่สายวิชาชีพนี้อย่างเต็มตัว เหลือเพียงรอการสอบใบขับขี่เครื่องบินเท่านั้น”


ฝึกประสบการณ์จริงก่อนเรียนจบหลักสูตร
พล.อ.อ.คธาทิพย์ ชี้แจงว่า ด้วยหลักสูตรที่ใหม่ และกำลังได้รับความนิยมจากวัยรุ่นที่มีฝันอยากจะเป็นนักบิน บวกกับสภาพเศรษฐกิจของเมืองไทย โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ที่มีผลต่อธุรกิจการบิร อาจจะทำร้ายความฝันของนักศึกษาบางคน ด้วยค่าเรียนตลอดหลักสูตรสูงขึ้นถึงหลักล้าน แต่เมื่อเมื่อนึกถึงผลตอบรับ และโอกาสที่จะได้เข้าทำงานในสายวิชาชีพ ถือว่า คุ้มค่ามาก

“สำหรับ ในปี1-2 อัตราค่าเรียนจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 หมื่นบาท แต่สำหรับในช่วงปี 3-4 ซึ่งอยู่ในส่วนการเรียนภาคพื้นที่ต้องสัมผัสกับการเรียนรู้ประสบการณ์จริง จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านบาท ขณะที่โรงเรียนการบินทั่วไป อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่มีสถาบันใดที่จะรองรับได้ว่านักศึกษาจบมาแล้วมีงานทำแน่นอน ซีงนั้นก็ขึ้นอยู่ที่ตัวนักศึกษาจะเข้าทำงานได้ต้องสอบผ่านใบขับขี่กับกรมขน ส่งทางอากาศ ก่อน แต่เชื่อว่า 90% ได้งานทำ”

บุคลิกดี บริการเยี่ยม
มสด. ชูอัตลักษณ์ บุคลิกดี บริการเยี่ยม

พลอากาศโท วัชระ ฤทธาคนี ที่ปรึกษาอธิการบดี ประจำแขนงวิชาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กล่าวว่า “การ เรียนของเราเน้นทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ นักศึกษาส่วนใหญ่อยากจะทำงานในส่วนของธุรกิจการบิน ท่าอากาศยาน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบิน ซึ่งเราจะเน้นในงานบริการ บุคลิกภาพ และการวางตัวในการทำงาน อีกทั้งยังเน้นไหวพริบ เพราะในช่วงเวลาการเดินทางในสายการบินต่างๆ นักศึกษาต้องมีความสามารถช่วยชีวิตตัวเองและสร้างความปลอดภัยให้ผู้อื่นได้ ซึ่งมันอาจจะไม่มีในตำราเรียน แต่เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารได้”

พล อากาศโท วัชระ ฤทธาคนี ชี้แจงเพิ่มเติมถึงรายวิชาเรียนของนักศึกษาธุรกิจการบิน ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการเรียนเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจทั่วไป

“จะ เน้นหนักในวิชาเฉพาะเรื่องของธุรกิจการบิน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบิน การบริหารจัดการสายการบินความสำคัญของการจราจรทางอากาศ นิรภัยการบิน สำหรับงานบริการนั้นต้องเน้นให้นักศึกษาทำดีที่สุด ตอบสนองความต้องการหรือความสนใจของผู้โดยสารได้ อีกทั้งยังให้ความ สำคัญในเรื่องของภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ซึ่งเราถือว่าภาษาและบุคลิกภาพเป็นของคู่กัน ส่วนการ บริการในท่าอากาศยานจะแตกต่างจากการฝึกงานหรือปฏิบัติงานที่อื่นมาก เพราะด้วยสภาวะแรงกดดันทั้งภายในเครื่องบิน แรงกดดันอากาศ และแรงกดดันจากผู้โดยสาร ซึ่งผู้โดยสารจะคิดอยู่เสมอว่า เมื่อจ่ายค่าโดยสารแล้วจะต้องได้รับการดูแลที่ดี คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ดังนั้นเราจึงจัดภาคทฤษฏีและปฏิบัติไปพร้อมๆกัน รวมไปถึงการแต่งกายและความประพฤติมารยาทในการทำงาน"



ทำหน้าที่สยามเมืองยิ้ม
เด็กการบินฯ สวยรูป จูบต้องหอม

ดร.ปาริชาติ นิติมานพ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และผู้ประสานงานแขนงธุรกิจการบิน มสด. กล่าวเสริมว่า มสด.ได้ตั้งเป้าหมายถึงอัตลักษณ์ที่เน้นทางการบริการ บุคลิกภาพและความเป็นผู้มีวินัยของนักศึกษาโดยเฉพาะเครื่องแบบ การแต่งกายต้องเรียบร้อย สุภาพ อ่อนน้อม

“โดยส่วนมาก นักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรธุรกิจการบินจะแตกต่างๆ จากเด็กนักศึกษาทั่วไป โดย เฉพาะเครื่องแบบการแต่งกายที่จำลองคล้ายกับพนักงานในสายการบินยึดถือเป็นข้อ ปฏิบัติประจำ ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง โดยเฉพาะในเรื่องบุคลิกภาพ การแต่งกาย การดูแลหน้าตา ซึ่งเรามีการตรวจเครื่องแบบการแต่งกายอยู่เสมอ า ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการทำงานทุกอย่างที่นอกเหนือจากระดับ มหาวิทยาลัย ทุกชั้นปี ไม่ว่าจะเป็นปี 1-4 ถ้าเราเห็นในศักยภาพทั้งการทำงาน และบุคลิกภาพ เราก็พร้อมที่จะส่งเข้าฝึกงานยัง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) หรือสายการบินอื่นๆ ที่รองรับนักศึกษาฝึกงาน เพื่อให้เขาได้มีประสบการณ์ก่อนเข้าทำงานจริง

นัก ศึกษาหลักสูตรการบิน จะต้องเข้าอยู่ในหอพักนักศึกษาของ มสด.ที่ศูนย์การศึกษาสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี เพื่อรับการดูแลและพัฒนาบุคลิกภาพอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันจะมีรถรับส่งนักศึกษาเข้ามาเรียนที่ มสด.ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 จะต้องไปเรียนและฝึกภาคปฏิบัติและฝึกประสบการณ์การทำงานที่สนามบิน สุวรรณภูมิ สายการบิน และโรงแรมต่างๆ โดยค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรธุรกิจการบินของมสด. อยู่ที่ 187,000 บาทเท่านั้น"

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000134936

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น