...+

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มหัศจรรย์! คลินิก“ผึ้งบำบัด” มฟล. ใช้พิษรักษาอาการปวดข้อ -อัลไซเมอร์




คลินิกผึ้งบำบัด” ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ยังคงได้รับความนิยม ด้วยศาสตร์ความรู้ทางการแพทย์ “พิษถอนพิษ” ฝังเหล็กในผึ้ง ตามหลักการฝังเข็ม พิษผึ้งมีฤทธิ์บำบัดอาการแก้ปวด ไขข้อ อัลไซเมอร์ อัมพฤกษ์ และอาการอื่นๆ อีกมากมาย


“คลินิกผึ้งบำบัด” ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย



       


รักษาโรคนานาชาติ



        แพทย์หญิง มิตรา คาสลี่ รองคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประจำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า การนำผลิตภัณฑ์จากผึ้งมาใช้ประโยชน์สำหรับในเมืองไทย มีการนำมาใช้เกือบทุกสัดส่วน ตั้งแต่ น้ำผึ่ง เกสรผึ้ง นมผึ้ง พรอพอลิส ไขผึ้ง ส่วน “พิษผึ้ง” ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยรักษาหลายอาการ เช่น มีฤทธิ์ต้านไวรัส แก้ปวด ช่วยปรับภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ
       
        “ การใช้ผึ้งรักษาเป็นแนวทางการรักษาทางเลือกหนึ่ง โดยฝังเหล็กในลงตามหลักการฝังเข็ม และพิษผึ้งจะมีฤทธิ์รักษาหลายการโดยเฉพาะแก้ปวด ช่วยปรับอุณภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ เป็นต้น ความสำเร็จในการักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนใช้ผึ้งต่อยครั้งเดียวหาย บางคนต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะต้องมองหาแนวทางอื่นที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่าต่อไป
       
        ทั้งนี้ พิษผึ้ง ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ การนำพิษผึ้งไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาต้องใช้ผึ้งต่อย เพื่อฝังเหล็กใน ในหลักการเดียวกับการฝังเข็ม แต่ต่างกันที่พิษผึ้งมีฤทธิ์ในการรักษาอาการต่างๆ ด้วย เป็นแนวทางการรักษาทางเลือกหนึ่ง ในหลายประเทศที่มีการรักษาด้วยวิธีนี้อย่างแพร่หลายมานานแล้ว สำหรับประเทศไทยประชาชนกำลังให้ความสนใจ”
       
        สำหรับโรคที่เหมาะแก่การรักษาด้วยผึ้งบำบัด แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มอาการปวด และอาการขา ได้แก่ ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดขา ปวดต้นคอ ปวดประจำเดือน คอตกหมอน อาการมือชา เท้าชา กลุ่มต่อมาเป็นกลุ่มอาการไขข้อ ไขข้ออักเสธรูมาตอยด์ ไขข้ออักเสบ โรคข้อเข่าเสื่อม นิ้วล็อก เส้นเอ็นอักเสบ โรคเกาต์ และกลุ่มสุดท้ายคือ โรคและอาการอื่นๆ เช่น ริดสีดวง ตะคริวน้อง ไซนัสอักเสบ นอนกรน เลิกบุหรี่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้มีบุตรยาก โรคอัลไซเมอร์





       





        อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยพิษผึ้งไม่ได้เหมาะสมกับบุคคลทุกประเภท ทั้งนี้ กลุ่มอาการที่ไม่เหมาะต่อการรักษาด้วยผึ้งบำบัด ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหัวใจและไต กระดูกหัก หญิงตั้งครรภ์ สตรีระหว่างมีประจำเดือน ผู้มีบาดแผลมีเลือดออก เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ผู้มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน โรคติดเชื้อเฉียบพลัน สุขภาพไม่แข็งแรง และต้องไม่อยู่ในอาการหิวหรืออิ่มจนเกินไป และผู้ที่เพิ่งดื่เหล้าหรือสูบบุหรี่


“พิษถอนพิษ”ใช้หลักการฝังเข็ม



       


บรรเทาอาการปวดตามร่างกาย



        โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้เปิดให้บริการรักษาด้วยผึ้งบำบัดในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 0-5391-6822-3 หรือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 0-5391-7581

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น