นปช.และกลุ่มเสื้อได้แดงระดมสรรพกำลังประกอบพิธีกรรมทำบุญแก้เคล็ดให้นาย
ใหญ่ ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีจำคุก 2 ปี เมื่อวันที่ 26
ก.ค.ในหลายวัดหลายจังหวัด ซึ่งหลายฝ่ายรู้ทันว่า
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจัดงานดังกล่าว ก็เพื่อล่าชื่อประชาชนให้ได้
1 ล้านคน เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ปรากฏว่า
ให้หลังแค่ 2 วัน (28 ก.ค.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.และ
ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ก็ออกมาคุยโวว่า ยอดรายชื่อผู้ถวายฎีกามี 3
ล้านคนแล้ว และคาดว่า จะครบ 5 ล้านคน ในวันที่ 31 ก.ค.และว่า หลังจากนั้น
จะใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการตรวจสอบรายชื่อ
ก่อนยื่นรายชื่อไปยังสำนักพระราชวังในวันที่ 7 ส.ค.นายจตุพร
ยังปฏิเสธด้วยว่า การกำหนดยื่นรายชื่อเพื่อถวายฎีกาในวันดังกล่าว
ไม่ใช่เพราะตรงกับวันเสียงปืนแตกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
แต่เป็นวันศาสตราจารย์รพี บิดาแห่งนักกฎหมายไทย!?!
นายจตุพร ยังประกาศกับคนเสื้อแดงที่ร่วมงานวันคล้ายวันเกิดของ
พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ถึงการยื่นถวายฎีกา
โดยนอกจากจะดิสเครดิต พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษแล้ว ยังแฝงนัยที่อาจกระทบเบื้องสูงด้วย
"หากมีจำนวนรายชื่อมาก จะทำให้มีบางคนแอบอิจฉา หัวใจของคนบางคนจะเต้นเร็ว
เผลอๆ คนๆ นั้นจะไปก่อนทักษิณ ซึ่งเราจะถวายฎีกาข้ามหัว พล.อ.เปรม ไปเลย"
ขณะที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ
ก็ส่อหมิ่นเบื้องสูงไม่แพ้ พ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำเสื้อแดง
ด้วยการกล่าวกับผู้ที่ไปร่วมงานวันคล้ายวันเกิด พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า
"บิ๊กเซอร์ไพรส์ที่ทำวันนี้
ยังไม่เท่ากับเสียงประชาชนคนรักทักษิณที่มีมากขนาดนี้ หลังจากนี้
จะเดินตามมติประชาธิปไตย
โดยมติประชาชนต้องการนำคนที่ทำความดีกลับมาสู่ประเทศอีกครั้ง
เอาอำนาจที่บดบังประชาชนออกไป ครอบครัวชินวัตร และ พ.ต.ท.ทักษิณ
จะไม่ลืมบุญคุณ เราจะรวบรวมเสียงทั่วประเทศเพื่อแสดงให้เห็นว่า
เราต้องการปกครองโดยมติของประชาชน ไม่ลดละเอาระบอบประชาธิปไตยคืนมา
เราต้องการประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แต่อย่าให้อำนาจที่เหนือกว่าประชาชนเข้ามาบดบัง"
ขณะที่หลายภาคส่วนในสังคม
เริ่มเปลี่ยนจากการท้วงติงการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง
มาเป็นการต่อต้านและการหยุดยั้ง เพราะการถวายฎีกาด้วยวิธีล่าชื่อ
นอกจากจะไม่เคยมีประเพณีปฏิบัติแล้ว
ยังขัดต่อระเบียบขั้นตอนการถวายฎีกาที่นักโทษต้องดำเนินการด้วยตนเอง
ต้องสำนึกผิดและยอมรับโทษก่อน ส่วนการเดินเรื่องก็ต้องผ่านกรมราชทัณฑ์
กระทรวงยุติธรรม หาใช่วิธีที่กลุ่มเสื้อแดงกำลังดำเนินการอยู่ไม่
การล่าชื่อถวายฎีกาของแกนนำ นปช.ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ท้ายด้วยการบอกว่า
"ไม่สามารถห้ามได้ เพราะเป็นความต้องการของประชาชนที่อยากทำให้ตน"
จึงหนีไม่พ้นที่จะถูกครหาว่า นี่
คือการนำมวลชนมากดดันพระมหากษัตริย์ให้ทำตามความต้องการของตน คือ
อภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งไม่บังควรอย่างยิ่ง
เพราะนอกจากจะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจแล้ว
ยังเป็นการกดดันพระราชวินิจฉัยของพระองค์ด้วย!!
สังคมจึงได้เห็นปฏิกิริยาต่อต้านจากหลายๆ
ฝ่ายต่อการล่าชื่อถวายฎีกาดังกล่าว โดยในส่วนของรัฐบาล
แม้พรรคประชาธิปัตย์
จะไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการปกป้องสถาบันดังที่สังคมคาดหวัง
แต่อย่างน้อยก็ยังรู้สึกดีที่เห็นแกนนำพรรคภูมิใจไทย
แถลงจุดยืนคัดค้านการถวายฎีกาดังกล่าว โดย นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ประกาศ (28 ก.ค.) ว่า
"พรรคจะทำทุกวิธีที่ไม่ขัดกฎหมาย
เพื่อคัดค้านการถวายฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และมีเป้าหมายดึงสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองให้ถึงที่
สุด พรรคเป็นห่วงว่าการล่ารายชื่อครั้งนี้
เป็นการสร้างความหวังให้ประชาชน
แล้วนำมาบีบบังคับพระมหากษัตริย์ให้มีพระบรมราชวินิจฉัยตามที่ตัวเองต้อง
การ"
ทั้งนี้ พรรคภูมิใจไทย
ได้แสดงออกถึงการคัดค้านการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง
ด้วยการขึ้นป้ายขนาดใหญ่หลายจุดใน กทม.โดยมีข้อความว่า "หยุดดึงฟ้าต่ำ
หยุดทำหินแตก หยุดแยกประชาชน หยุดล่ารายชื่อถวายฎีกา"
รวมทั้งจะรณรงค์แจกจ่ายสติกเกอร์ข้อความดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้
ขณะที่ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการ
พิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ที่มี พล.อ.อ.นพฤษภ์ มัณฑะจิตร
เป็นประธาน ก็ห่วงกังวลเรื่องการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง
ถึงขนาดต้องเชิญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ เข้าชี้แจงเมื่อวานนี้ (29
ก.ค.) ว่า รัฐบาลได้ดำเนินการอะไรบ้างหรือไม่
โดยนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา
และเลขานุการคณะกรรมาธิการดังกล่าว บอกว่า คณะกรรมาธิการฯ
ได้รายงานผลการศึกษาให้นายกฯ ทราบว่า ประเทศ
กำลังตกอยู่ในภาวะสงครามโค่นล้มสถาบันพราะมหากษัตริย์
โดยมีคนกลุ่มหนึ่งประสานแนวรบทุกด้าน ทั้งมวลชน สภา
และสื่อสารมวลชนรูปแบบต่างๆ โดยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น ทั้งการถวายฎีกา,
การจัดงานวันเกิด, การจัดกิจกรรมใกล้พระราชวังไกลกังวล
ซึ่งรัฐบาลต้องตระหนักว่าไม่ใช่สถานการณ์ปกติ แต่เป็นสถานการณ์ของสงคราม
ดังนั้น รัฐบาลต้องใช้หลักนิติรัฐบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่
ด้าน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล โฆษกกระทรวง มหาดไทยฝ่ายข้าราชการประจำ
พร้อมด้วย ส.ว.สรรหาบางส่วน และอีกหลายภาคส่วนในสังคม เช่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, สหพันธ์ครูแห่งประเทศไทย,
สมาคมสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย,สมาคมการศึกษาตลอดชีวิต,
สมาคมรถตู้โดยสารต่างจังหวัดแห่งประเทศไทย, ชมรมรักในหลวง,
สมาคมแท็กซี่มิเตอร์, ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ
ได้เปิดแถลง(29 ก.ค.) ต่อต้านการล่าชื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้
พ.ต.ท.ทักษิณ
ทั้งนี้ ม.ล.ปนัดดา ชี้ว่า การ
ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนักการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น
ถือเป็นการสร้างความวุ่นวายที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
และสร้างความแตกแยกในสังคมไทย
ความห่วงกังวลต่อการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง ว่า
จะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจและระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
ไม่เพียงเกิดขึ้นกับหลายภาคส่วนในสังคม
แม้แต่ที่ประชุมองคมนตรีก็ยังห่วงเรื่องนี้ไม่แพ้กัน โดย พล.อ.พิจิตร
กุลละวณิชย์ องคมนตรี เผย (29 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมองคมนตรีได้สรุปแล้วว่า
การที่กลุ่มเสื้อแดงเดินหน้าล่ารายชื่อเพื่อยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ผู้ที่กระทำความผิด
ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดต้องรับโทษไปตามคำพิพากษา
จะข้ามขั้นตอนโดยการยื่นถวายฎีกาก่อนรับโทษไม่ได้
อีกทั้งยังถือเป็นการกดดันพระราชวินิจฉัย ซึ่งเป็นการไม่บังควร
ด้าน นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.ประกาศกร้าวว่า
การถวายฎีกาจะมีขึ้นแน่นอน ไม่มีใครหยุดยั้งคนเสื้อแดงได้ "วันนี้
ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.เปรม พล.อ.สุรยุทธ์ พล.อ.พิจิตร หรือใครก็ตาม
เขาไม่มีทางหยุดยั้งคนเสื้อแดงได้"
ไม่ว่าจะมีใครเปลี่ยนใจคนเสื้อแดงได้หรือไม่
ลองมาฟังนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการปกครอง ดูว่า
การล่าชื่อถวายฎีกาให้มีการอภัยโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งนี้
จะส่งผลสะเทือนอย่างไรหรือไม่
โดยเฉพาะกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยกับวิทยุ ASTVผู้จัดการ โดยชี้ว่า
การล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดงเพื่อขอให้มีการพระราชทานอภัยโทษแก่
พ.ต.ท.ทักษิณนั้น เหมือนกับการขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้
เพราะในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและอยู่ภายใต้รัฐ
ธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ไม่สามารถมีพระราชอำนาจในการกลับคำพิพากษาของศาลได้
"การไปถวายฎีกาเพื่อจะขอพระราชทานอภัยโทษ
หมายถึงว่าไปทำให้สิ่งที่ศาลตัดสินไปแล้ว มันสุดท้ายไปแล้ว
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุขเนี่ย ไม่สามารถจะมีพระราชอำนาจหรือมีพระบรมเดชานุภาพขนาดจะไปกลับคำศาลสูงขนาด
นั้นได้ เพราะศาลใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน
คือตรงนี้มันเป็นระบอบที่อำนาจอธิปไตยอยู่ที่ประชาชน และฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหารก็ทำหน้าที่ตรงนี้ไป เมื่อศาลตัดสินตรงนี้แล้ว
ถ้าจะมาทวนกระแสตรงนี้คงไม่ได้
แต่การที่พยายามจะให้ในหลวงมากลับคำพิพากษาตรงนี้
มันเป็นกระบวนการสวนทางกับระบอบประชาธิปไตยนะ คือกำลังทำในสิ่งที่คล้ายๆ
จะไปขอให้ในหลวงทำในสิ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
พยายามจะทำให้ในหลวงกลับไปสู่สภาวะที่สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งมันไม่ถูกต้อง"
"การถวายแบบนี้เป็นการถวายในสิ่งที่พระองค์ทำไม่ได้
ถ้าประชาชนยังคาดหวังแบบนั้นอยู่ว่าพระองค์ทำได้ ก็เป็นทำนองว่า คล้ายๆ
กับพยายามจะคืนอำนาจให้พระองค์
เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็มีความวุ่นวายหลายอย่าง เพราะ
รธน.กำหนดไว้เรื่องของศาลใช้อำนาจแทนประชาชน
แต่พวกพี่น้องเสื้อแดงเขาไม่ยอมรับ รธน.ฉบับนี้ แบบนี้เขาก็ไม่แคร์เลยว่า
จริงๆ แล้วทุกอย่างมันเป็นไปตามครรลองของ รธน.แล้ว เพราะฉะนั้นผมคิดว่า
ก็ควรจะ อย่างที่ท่านอาจารย์ ดร.วีระ สมบูรณ์(อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)
ท่านได้พูดในการอภิปรายเมื่อวาน (28 ก.ค.) ก็คือ
ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าทำได้มั้ย
แต่ขณะเดียวกันถ้าเขาไม่เชื่อในศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าเขาไม่เชื่อใน
รธน.แต่เขาเชื่อในตัวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนี่ย
มันก็เข้าไปสู่ทางตันอะไรบางอย่าง"
รศ.ดร.ไชยันต์ ยังบอกด้วยว่า
หากกลุ่มเสื้อแดงถวายฎีกาขึ้นไปจริงๆ
จะเกิดความแตกแยกหรือวุ่นวายตามมาหรือไม่ ขึ้นอยู่ว่าประชาชน
โดยเฉพาะฝ่ายเสื้อแดงจะยอมรับพระราชวินิจฉัยที่จะออกมาหรือไม่
ซึ่งส่วนตัวแล้ว ยังหวังว่า แกนนำ นปช.และ พ.ต.ท.ทักษิณ
จะตัดสินใจในนาทีสุดท้ายว่าจะไม่ถวายฎีกา
เพื่อไม่ให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
"ผมมีความเชื่อและมีความหวังว่า ฝ่าย นปช.ก็ดี ฝ่ายคุณทักษิณ
ก็ดี จะตัดสินใจไม่ถวายฎีกา เพราะถ้าสมมติว่าได้ชื่อจำนวนมากแล้ว 3
ล้านตามที่ว่าไว้จริง ก็มีผลสะเทือนทางการเมืองในตัวมันเองอยู่แล้ว
แล้วเขาก็ไม่จำเป็นต้องไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
คุณทักษิณอาจจะหาเครดิตจากการตัดสินใจไม่ถวายฎีกาในวินาทีสุดท้าย
หาเครดิตจากสังคมไทยจากพี่น้องประชาชนหลายฝ่ายที่กังวลอยู่
ตรงนี้คุณทักษิณก็จะได้ 2 ต่อ ต่อแรก คือ 3 ล้านนี่ ตัวเลขออกมาแล้ว
รายชื่อออกมาด้วย ถ้าให้คนพิสูจน์ 2.ตัดสินใจเป็นคนไทยที่ดีคนหนึ่ง คือ
ไม่ไประคายเคือง เพราะฉะนั้นคะแนนสงสาร
คะแนนเห็นใจอาจจะกลับไปสู่คุณทักษิณเพิ่มขึ้นอีก
ถึงตอนนั้นผมคิดว่าน่าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีสำหรับพวกเขานะ
เพราะถ้าขืนถวายฎีกาจริงๆ ผมคิดว่า ไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เขาก็ไม่แน่ใจหรอก
ทุกฝ่ายก็ไม่แน่ใจว่าในที่สุดแล้วมันจะลงเอยได้ดีหรือไม่ดี"
"(ถาม-ถ้าถวายไป ไม่ว่าจะออกมาในทางใด
ก็จะเกิดความแตกแยกใช่มั้ย?) ไม่จำเป็น ก็ขึ้นอยู่กับว่า
พี่น้องประชาชนจะน้อมรับหรือเปล่า สมมติถ้าออกมาในทางที่ว่า
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำแบบนี้ ไม่สามารถที่จะลบล้างคำตัดสินของศาลได้
ถ้าออกมาแบบนี้ ถ้าประชาชนยอมรับ ฝ่ายประชาชนเสื้อแดงยอมรับ
ก็ต้องยอมรับตรงนั้น มันอาจจะไม่เกิดเรื่องเลยก็ได้
อาจจะเป็นการชี้ให้เห็นว่า ตกลงแล้วคุณทักษิณมีความผิด ควรจะมารับผิดก่อน
ถ้าประชาชนสีแดงที่ไม่แดงจัดเกินไป ก็อาจจะเห็นว่า เออ!
แม้กระทั่งสถาบันกษัตริย์ท่านก็คงเห็นแบบนี้นะ
เพราะฉะนั้นเราคงต้องคิดให้ดีแล้วล่ะ
เพราะพระองค์คงต้องไตร่ตรองมาอย่างดีแล้ว ว่า ทำได้-ไม่ได้ยังไง
เพราะฉะนั้นก็คงจะกลับไปคิด ชาวบ้านส่วนหนึ่งอาจจะกลับไปคิด แต่ถ้าหัวแดง
สีแดงแบบตาบอด หัวปักหัวปำเนี่ย ก็อาจจะไม่พอใจ หาว่า take sides
เข้าข้าง อะไรอย่างนี้"
เมื่อถามว่า หากกลุ่มเสื้อแดงถวายฎีกาให้ พ.ต.ท.ทักษิณ จริงๆ
จะเป็นการท้าทายหรือส่งผลต่อสถาบันครั้งใหญ่หรือไม่ รศ.ดร.ไชยันต์
ยอมรับว่า คงเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับสถาบัน
แต่ก็จะเป็นบทพิสูจน์ที่สำคัญสำหรับพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยว่า
จะทรงวางกฎเกณฑ์กติกาสำหรับเมืองไทยเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายอย่างไร
"ก็คงเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับสถาบัน อย่าลืมว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราเนี่ย
เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกภายใต้ระบอบการปกครองใหม่
ที่ผมพูดถึงระบอบการปกครองใหม่ ก็เพราะหลัง 2475
มันเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว และที่ผมกล่าวว่าพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์
ถ้านับเป็นรัชกาล ก็คือ รัชกาลที่ 1 ในระบอบใหม่ ก็เพราะรัชกาลที่ 7
ท่านก็อยู่เพียง 2-3 ปี ท่านก็สละราชสมบัติ สละตำแหน่ง รัชกาลที่ 8
ท่านก็ยังไม่ได้มาเป็นกษัตริย์ เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ
ท่านมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์
ก็มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา
ขณะนี้ล่ะที่เข้าสู่กระบวนการบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ
และครองราชย์ระยะเวลายาวนาน 60 กว่าปี
เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบใหม่
ก็ต้องพยายามที่จะสร้างแนวทางกติกากฎเกณฑ์สำหรับบทบาทของพระมหากษัตริย์
วางไว้สำหรับการเมืองไทยในอนาคตและในปัจจุบัน ดังนั้น
โจทย์นี้ก็เป็นอีกโจทย์หนึ่งที่จะเป็นบทพิสูจน์ว่า การปรับตัว
การวางแนวทางเกี่ยวกับเรื่องการถวายฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนเนี่ย
จะทำยังไงที่จะทำให้ผลออกมาแล้ว
ไม่ทำให้เกิดความวุ่นวายสับสนหรืออะไรต่างๆ
ซึ่งอันนี้ก็เป็นบทพิสูจน์สำคัญอันหนึ่งของพระมหากษัตริย์ในระบอบ
ประชาธิปไตย"
ด้าน ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก ที่ปรึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
พูดถึงการล่าชื่อถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดงว่า
มีลักษณะต่อรองและกดดันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ควร และว่า
การเข้าชื่อถวายฎีกาที่เป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองแบบนี้
นอกจากจะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทแล้ว ยังเข้าข่ายหมิ่นสถาบันด้วย
"ถ้าโดยหลักการที่ปฏิบัติสืบกันมา มันต้องเป็นผู้เสียหาย
ผู้ได้รับผลร้าย ผู้ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่เดือดร้อน
หรือครอบครัวเป็นผู้ที่ทำฎีกาถวายองค์พระมหากษัตริย์
เพราะมันเป็นการร้องขอ
เป็นการขอร้องให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชวินิจฉัยที่จะทรงมีพระเมตตา
แต่การมาล่าชื่อในลักษณะนี้มันเหมือนกับการกระทำการในด้านการเมือง เช่น
ไม่ได้อะไรก็ประท้วง มันเหมือนการอ้างสิทธิใน รธน.ว่า
สามารถชุมนุมกันได้โดยสงบ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการเรียกร้องในกรอบการเมือง
เป็นการต่อรองและเป็นการกดดันกันลักษณะหนึ่ง ผมคิดว่ามันไม่เหมาะ
การต่อรองและการกดดันต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยตรง
มันเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะไม่ควรจริงๆ
และนอกจากระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทแล้ว มันเข้าข่าย
ผมคิดว่ามันเป็นการหมิ่นสถาบัน
อาจจะไม่ได้เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในลักษณะของการหมิ่นประมาท
พูดจาไม่ดีต่อพระองค์ท่าน แต่มันเป็นการกระทำการที่ไม่เหมาะ"
"(ถาม-สมมติว่า ฎีกาขึ้นไปแล้ว และในที่สุดเรื่องเงียบ
คิดว่าคนเสื้อแดงที่ร่วมลงชื่อจะรู้สึกอย่างไร จะไม่มีปัญหาตามมาเหรอ
และก่อนจะถึงตรงนั้น จะสร้างความลำบากพระทัยให้ในหลวง
ซึ่งจะต้องพิจารณาเรื่องนี้มั้ย?) แน่นอนอยู่แล้ว
ผมคิดว่าบรรดาคนทั้งหลายที่เข้าชื่อกันยื่นเรื่องนี้ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวเนี่ย ผมคิดว่าเขามีมุมมองที่ชัดเจนอยู่แล้ว
เราไม่ต้องไปถกกันในเรื่องนั้น ผมเชื่อว่า ความเกรงในพระองค์ท่าน
หรือความรู้สึกว่าเราทำอะไรและไม่ทำอะไร
มันจะเหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์ มีน้อยซะจนเขาไม่สนหรอก
ซึ่งถ้าไม่ได้รับการพิจารณาเนี่ย แน่นอนก็ต้องหาเรื่องหาเหตุนั้นเหตุนี้
ดูสิ คนไปขึ้นเวทีด่าพระองค์ท่านยังมีเลย
ผมเชื่อว่าจะต้องมีการเคลื่อนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งแน่นอน
และทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เนี่ย มันไม่เป็นผลดีต่อประเทศ
แล้วคนที่เป็นต้นเรื่องจริงๆ สามารถที่จะระงับเรื่องนี้ได้ แต่ไม่ระงับ
ตั้งใจที่จะให้มันเกิดสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นมันเข้าข่ายท้าทาย
ไม่เรียกเป็นการท้าทายสถาบันนะ
แต่มันเป็นการท้าทายระบบหรือระบอบทั้งหมดของประเทศไทย
ซึ่งสิ่งที่น่าห่วงคือในที่สุด
มันอาจจะลงเอยด้วยการสู้กันของระบอบและระบบ
อีกนานกว่าบ้านนี้เมืองนี้จะหาความสงบได้ เพราะคนเป็นอย่างนี้"
เมื่อถามว่า อยากฝากอะไรถึง พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ เพราะ
พ.ต.ท.ทักษิณ เคยบอกว่า ไม่สามารถห้ามการเข้าชื่อถวายฎีกาได้
เพราะเป็นความต้องการของคนเสื้อแดงที่อยากทำให้ตน ดร.เจษฎ์ บอกว่า
คงไม่ฝากอะไรถึง พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงแต่คิดว่า คนที่จงรักภักดีต่อสถาบัน
และปรารถนาดีกับประเทศอย่างแท้จริง
ย่อมมีวิธีการในการแสดงความจงรักภักดีและแสดงความปรารถนาดีนั้น
จึงอยากให้ประชาชนลองมองสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำ และอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณ
ลองมองตัวเองว่า สิ่งที่ตัวเองทำทั้งหมดนี้
ใช่ความจงรักภักดีต่อสถาบันและความปรารถนาดีต่อประเทศชาติหรือไม่?
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000086464
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น