...+

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สุริยุปราคา : เหตุแห่งความกลัว

โดย สามารถ มังสัง


ถ้าเราย้อนไปในยุคที่สังคมมนุษย์ถูกครอบงำด้วยความกลัวต่อสิ่งลี้ลับ
อันเนื่องมาจากไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ
และขาดสติปัญญาในอันที่จะเข้าถึงเหตุอันเป็นบ่อเกิดของสิ่งลี้ลับนั้น
ก็จะพบว่า ผู้คนในยุคนั้นจะยอมจำนนต่อเหตุแห่งความลี้ลับ
และสถาปนาเหตุที่ว่านี้ให้อยู่ในภาวะของเทพเจ้า
และทำการเซ่นไหว้เป็นการเอาอกเอาใจเพื่อมิให้ทำอันตรายตน และคนที่ตนรัก
จึงทำให้เกิดเทพเจ้าประจำสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น เทพเจ้าประจำไฟ
เรียกว่า พระอัคนี และเทพเจ้าประจำฝน เรียกว่า พระพิรุณ เป็นต้น
รวมไปถึงเทพเจ้าประจำดาวเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า พระอาทิตย์ และพระจันทร์

ต่อมาเมื่อมนุษย์มีการศึกษาค้นคว้าในเรื่องความลี้ลับ
โดยเฉพาะความลี้ลับของจักรวาฬ และสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ
ได้อย่างมีเหตุมีผล
ความกลัวที่เคยเป็นต้นเหตุให้มีการเซ่นไหว้เพื่อเอาใจก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการ
บูชาเทพเจ้า อันเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองธรรมชาติในลักษณะของการสำนึกคุณ
เช่น การบูชาแม่น้ำคงคา ด้วยเหตุว่าเป็นแหล่งน้ำในการทำการเกษตร เป็นต้น

การศึกษาและค้นคว้าของมนุษย์มิได้หยุดอยู่แค่ว่าเข้าถึงและอธิบายเหตุแห่ง
การเกิดปรากฏการณ์เท่านั้น
แต่ยังก้าวล่วงไปถึงการคาดการณ์แห่งการเกิดของปรากฏการณ์ต่างๆ
ได้ล่วงหน้าด้วย และการเข้าถึงเหตุแห่งการเกิดของปรากฏการณ์ได้ล่วงหน้า
แต่ของพุทธได้ปฏิวัติตัดแต่งคำสอนให้เข้าใจง่าย
และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นด้วยคำว่า สมมติเทพ เช่น
มารดาและบิดาเป็นพรหมของบุตร โดยมีหน้าที่หรือคุณธรรมประจำ 4 ข้อ คือ
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นต้น

ความเชื่อในเรื่องสุริยุปราคาหรือราหูอมพระอาทิตย์
ถ้าดูจากนัยแห่งการเกิดศาสนาตามที่กล่าวแล้วข้างต้น
ก็น่าจะเกิดจากความสำนึกคุณในพระอาทิตย์ที่ให้แสงสว่างในทำนองเดียวกับ
จันทรุปราคา

ดังนั้น การที่ผู้คนออกมาแสดงพฤติกรรมต่างๆ
ในวันที่เกิดเหตุการณ์ทั้งจันทรุปราคา และสุริยุปราคา
ด้วยการตีเกราะเคาะไม้ แม้กระทั่งยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อไล่ราหูให้ออกไป
ก็น่าจะเกิดด้วยต้องการช่วยพระจันทร์และพระอาทิตย์
ซึ่งผู้คนในยุคนั้นถือว่าเป็นเทพและมีคุณแก่โลกด้วยการให้แสงสว่างให้พ้นจาก
การถูกราหูอมนั่นเอง

ทำไมคนในยุคนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องราหู ทั้งๆ
ที่ได้มีการค้นพบว่าแท้จริงแล้วราหูก็คือเงาของโลกที่ปรากฏบนดวงจันทร์
และเงาของดวงจันทร์ที่ปรากฏบนดวงอาทิตย์
และความเชื่อเช่นนี้ช่วยให้ผู้ที่เชื่อได้เนื้อหาสาระอะไรบ้าง?

เกี่ยวกับเรื่องนี้
ถ้าท่านผู้อ่านพอจะมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์อยู่บ้าง
ก็พอจะรู้ว่าในศาสตร์นี้ถือว่าราหูเป็นบาปพระเคราะห์
คือดาวฝ่ายอกุศลมีอิทธิพลในด้านไม่ดีต่อบุคคลในดวงชะตาที่ราหูอยู่ในเรือน
ให้โทษ กล่าวคือจะทำให้คนคนนั้นเป็นคนมีนิสัยดื้อรั้น โลภ
และงมงายไร้เหตุผลเกินกว่าคนปกติ
แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีดาวพฤหัสบดีเข้ามาถ่วงดุลดาวราหูไว้
ถ้าดาวราหูและดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งถ่วงดุลกัน
จะทำให้คนคนนั้นรุ่งเรือง ประสบความสำเร็จในโลกแห่งโลกียะ

โดยสรุป ราหูไม่ใช่ดาว
แต่เป็นเงาของโลกในกรณีของการเกิดจันทรุปราคา
และเป็นเงาของดวงจันทร์ในกรณีของการเกิดสุริยุปราคา ไม่มีอิทธิพลใดๆ
แก่มวลมนุษย์ในทางตรง
แต่ในแง่ของความเชื่อในด้านโหราศาสตร์ในภาคพยากรณ์ที่อาศัยวิชาสถิติเป็น
เครื่องมือในการพยากรณ์ ก็คงจะนำมาบอกกล่าวอันอาจเกิดขึ้นได้บ้าง
แต่ไม่ใช่การเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากอิทธิพลของดาวราหูที่เข้ามาบดบัง
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในทำนองว่าเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิด

ด้วยเหตุนี้ การที่เกจิอาจารย์ต่างๆ ออกมาทำนายทายทัก
ถ้ามองในแง่สถิติก็อนุมานได้ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้บ้าง
แต่ก็ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างมากก็แค่ 80%

ดังนั้น การที่ใครสักคนบอกว่าราหูให้โทษแก่โลก
และมนุษย์ทั้งโลกในวันที่เกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคาแล้วทำพิธีบูชาราหู
นั้น จึงไม่น่าเชื่อถือในแง่ของตรรกะ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ที่ว่าราหูเป็นเทวดาองค์หนึ่ง
และเป็นเทวดาประเภทเกเรคอยทำร้ายพระจันทร์และพระอาทิตย์
แต่ในความเป็นจริงที่ค้นพบในทางดาราศาสตร์
เงาที่ปรากฏบนดวงจันทร์เป็นเงาของโลก
และที่ปรากฏบนดวงอาทิตย์เป็นเงาของดวงจันทร์

ดังนั้น
ความเชื่อเรื่องราหูตนเดียวคอยทำร้ายทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ในลักษณะเดียวกันคือ บดบังแสงมิให้สว่าง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า อม นั้น
ก็ขัดแย้งกัน ในกรณีของความเป็นราหูที่มีเพียงหนึ่ง
แต่โดยความเป็นจริงคือเงาของดาว 2 ดวงที่เทพเจ้า 2 องค์ในลักษณะเดียวกัน

2. ราหูในความหมายทางโหราศาสตร์
ถ้าดูให้ละเอียดแล้วมิได้ให้โทษถ่ายเดียว
แต่ยังให้คุณในลักษณะช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากเพื่อทำโน่นทำนี่
เพียงจะต้องมีดาวพฤหัสบดีคอยควบคุมให้อยู่ในกรอบแห่งคุณธรรมเท่านั้น

ดังนั้น ราหูในความหมายนี้ไม่ควรจะถูกขับไล่
แต่ควรจะถูกควบคุมให้อยู่ในกรอบ
และไม่ควรที่จะต้องทำพิธีเพื่อเอาใจในลักษณะแห่งความกลัวด้วย
เพราะเพียงกำหนดทิศทางพฤติกรรมของราหูให้แสดงบทบาทในทิศทางที่ควรจะเป็นก็จะ
ได้ประโยชน์จากราหู ในทำนองเดียวกับการคบคนเลว
ด้วยการป้องกันไม่ให้คนเลวทำร้ายคนดี
และจะได้ประโยชน์จากคนเลวมากขึ้นถ้าสามารถใช้คนเลวขจัดคนเลวด้วยกันให้พ้นไป
จากสังคมคนดี

จากนัยแห่งเหตุผลในเชิงตรรกะทั้ง 2 ประเภทนี้
ถ้านำเอามาคิดและประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ก็พอจะได้ประโยชน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมืองที่มีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกัน
เหมือนกับเทพเจ้าในสรวงสวรรค์ที่มีทั้งฝ่ายเทพและฝ่ายมารอยู่ร่วมกัน
พระอินทร์ซึ่งปกครองสวรรค์จะต้องกำหนดบทบาทสองฝ่ายให้อยู่ร่วมกัน
และเกื้อกูลต่อหมู่มนุษย์เท่าที่ควรจะเป็น
เริ่มด้วยการให้เทพฝ่ายดีมีโอกาสปกครองเทพฝ่ายมาร
และใช้เทวดาฝ่ายมารเป็นเครื่องมือในการกำจัดความชั่วร้าย
ทั้งบนสวรรค์และโลกมนุษย์ไปพร้อมกัน

หรือ ถ้าจะพูดให้ชัดก็คือ
เทวดาฝ่ายเทพจะอยู่ได้ยากหากควบคุมเทพเจ้าฝ่ายมารไม่ได้
และปล่อยให้มารมีอิทธิพลครอบงำสวรรค์ และลุกลามมาถึงโลกมนุษย์ด้วยอำเภอใจ
ชนิดไม่กลัวแม้กระทั่งพระอินทร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสวรรค์


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000084814

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น