...+

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547

ใช้ยางให้เต็มประสิทธิภาพ

ในการขับรถตามเส้นทางต่างๆ ยางรถ ยนต์มีบทบาทสำคัญอย่างมาก
การยึดเกาะถนน ทั้งบนทางเรียบ ตรง หรือทางโค้ง ผู้ผลิตจะพยายามให้ยาง
กดตัวอยู่บนพื้นผิวถนนให้มากที่สุด แม้ในยามที่แบกน้ำหนักรถเอาไว้เต็มที


ผู้ขับขี่หลายคน มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ชอบเข้าโค้งด้วยความเร็วมากกว่า
ปกติ ซึ่งแม้ว่า ช่วงล่างของรถคันนั้น จะออกแบบมาดีแค่ไหน ความรับผิด
ชอบก็ยังคงตกอยู่กับยางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผู้ผลิตยางรถยนต์ได้คำนึง
ถึงจุดนี้ไว้แล้ว โดยจะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้รถยนต์สามารถทรงตัวอยู่ได้ใน
ขณะเข้าโค้ง ในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1.เมื่อรถเปลี่ยนทิศทางโดยการเลี้ยวโค้งจะเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
(Centifugal Force) ขึ้น และเพื่อจะต้านแรงเหวี่ยงนี้ ไม่ให้รถลื่นไถลออก
นอกเส้นทาง จึงจำเป็นต้องมีแรง ยึดเหนี่ยวไว้ ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงเสียดทาน
ระหว่างยางกับพื้นถนน โดยเรียกแรงนี้ว่า Cornering Force โดยแรงนี้จะ
เกิดเป็นมุม ฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวรถ

2.Cornering Force และ Cornering Power สำหรับCornering
Force นี้ จะเพิ่ม ตามองศาที่ล้อเลี้ยวไป แต่ในช่วง 1-4 องศา การ
เกิดแรงนี้จะ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่พอเกินจาก 4 องศาไปแล้ว แรงดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น
อย่างช้าๆ ดังนั้น ในการขับรถเข้าโค้ง ควรหักมุมล้อประมาณ 3-5 องศา
เพราะถ้าหักมุมล้อต่ำกว่า 3 องศา หรือเกิน 5 องศา ค่าของ
Cornering Force จะลดลง ซึ่งก็หมายถึงยางมีแรงต้านน้อย ลง โอกาสลื่นไถลก็มีมากขึ้น

3.Cornering Force กับน้ำหนักบรรทุก ความสัมพันธ์นี้สามารถอธิบาย
โดยสรุปได้ว่า ถ้าความดันลมยางคงที่ แต่น้ำหนักยาง (ซึ่งหมาย ถึงน้ำหนัก
บรรทุกทั้งหมด) เพิ่มขึ้น ค่าของ Cor-nering Force จะเพิ่มขึ้นด้วย หรือพูด
ได้ว่า ความสามารถในการเลี้ยวโค้งของรถหนัก จะดีกว่ารถเบานั่นเอง

4.Cornering Force กับความดันลมยาง เมื่อใดก็ตามที่ความดันลมยาง
เพิ่มขึ้น หมาย ถึงความแข็งของยางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งค่าของ Cor-nering Force
จะเพิ่มขึ้นตามความแข็งของยาง แต่ไม่ได้แนะนำให้เติมลมยางมากเกินไป
หากต้องการเพิ่มในการใช้งานปกติ ควรเพิ่มเพียง 0.3-0.8 ก.ก./ตร.ซม.
จากลมยางมาตรฐานเท่านั้น เพราะถ้าเพิ่มสูงกว่านี้ จะทำให้ความสามารถใน
การจับถนนหรือ Road Griping ลดลง เนื่องจากยางจะเต้นจนลอยตัวจาก
พื้นถนน

5.Cornering Force กับความกว้างของกระทะล้อ สำหรับกระทะล้อที่มี
ความกว้างมาก ค่าของ Cornering Force จะมากขึ้นตามไปด้วย แต่ก็เช่น
เดียวกันคือ ไม่แนะนำให้เพิ่มความกว้างของกระทะล้อ ให้มากกว่าขนาด
มาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดเกินกว่า 0.5 นิ้ว เพราะอาจจะทำให้ยางหลุด
จากกระทะล้อได้ ในขณะที่กำลังเข้าโค้งอย่างแรง
จากความสัมพันธ์และปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อ Cornering Force ที่ได้
เขียนมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การบำรุงรักษายางหรือการใช้ยางให้เหมาะ
สมตามมาตรฐาน จะทำให้ประ-สิทธิภาพของยางในขณะเข้าโค้งเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น ถ้ายางรถยนต์อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ หรือหมดสภาพแล้ว ก็ควรที่
จะเปลี่ยนยางชุดใหม่ เพราะผลเสียที่ตามมาหากละเลยในจุดนี้ก็คือ ความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
พูดถึงน้ำหนักบรรทุกมาแล้วก็ขอต่ออีกนิด เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ
ยางกับน้ำหนักบรรทุก ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
การจัดวางน้ำหนัก ปกติแล้วเวลาเราบรรทุกสิ่งของท้ายรถ หรือที่กระบะ
หลัง หลายคนมักจะคำนึงถึงความสะดวกในการขนย้ายสิ่งของ เช่น การวาง
สิ่งของไว้ใกล้กับฝากระโปรง ท้าย ทำให้ยางบางเส้นต้องรับน้ำหนักมากกว่า
เส้นอื่น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่ออายุการใช้งานของยาง โดยยางเส้นที่รับ
น้ำหนักมากกว่าจะสึกหรอเร็วกว่า และเกิดความร้อนมากกว่า มีผลทำให้ยาง
บวม หรืออาจเกิดระเบิดได้ง่าย ผู้ขับขี่ควรคำนึงถึงความสมดุลของ
น้ำหนัก ถ้าบรรทุกของที่หนักที่สุดไว้ ท้ายรถ น้ำหนักก็จะกดลงบนล้อหลังมาก ทำให้ยางล้อหน้า ไม่ได้รับน้ำหนัก
การบังคับพวงมาลัยจะทำได้ยาก และเช่นเดียวกัน หากบรรทุกของหนักไว้
ด้านหน้ามากเกินไป ก็จะทำให้พวงมาลัยหนัก และควบคุมยากอีกเช่นกัน
สำหรับความสามารถในการรับน้ำหนักของยาง จะมีตัวเลขบ่งบอกอยู่
แล้วเป็นรัหส เช่น 82, 86, 91 เป็นต้น โดยเป็นตัวเลข 2 หลักสุด
ท้ายของ ขนาดยาง ส่วนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยาง หากบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป จะ
มีทั้ง
1.อายุยางสั้นลง เนื่องจากยางที่รับน้ำหนัก มากเกินอัตรา จะเกิดความ
ร้อนสูงบริเวณหน้ายาง ทำให้ความต้านทานการสึกหรอของยางลด ลง
อายุ ยางจึงลดลงด้วย โดยมีข้อมูลที่เปรียบเทียบให้ดูว่า หากบรรทุกน้ำหนักเกิน
อัตราประ-มาณ 20% อายุยางจะลดลงเหลือ 70% และหากบรรทุกเกินถึง
100% หรือเท่าตัว จะทำให้อายุยางลดลงเหลือเพียง 25% เท่านั้น

2.ยางเสียหายก่อนกำหนด สภาพการเสียหายที่รุนแรง เช่น ยางบวม
ร่องยางแตก แก้มยางหัก ขอบยางระเบิด เป็นต้น ส่วนมากจะเกิดจากการ
บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราทั้งสิ้น
ผลจากการบรรทุกน้ำหนักเกินอย่างที่ว่ามา
ไม่เฉพาะยางเท่านั้นที่ได้รับความเสียหาย แต่ กระทะล้อและช่วงล่าง เช่น ลูกปืน เพลา สปริง แหนบ
คลัตช์ และอีกหลายจุด ก็จะพลอยสึก หรอเร็วกว่าปกติอีกด้วย วิธีป้องกัน
ง่ายๆ ก็เพียง บรรทุกสิ่งของตามน้ำหนักที่กำหนดเท่านั้น
โดยคุณ : ดาบส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น