++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การตีความตามตัวบท ของมาตรา ๘๘ และ ๘๙

ประเด็นแรก การตีความตามตัวบท ของมาตรา ๘๘ และ ๘๙ ผมเห็นคล้อยไปตามคุณวีรพัฒน์ แต่อย่างไรก็ตาม ผมยังเห็นว่า

๑ "กฏหมายเลือกตั้ง" เป็นเพียงพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญจึงมีศักดิ์ต่ำกว่ากฏหมายรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติมาตรา ๖ "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้"

๒ ผมยังเห็นว่า หากกรณีคะแนน Vote No สูงสุดในเขตเลือกตั้งใด ไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม ต้องถือว่า Vote No ชนะในเขตเลือกตั้งนั้น เพราะถูกต้องชอบธรรมตามหลักการประชาธิปไตยที่ถือเสียงข้างมากเป็นเจตนาของสังคม ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนตามตัวบทในรัฐธรรมนูญมาตรา ๓ "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย"

๓ ดังนั้นประเด็นนี้ ผมเห็นว่าควรว่าต้องให้มีการชี้ขาดโดยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากหลักการและเหตุผลที่กล่าวมา ผมเชื่อตามข้อสรุปว่าในเขตใดที่คะแนน Vote No สูงสุด ต้องถือว่าเจตนาของปวงชนเสียงส่วนใหญ่ในเขตนั้น ไม่ยอมรับผู้สมัครคนใดทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องตัดสินโดยการจัดเลือกตั้งใหม่

ประเด็นที่สอง เนื่องจากความไม่ชอบธรรมหลายประการของการเลือกตั้ง

๑ เห็นด้วยกับการตีความของผู้พิพากษายินดี ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ เพราะเป็นการจัดการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่มีกระบวนการแก้ไขที่ไม่ชอบธรรมตามกฏหมาย

๒ เห็นว่าในทางพฤตินัย ระบบการเลือกตั้งในปัจจุบัน ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม เช่น การซื้อเสียง การสัญญาว่าจะให้ในการหาเสียงเป็นวิธีการผิดกฏหมาย และเป็นเพียงวิธีการในการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ของนักการเมืองบางกลุ่ม จึงถือว่าขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ ดังนั้นการ Vote No ของประชาชน จึงเป็นการต่อต้านการกระทำของนักการเมืองกลุ่มนั้น ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๖๙ อย่างถูกต้องชอบธรรมโดยสันติวิธี
rattawoot

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น