++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551

เคล็ดเลือกเซรามิก


จะซื้อหาเครื่องครัวเซรามิกมา ไว้คู่บ้าน ซื้อมาไว้โชว์ เลือกได้ตามใจ ปรารถนา ของกระเป๋า สตางค์... อย่าเอามาใช้งาน แต่ถ้าจะซื้อไปใช้งานใส่กับข้าวกับปลา ควรเลือกลวดลายสีสันแบบไหน... อาทิตย์ก่อนบอกไปแล้ว

อาทิตย์นี้มาต่อเรื่องที่ค้างไว้ จะเลือกถ้วยชามเซรามิกแบบไหน... ไม่ให้ถูกเขาหลอกต้ม อุตส่าห์จ่ายเงินซื้อของราคาเกรดเอ... แต่ดันได้ของเกรดบีกลับบ้านให้ เจ็บใจ จะได้ของดีสมราคาที่จ่ายไป ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แนะนำทุกครั้งที่ซื้อ...ให้ยกถ้วยชาม ที่เราซื้อคว่ำลงบนพื้นราบเรียบ วางคว่ำบนแผ่นกระจกได้...จะยิ่งดีม้ากค่ะ คว่ำแล้วลองจับเคาะดู จานชามมีอาการโยกเยก มีเสียงดังตามมาเพราะ ปากจานชามประกบกับพื้นราบได้ไม่สนิทหรือเปล่า ประกบไม่สนิท...แสดงว่าปากจานชามเบี้ยวค่ะ แน่นอนค่ะ อาการนี้บอกให้รู้ว่าผลิตได้ไม่ มาตรฐาน ถือเป็นสินค้าเกรดต่ำ เอามาขายราคาเท่าสินค้าเกรดเอ... บ่ได้เด้อ พิจารณาดูแล้วปากจานชามไม่บิดเบี้ยว ขั้นต่อไปให้ดูก้นตรงกลางชามที่เราคว่ำ ดูว่ามันแบนราบเรียบ หรือนูนขึ้นมา ถ้าไม่แบนเรียบ แน่นอนค่ะไม่ได้มาตรฐาน เพราะตอนเอาเข้าเตาเผา เผาไม่ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม เผาแล้วดินยังไม่สุกดี ดินยังไม่แกร่งพอ ก้นจานชามเลยย้อยห้อยตกท้องช้าง เป็นก้นนูนให้เราเห็นยังไงคะ จากนั้นลองสัมผัสผิวจานชามเซรามิก... เรียบลื่น เคลือบผิวดีแค่ไหน ลูบคลำไปแล้ว ผิวจานชามสากมือหรือเปล่า ถ้าสากมือ ดูแล้วมีผิวขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ มีจุดเล็กๆ แบบตามดเต็มไปหมดหรือเปล่า...เจอจานชามลักษณะนี้ ใครจะชอบใจดูว่าคลาสสิก จะซื้อหาไปใช้งานก็ไม่ ว่ากัน แต่ขอบอกให้ รู้...ซื้อไปใช้งานใส่ อาหารไปแล้ว เศษอาหารเข้าไปอุดอยู่ในรูเล็กๆ มีคำถามตามมาว่าคุณสามารถ ล้างจานชามใบนั้นให้ สะอาดได้แค่ไหน ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าตัวเองหมดปัญญา ที่จะเอาปลายเข็มไปงัดเขี่ยเศษอาหาร ออกมาได้... ก็อย่าซื้อมาใช้เป็นอันขาด ซื้อมาทำไมให้เป็นที่สะสมเชื้อโรค จริงมั้ยคะ ก็เพราะอย่างนี้ ดร.ชุติมา ถึงไม่แนะนำให้ซื้อจานชามเซรามิกดินเผาสีอิฐ "เอิร์ธแวร์" มาใช้ใส่อาหาร ก็เซรามิกเอิร์ธแวร์อันสุดเท่เก๋คลาสสิก ที่คนไทยบางกลุ่มกำลังคลั่งไคล้ เอิร์ธแวร์เป็นภาชนะที่มีรูพรุนเล็กๆ ให้เศษอาหารไปจับเกาะอยู่มากมาย ใช้ไปแล้วล้างยังไงก็ไม่สะอาด ถึงเดี๋ยวนี้ผู้ผลิตบางรายจะแก้ปัญหาด้วยการเอาแล็กเกอร์มาทาเคลือบ ให้ดูเรียบลื่นขึ้นมาก็เถอะ เจอน้ำเจออาหารไป แล็กเกอร์จะล่อนหลุดได้หรือเปล่า เชิญพิจารณาเองค่ะ แต่ถ้ารักจะเอาเซรามิกเอิร์ธแวร์มาใส่ อาหารแล้วล่ะก็ ขอแนะนำให้ทำตัวแบบเศรษฐี รับประทานเสร็จแล้วให้ทิ้งเลย...ไม่ต้องเก็บมาล้างเพื่อสะสมเชื้อโรคหรอกค่ะ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น