...+
▼
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
เสวนาจานส้มตำ ๒๕๕๕/๓ - ทีนพลัสสุขภาพดีวิถีไทย 14,17 ก.ย.2555
กลับมาพบกับ เสวนาจานส้มตำ บันทึกบนความแตกต่าง
รายการวิทยุที่ถูกนำมาพูดถึงในครั้งนี้ คือรายการ "ทีนพลัสสุขภาพดีวิถีไทย" ที่ออกอากาศทาง สวท ชลบุรี ทุกวัน 22.10-24.00 น. ซึ่งเป็นประเด็นที่คุยต่อเนื่องมาจาก
"เสวนาจานส้มตำ ๒๕๕๕/๑- แลมองโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว จ.ชลบุรี ครอบครัวอุ่นรัก ปี3" ผู้ร่วมสนทนาเกิดความสนใจอยากฟังรายการของทีมงานของโครงการที่กล่าวถึงในตอน ๒๕๕๕/๑
นายบอน- รายการทีนพลัส จัดตลอด 7 วัน ต่อเนื่องมาเป็นปีแล้ว มีผู้ฟังรายการติดตามรับฟังอย่างต่อเนื่อง มีแฟนคลับประจำรายการแล้วล่ะ
คู่สนทนา1- ฟังช่วงเปิดรายการแล้ว อือม รูปแบบ ไอเดียสร้างสรรค์ดี มีรูปแบบ ประเด็นในแต่ละวันอย่างชัดเจน มีความน่าสนใจ ทำให้อยากติดตามอย่างต่อเนื่อง และสิ่งนึงที่ได้เปรียบคือ การออกอากาศทางคลื่นของกรมประชาสัมพันธ์ เครื่องมือ และช่องทางการประชาสัมพันธ์ครบถ้วน การวางธีม 7 วัน 7 อ เป็นการสร้างพื้นที่ประจำวัน เผยแพร่ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนทำงานได้พัฒนาตนเอง และทีมงานได้ด้วย
คู่สนทนา2- รายการเพื่อสุขภาพหรือ น่าจะเป็นรายการข่าวสุขภาพ เกร็ดความรู้ในแบบวัยรุ่นมากกว่า ถ้าเป็นรายการสุขภาพ ที่เคยฟังมา เอาหมอ ผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุย ตอบคำถามสุขภาพ ให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องโรคต่างๆ แต่แบบทีนพลัส เป็นรายการเล่าข่าวสุขภาพ ที่มีหน่วยงานด้านสุขภาพเป็นผู้สนับสนุนรายการมากกว่า ถ้าคนที่เจ็บป่วย โทรเข้ามาปรึกษาเรื่องการใช้ยา อาการเจ็บป่วย ทีนพลัสคงทำหน้าที่ตรงนั้นไม่ได้
คู่สนทนา1- ถ้าวิชาการมากเกิน ไปวัยรุ่นก็ไม่ฟัง คงไปดูละคร ดูกีฬากันหมด
คู่สนทนา2- ลองค้นข้อมูลฟังตอนเก่าๆ บางตอนก็ทำได้ดี ลงตัว ในการแทรกข่าวสาร สาระด้านสุขภาพเข้ากับเพลง และการพูดคุยทักทายแบบกันเอง แต่หลายตอน ก็ขัดหู ติดขัดอยู่บ้าง
คู่สนทนา1- ฟังไม่เข้าใจเนื้อหาหรือ
คู่สนทนา2-เนื้อหาที่อ่านตามสคริป กับความพยายามที่จะพูดคุย เล่าเนื้อหาในแบบที่เป็นธรรมชาติ แต่บางหัวข้อ เนื้อหายากไป ยาวไป บางครั้ง วิธีการแบบนี้ ทำให้เนื้อหาไม่น่าสนใจ แต่ถ้าย่อความ พูดแต่ประเด็นหลักๆ แล้วสองดีเจ พูดรับส่งกัน แบบนั้นจะเข้าใจง่ายกว่า อันนี้ขึ้นกับเนื้อหาด้วย แต่หลายประเด็น ก็อ่านไปตามเนื้อหา ฟังเข้าใจง่ายดี
คู่สนทนา1- ฟังข้อมูลเปิดรายการ ลักษณะการทำงานแบบเครือข่าย แบบนี้เป็นจุดแข็งนะ ทำให้มีพลัง มีความต่อเนื่อง รายการทีนพลัสจึงอยู่มาได้ยาวนานหลายเดือน
คู่สนทนา2- จุดนั้นดีอยู่แล้ว แต่การที่ได้จัดรายการบ่อยๆ การพูดสาระ ก็ให้มันได้สาระ คือ ต้องครบ ชัดเจน แม้ช่วงเวลาน้อย แต่หลายช่วง อ่านอย่างติดขัดๆ ไม่คล่องปาก ไม่รื่นไหล ฟังเพลิน ในเมื่ออ่านสดๆ ยังยาก แล้วคนฟังจะเข้าใจได้ง่ายหรือ ฟังดูขัดๆ ต่างกับช่วงพูดคุยทักทาย และเปิดเพลง ช่วงนี้ มีชีวิตชีวามาก ทั้งการพูดคุย ทักทาย และเข้าเพลง ถ้าพูดสาระได้ไหลลื่นเหมือนช่วงทักทาย ช่วงเปิดเพลง ตัวรายการนี้จะน่าสนใจมากขึ้น ถ้าพูดไม่เป็นธรรมชาติอย่างนี้ น่าจะให้ดีเจอีกคนมาอ่านข่าวสาระโดยเฉพาะ ให้อ่านออกมาให้ดี ได้สาระไปเลยดีกว่า ส่วนที่จะพูดคุยทักทาย ก็จัดในส่วนนั้นให้เต็มที่ไปเลย
คู่สนทนา1- เค้าก็คงพยายามฝึกตัวเองเหมือนกัน หลายครั้งรีบอ่านเกินไป อ่านผิดบ้าง แต่สาระก็ฟังผ่านๆ สบายๆ รอฟังเพลงเป็นหลัก
คู่สนทนา2- อันนึงที่เป็นจุดที่ควรแก้ไข คือการออกเสียง ร.เรือ มากเกินไป บางคำ เขียนด้วย ล.ลิง แต่อ่านออกเสียง ร.เรือ ถ้าเป็นรายการในวิทยุชุมชนไม่ว่าหรอก แต่นี่วิทยุกรมประชาสัมพันธ์ซะด้วย เมื่อคนจัดรายการออกเสียง ล.ลิง เป็น ร.เรือ วัยรุ่นที่ฟังรายการ ฟังบ่อยๆ ก็จำไปผิดๆ ออกเสียง ร.เรือ ตามกันไป
....บางคำก็อ่านผิดบ่อยๆ คำว่า บทกวี.."บดกะวี" แต่ไปอ่านว่า บท "กระวี" ...
คู่สนทนา1- ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบที่สุดหรอก ยิ่งต้องจัดทุกวัน การพยายามรักษามาตรฐานที่วางไว้ นานไปก็ยากเหมือนกันนะ
คู่สนทนา2- การต้องเตรียมงานตลอด เพราะจัดรายการทุกวัน ก็ควรจะรู้ว่า แบบไหนเหมาะสมกับรายการ เหมาะสมกับผู้จัด มีเทปรายการทีนพลัส 2 ตอน ถ้าดูที่ดีเจผู้จัดรายการ ส่วนนี้ผ่านอยู่แล้ว ความสามารถในการจัดรายการ ลงตัวอยู่แล้ว แต่ข้อสังเกตจากเนื้อหาสองตอน สคริปเนื้อหาวันที่ 14 อ่านได้ลื่นไหล แต่วันที่ 17 เนื้อหาขัดๆ ถ้าเนื้อหาอ่านยากไป ก็จะติดขัดบ้าง การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม ถ่ายทอดออกมาได้ง่าย จะทำให้ผู้จัดรายการพูดได้คล่อง เป็นธรรมชาติ ฟังแล้วลื่นไหล น่าฟัง ถ้าเนื้อหามันอ่านยาก ก็น่าจะปรับสคริปให้เหมาะสม หรือปรับคำในสคริปให้เหมาะสมมากขึ้น
คู่สนทนา1- ฟังละเอียดจริงๆ
คู่สนทนา2- ฟังดีๆ เนื้อหา อารมณ์มันโดดๆ ฟังแล้วไม่รื่นไหล ไม่ทำให้คนฟังจดจ่อในการฟัง นี่ขนาดให้คนฟัง 2-3 รอบ ยังขัดหูกับบทความที่เอามาอ่านวันที่ 17 กย เทียบกับช่วงอ่านข่าว ฟังแล้วโดดไปโดดมา คนอ่านน่ะรู้เรื่องอยู่แล้ว เพราะอ่านตามเนื้อหา ตามตัวหนังสือ ยังไงก็รู้เรื่อง แต่คนฟัง เหมือนจะรู้เรื่อง แต่มันขัดๆ ต่างกับช่วงอ่านข่าว
คู่สนทนา1- วิจารณ์แบบนี้ คนจัดรายการน้อยใจแย่สิ
คู่สนทนา2- อ้าว ถ้าจะไปทำโครงการปี 3ของครอบครัวอุ่นรัก เมื่อคุณจะเป็นเบ้าหลอม พัฒนาดีเจใหม่ ตัวของทีมงานที่ทำโครงการ น่าจะพัฒนาตัวเองไปด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีเช่นกัน ถ้าคิดดี ทำสิ่งที่ดี ก็จะเป็นเบ้าหลอมที่ดีไปเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น