ดูเหมือนจะเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า เมื่อมีใครถามปัญหาเกี่ยวกับกำเนิดของจักรวาลขึ้นในที่ชุมนุมคน
หากในจำนวนคนเหล่านั้นมีชาวพุทธร่วมอยู่ด้วย เขาจะไม่สนใจร่วมอภิปรายปัญหาที่ว่านี้เด็ดขาด
เหตุผลคือปัญหาที่ว่านี้อยู่ห่างไกลตัวเราเหลือเกิน
พุทธศาสนาสนใจเฉพาะเรื่องใกล้ตัว สนใจเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ ในชีวิต
ไม่สนใจเรื่องที่อยู่ห่างตัวหรือเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ ในชีวิต หากเป็นเพียงสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อถกเถียงเอาชนะกันในเชิงสติปัญญาเท่านั้น
ความเข้าใจข้างต้นมีส่วนถูกอยู่มาก
ที่ว่าถูกหมายความว่าในฐานะที่เป็นชาวพุทธเขาย่อมต้องดำเนินชีวิตโดยยึดเอาคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก
มีหลักฐานแสดงเอาไว้ชัดเจนว่า พระพุทธองค์ไม่ทรงสนใจอภิปรายปัญหาที่อยู่ไกลตัวมนุษย์
ปัญหาเหล่านี้ทรงพิจารณาเห็นว่า แม้เราจะทราบคำตอบ แต่เนื่องจากว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน
ดังนั้น มันจึงไม่มีผลกระทบต่อตัวเรา รู้ไม่รู้เรื่องเหล่านี้ชีวิตของเราก็ยังคงดำเนินไปตามปกติได้
อีกประการหนึ่ง ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ไม่อาจตอบได้เด็ดขาดแน่นอนลงไป มีคนพยายามตอบหลายแง่หลายทาง
แต่ทุกคนมีแง่ให้แย้งได้ทั้งสิ้นการที่ไม่ทรงร่วมอภิปรายด้วยอาจเป็นเพราะทรงพิจารณาเห็นดังที่กล่าวมานี้ก็ได้
จะอย่างไรก็ตาม อาจมีชาวพุทธบางคนเห็นว่า หากเรายอมรับว่าสรรพสิ่งในจักรวาลเนื่องสัมพันธ์ถึงกันหมด
ดังนั้น เราย่อมบอกไม่ได้ว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับตัวเรา
การพยายามค้นหาคำตอบเกี่ยวกับความลี้ลับต่างๆ ในจักรวาลอาจไม่ช่วยให้เราดับทุกข์ในชีวิตได้
แต่ปัญหาที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ไม่ได้มีเพียงปัญหาการดับทุกข์ในชีวิตเท่านั้นเรายังต้องเผชิญปัญหาภายนอกตัวเราอีกมากมาย
ขอให้นึกวาดภาพง่ายๆ ก็ได้ว่าหากวันหนึ่งอยู่ๆ ดวงอาทิตย์ที่เคยส่องแสงมายังโลกของเรานี้เกิดดับลง
วันนั้นมนุษย์ทั้งโลกจะเลิกสนใจปัญหาที่ว่าทำอย่างไรจึงจะดับกิเลสภายในใจได้ทันที
สิ่งที่เราสนใจมากที่สุดในเวลานั้น คงไม่ใช่เรื่องการดับทุกข์ หากแต่น่าจะเป็นเรื่องที่ว่าทำอย่างไรเราจึงจะไม่ตายกันทั้งโลกมากกว่า
สมมติฐานที่ว่าวันหนึ่งข้างหน้าดวงอาทิตย์ต้องดับลงแน่นอนนี้อย่างน้อยที่สุดก็มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทฤษฎีหนึ่งสนับสนุนอยู่
หากว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่ทฤษฎีนี้คาดหมายไว้ วันหนึ่งจะเป็นวันที่จักรวาลทั้งหมดตกอยู่ในภาวะหนาวเย็นและมืดสนิท
ไม่มีความร้อน ไม่มีแสงสว่าง ไม่มีชีวิตใดๆ ทั้งสิ้น นั่นย่อมหมายความว่า
คนเราซึ่งเป็นส่วนประกอบเล็กๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาลย่อมจะสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปพร้อมกับชีวิตอื่นๆ ที่มีอยู่
.....
...
..
.
สำหรับผู้อ่านที่เป็นเถรวาท เมื่อได้ฟังคำว่าจิต จิตหนึ่ง ทาง พุทธะ หรือแม้แต่คำว่าธรรมก็ตาม
อย่าได้เข้าใจว่ามีความหมายเหมือนกับที่เข้าใจหรือรู้อยู่เดิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ยินคำพูดของฮวงโปซึ่งผิดไปจากเว่ยหล่างอีกไม่น้อย
ตัวอย่างเช่น คำว่าจิต หรือจิตหนึ่ง หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งมีอยู่ก่อนที่จะเกิดมีจิตตามความหมายที่เรารู้จักกัน
หรือยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ก่อนเกิดมีสิ่งทั้งปวงนั่นเอง ก่อนเกิดมีสังสารวัฎและนิพพานตามความรู้สึกทั่วไป
สิ่งที่เรียกว่าจิตหนึ่งก็มีอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ไม่มีใครทราบ
นี่คือการตีความสิ่งที่ท่านฮวงโปเรียกว่าจิตหนึ่งของท่านพุทธทาส
เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวความคิดในการอธิบายกำเนิดของจักรวาลในรูปกำหนดให้มีอะไรสักอย่างเป็นจุดเริ่มต้น
แล้วให้คำนิยามจุดเริ่มต้นนั้นว่าเป็นสิ่งที่สามารถเกิดมีได้เอง ไม่มีเหตุปัจจัย เป็นสิ่งอยู่เหนือการหยั่งรู้ด้วยสติปัญญาและเหตุผล
เป็นแนวทางหนึ่งที่มีคนใช้ค่อนข้างมาก
เหลาจื๊อเมื่ออธิบายกำเนิดของสรรพสิ่งในจักรวาลก็ได้กำหนดจุดเริ่มต้นอันนหึ่งขึ้นแล้วขนานสิ่งนั้นว่าเต๋า
เต๋าในทัศนะของเหลาจื๊อเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งใดทั้งหมดในจักรวาล
เป็นภาวะที่ละเอียดลึกซึ้ง เป็นปฐมกำเนิดของสรรพสิ่ง
ชาวคริสต์เมื่อธิบายกำเนิดของจักรวาลก็กำหนดให้พระเจ้าเป็นจุดเริ่มต้น
จากนั้นให้คำนิยามแก่พระเจ้าว่าเป็นภาวะที่อยู่เหนือการคาดคำนวณด้วยเหตุผล
วิธีเข้าถึงพระเจ้ามีเพียงวิธีเดียวคือใช้ศรัทธาศาสนาอื่นที่เชื่อในเรื่องพระเจ้าก็มีวิธีอธิบายกำเนิดของจักรวาลในแนวเดียวกันนี้
สรุปความว่า ท่านฮวงโปคิดว่า ไม่ว่าเราจะหยิบยกเอาสิ่งใดก็ตามในจักรวาลนี้ขึ้นมาสาวหาที่มา
เมื่อสาวไปจนถึงที่สุดแล้วจะพบว่าปฐมกำเนิดของสิ่งนั้นก็คือจิตหนึ่งนั่นเอง
บางท่านอาจสงสัยเหตุใดท่านฮวงโปจึงให้ความสนใจเรื่องจิตหนึ่งนี้ เรื่องนี้ไม่เห็นเกี่ยวกับการดับทุกข์เลย
ตอบว่า ในทัศนะของท่านฮวงโป การที่เราทราบว่าสรรพสิ่งถือกำเนิดมาจากสิ่งเดียวกันย่อมช่วยให้เราคลายความยืดมั่นในสิ่งต่างๆ
ได้ความยึดมั่นของคนเรานั้นสืบเนื่องมาจากการมองสิ่งต่างๆ อย่างแยกเป็นคู่กัน
มองว่านี่สวย นั้นน่าเกลียด เมื่อมองเช่นนี้เลยเกิดความยึดมั่น
กล่าวคือ ชอบสิ่งสวยงามและเกลียดสิ่งที่น่าเกลียด
แต่ถ้าเรามองลึกลงไปจนพบว่าทุกสิ่งมีต้นกำเนิดเดียวกัน
ความเข้าใจอันนั้นจะทำให้เราคลายความยึดมั่นลง
เมื่อมองเห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งที่ตนเองเข้าใจว่าสวยงามแท้ที่จริงก็มีสภาวะเดียวกันกับสิ่งที่เราเข้าใจว่าน่าเกลียด
บุคคลย่อมวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง
นอกจากจะช่วยให้เราคลายความยึดมั่นในความเป็นคู่ของสรรพสิ่ง
ความเข้าใจเรื่องจิตหนึ่งนี้ยังเป็นพื้นฐานสำคัยของการเจริญกุศลธรรมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น การเจริญเมตตา ตราบใดที่เรายังเข้าใจว่าตัวเรากับคนอื่นเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันเด็ดขาด
ตราบนั้นการเจริญเมตตาจะยังไม่สำเร็จผล เราจะเมตตาคนอื่นได้อย่างเต็มที่เมื่อเรารู้สึกว่าตัวเรากับคนอื่น
ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์หรือสิ่งที่ชีวิตในรูปใดๆ แท้ที่จริงนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน
เรารักและหวงแหนอวัยวะทุกส่วนในร่างกายของเราเท่าเทียมกัน
ก็เพราะเรามีความรู้สึกว่าอวัยวะเหล่านี้ทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเรา ฉันใดก็ฉันนั้น
หากเรามีความรู้สึกว่าตัวเรากับสรรพสิ่งในจักรวาลเป็นหนึ่งเดียวกันเราย่อมจะมีความระมัดระวังในการวางตัวยิ่งขึ้น
เพราะหากเกิดผลกระทบต่อสิ่งอื่นซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำของเราเอง (เช่น ทำความสกปรกในสวนสาธารณะ)
ผลกระทบนั้นส่วนหนึ่งก็คือผลกระทบที่เราทำให้แก่ตัวเองนั่นเอง ขอให้สังเกตข้อความต่อไปนี้
คนธรรมดาทั่วไปทุกคนพากันปล่อยตัวไปตามความคิดปรุงแต่งซึ่งอาศัยปรากฏารณ์ทั้งหลายที่แวดล้อมอยู่
เพราะฉะนั้นเขาจึงเกิดความรู้สึกที่เป็นความรักและความชัง ถ้าจะขจัดปรากฏการณ์ซึ่งเป็นเครื่องแวดล้อมเหล่านั้นเสีย
เธอก็เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่งของเธอเสีย เมื่อการคิดปรุงแต่หยุดไป
ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เป็น เครื่องแวดล้อมก็กลายเป็นของว่างเปล่า
เมื่อปรากฎการณ์ต่างๆ กลายเป็นของว่างเปล่าความคิดก็สิ้นสุดลง
แต่ถ้าเธอพยายามขจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นโดยไม่ทำให้การคิดปรุงแต่งหยุดไปเสียก่อน
เธอจะไม่ประสบความสำเร็จ กลับมีแต่จะเพิ่มกำลังให้แก่สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นให้รบกวนเธอหนักขึ้น
เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งปวงก็ไม่ได้เป็นอะไรนอกจากจิต คือ จิตซึ่งสัมผัสไม่ได้ทางอายตนะ
เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อะไรเล่าที่เธอหวังว่าอาจจะบรรลุได้
รายละเอียดเพิ่มเิติมอ่านได้ที่
http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?f=6&t=167
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น