...+

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของด้านตะวันออกจันทบุรี-ตราด MOU2544

"เราได้กล่าวถึงความ มักใหญ่ใฝ่สูงของชาติฝรั่งเศสที่ยึดคร่าเอาประเทศเขมรไปนานมาแล้วว่า มันจะลุกล้ำล่วงเกินเข้ามาอีก บัดนี้เหตุการณ์เมืองจันตบูรณ์ก็เกิดขึ้นสมกับคำที่เรากล่าวตักเตือนไว้ ครั้นหันหน้ามามองดูหาคนไทยใจใหญ่พอที่จะคิดร่วมต่อสู้กับฝรั่งเศสแต่สักคน เดียวก็ไม่มี คล้ายกับเกรงกลัวฝรั่งเศสไปทั้งแผ่นดิน เป็นการน่าประหลาด ด้วยเขาเป็นฝ่ายกระทำแก่เราก่อน อุปมาดั่งเราเป็นคนขี้ขลาดตาขาว.. สู้มดแดงตัวเล็ก ๆ ก็มิได้เมื่อช้างมาเหยีบย่ำราวีรังของมันถึงถิ่นเมื่อใด มันก็รวมกำลังกันรุมกัน ถึงมันจะตายก็มิได้ตายเปล่า หรือตายอย่างขี้ขลาดตาขาว เมื่อไม่มีใครสู้แล้ว เราคนเดียวจะขอขัดขวางออกต่อสู้โรมรันไม่ยอมเป็นทาสฝรั่งเศาเป็นอันขาด ไม่ส่าจะเป็นสู้ลำพังตัวต่อตัวหรือให้เรานำกองทัพออกต่อสู้" ต.ว.ส.วรรณาโภ

ประวัติ ศาสตร์แห่งการสูญเสียดินแดน ให้กับการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตก เป็นเหตุการณ์ที่ยังฝังอยู่ในความรู้สึกคนร่วมสมัยจำนวนไม่น้อย โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ไทยต้องสูญเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และดินแดนอื่นๆ ให้กับฝรั่งเศส ที่คุกคามสยามถึงขั้นนำเอาเรือปืนบุกแล่นฝ่าป้อมปืนที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาประชิดถึงตัวพระราชวังได้ และทำให้รัฐบาลสยามต้องยินยอม "เสียดินแดน" บางส่วนไป เพื่อแลกกับเอกราชและอำนาจอธิปไตยของสยามเอาไว้ ดังนี้
๑. ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ เสียพื้นที่ที่เป็นประเทศเขมรส่วนใหญ่ และเกาะ ๖ เกาะ
๒. เสียแคว้นสิบสองจุไทย
๓. เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
๔. เสียฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และตรงข้ามปากเซ
๕. เสียจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ และต้องเสียดินแดนที่เรียกว่าหัวเมืองเงี้ยวและหัวเมืองตะวันออก รวมทั้งรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ และ พ.ศ. ๒๔๕๑
"คนไทยคิดคำนึง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น