...+

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เชื่อมั๊ย

ในท่ามกลางภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่รุนแรงที่สุดในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา นอก จากจะส่งผลถึงการเสียชีวิตของพี่น้องชาวไทยไปแล้วกว่าสามร้อยคน ยังส่งผลถึงสภาวะเศรษฐ กิจของประเทศ ตลอดจนความเชื่อมั่นในการลงทุนของชาวต่างชาติมากน้อยแค่ไหน ก็ยังไม่สา มารถประเมินผลได้
พวกเราได้ข่าวน้ำท่วมมานานแล้วตั้งแต่เเดือนกันยายน 2554 จากสภาวะฝนตกหนัก น้ำเหนือไหลบ่า จนกระทั่งลงมาจากภาคเหนือมาจ่อคอหอยกรุงเทพฯ แล้วก็เอ่อล้นโจมตีกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ในขณะนี้
รัฐบาลได้จัดตั้งศปภ.หรือศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ของท่านประชา พรหมนอกได้จัดตั้งขึ้นมาในระยะเวลาเดียวกันกับนิคมอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศที่จ.อยุธยาได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจนมิด และล่าสุดนิคมอุตสาหกรรมนวนครก็หนีไม่พ้นน้ำท่วมจากภาวะภัยพิบัติคราวนี้ คนว่างงานทั่วของปร ะเทศไม่ใช่แค่สองสามแสนคน แต่นับเป็นจำนวนล้านคน( นับรวมทั้งภาคอุตสาหกรรมการเกษตร )ในขณะนี้ หากภาวะยังมีน้ำท่วมขัง
และที่เรากำลังลุ้นหรือว่ากำลังเฝ้ามองด้วยความหวาดระวังอย่างใจจดใจจ่อว่า น้ำจะท่วมเมืองหลวงของประเทศนี้หรือไม่
ข่าวสารที่สับสนเพราะออกมาจากหลายแหล่งทำให้ความสับสนเกิดขึ้นมากมาย จนไม่รู้ว่าจะเชื่อแหล่งข่าวไหนดี เพราะให้ข้อมูลไปคนละทิศทาง และทุกแหล่งจะพูดคำว่าเชื่อมั๊ยหรือเชื่อผมเถอะ
แต่ที่ดูและฟังข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดในทัศนะของผู้เขียนกลับเป็นของนักวิชาการที่ท่านติดตามภาวะน้ำและประเมินเหตุการณ์ด้วยใจจดจ่อ รวมทั้งออกสนามหรือไปตรวจดูสถานที่เกิดเหตุจริงในแต่ละวัน การคาดการณ์จากการประเมินของท่านก็ออกจะแม่นยำ
แต่ปัญหาของคนไทยในยามนี้ในเขตพื้นที่น้ำท่วมที่สำคัญที่สุดก็คือก็คือจะต้องเอาตัวรอดอย่างมีสติได้อย่างไร เพราะหายนะมันจ่อคอหอยอยู่ต่อหน้า ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายในโภค ทรัพย์และชีวิตของผู้คน
ในนาทีนี้การฝึกจิตจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ให้จิตมันตื่นไม่ใช่ให้จิตตื่นตระหนกตกใจอะไร เพราะหากจิตตื่นตระหนกเเช่นนั้นชีวิตจะมีคุณค่าน้อยลงทันที ให้จิตมันตั้งมั่นได้ มีความระลึกได้รู้ตัวทั่วพร้อม ที่จะทำหน้าที่ในเบื้องหน้าได้อย่างแข็งแรง
และในนาทีนี้อีกเช่นกันที่เราจะได้พิสูจน์เรื่องของกรรมที่่เราทำเอาไว้ ตั้งแต่ชาติก่อนชาตินี้ โดยเฉพาะกรรมในปัจจุบัน หากจิตตั้งมั่นในศีล สมาธิ ปัญญาก็อาจจะเห็นทุกๆเรื่องตามความเป็นจริง
ในบทคำนำของหนังสือชื่อ why หรือทำไมของท่านอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ เขียนไว้ว่า
ไม่ว่าจะเชื่อพระพุทธเจ้า พระเจ้า หรือนักวิทยาศาสตร์ แต่เราไม่สามารถที่จะปฎิเสธได้ว่า ปัจจุบันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ชีวิตเกิดมาเพื่อหาความสุขและหนีความทุกข์โดยตลอด ด้วยพื้นฐานความเชื่อนี้ทำให้มนุษย์เกิดคำถามมากมายระหว่างการเดินทางของชีวิต เช่นทำไมเขาถึงไม่เข้าใจเรา ทำไมเราถึงโชคไม่ไม่ดีเหมือนเขา ทำไมเราทำดีไม่ได้ดีเหมือนเขาฯ
คำถามเหล่านี้มักจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นซ้ำๆกับทุกคน ยิ่งอายุมากขึ้นคำถามที่ไม่เคยได้รับคำตอบเหล่านี้ยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้นตามเวลาของชีวิต หากเราเฉลียวใจกลับมาพิจารณาคำถามเหล่านี้กันให้ดี จะพบว่าจริงๆแล้วคำถามเหล่านี้เราผู้ตั้งคำถาม ไม่ได้สนใจจริงจังที่จะหาคำตอบเท่าใดนัก มันน่าจะจัดหมวดหมู่ของคำตัดพ้อของผู้ที่ผิดหวังกับสิ่งที่ตนอยากได้แล้วไม่ได้ หรือไม่อยากได้แต่ต้องกลับต้องรับในขณะนั้นๆมากกว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้นมนุษย์ส่วนใหญ่จึงหาทางออกจากปัญหาหรือคำถามเหล่านี้ด้วยการดิ้นรน ไขว่คว้า ตามล่าหาความสุขใหม่ๆให้กับตัวเองเพื่อลืมปัญหาที่คับข้องใจเก่าๆที่ตัวเองได้สร้างระ หว่างทาง โดยไม่รับรู้หรือไม่สนใจว่าคำถามที่ค้างคาใจทั้งหลายที่สะสมกันมาตลอดชีวิตนั้น คือ ยอดบัญชีคงค้างที่ต้องรอการชำระสะสางหรือปรับสมดุลย์เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิคมาถึง
จากหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ท่านอาจารย์ชัยสาโร ภิกขุพระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดป่านานา ชาติว่า
นักวิชาการชาวตะวันตกบางคน เคยตำหนิพระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสนาที่มองชีวิตในแง่ร้าย แต่ผู้ใดลงมือปฏิบัติธรรมย่อมเห็นว่าความจริงแล้ว พระพุทธศาสนามองชีวิตของมนุษย์ในแง่ดี มองในแง่สร้างสรรค์ อาจดีกว่าศาสนาอื่นด้วยซ้ำไป คือเราเชื่อในความสามารถของมนุษย์ ศาสนาอื่นนั้นมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับชาติปัจจุบัน หากมองเป็นแค่อารัมภบทก่อนขึ้นสวรรค์นิรันดร หรือตกนรกนิรันดร ไม่เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะพ้นจากความทุกข์ในชาตินี้ แต่ทางพระพุทธศาสนาเห็นว่าชาตินี้สำคัญที่สุดแล้ว
การที่เราเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่เลิศที่ประเสริฐ เพราัะว่าเรามีความสามารถพิเศษบางอย่าง ซึ่งสัตว์ที่เกิดในภพอื่นหรือภูมิอื่นไม่มี คือเรามีความสามารถในการละความชั่ว บำเพ็ญกุศลความดี และการชำระจิตใจ
ชีวิตที่สมบูรณ์ของมนุษย์ ต้องประกอบไปด้วยการกระทำเหล่านี้ ต้องมีการบำเพ็ญ ต้องมีการชำระ ได้มาสัมผัสกับหลักสัจธรรมความจริงและได้ความคิดวิเคราะห์ชีวิตของคนว่า เราเกิดมาทำไมและสิ่งสูงสุดในชีวิตคืออะไรหรือควรจะเป็นอย่างไร
การพิจารณาในเรื่องความเป็นอยู่ของตัวเอง เรื่องคุณภาพชีวิตของคนคือจุดเริ่มต้นของการภาวนา การภาวนาคือการพัฒนาย่อมอาศัยจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ของเราทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้มีแนวทางปรับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับกฎของธรรมชาติ
ความทุกข์คือความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกนึกคิด การพูด และการกระทำของเรากับความจริงของธรรมชาติ ความทุกข์นี้จึงหายไปโดยสิ้นเชิงด้วยพลังปัญญาเท่านั้น
เราไม่สามารถกำจัดความทุกข์นี้ได้ด้วยวิธีการอื่น การอ้อนวอนพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ดี การกลบเกลื่อนความทุกข์ด้วยความัวเมาเพลิดเพลินในความสุขทางเนื้อหนังก็ดี ล้วนเป็นแค่การบรรเทาชั่วคราว เพราะไม่ได้แก้ที่เหตุ
อะไรๆก็เหมือนกัน ไม่ดูก็ไม่เห็น ไม่เห็นก็ไม่เข้าใจ เราไม่ยอมมองด้านในก็ไม่เห็นตัวเอง
ดังนั้นในนาทีนี้เป็นโอกาสที่จะดำเนิการภาวนาไม่ว่าจะเป็นสมถะกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน โดยเจริญศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีสติพร้อมสมบูรณ์อย่างน้อยก็รู้ว่าอริยทรัพย์เป็นสุขแท้ ส่วนโภคทรัพย์ที่เราหวงแหน เกาะเกี่ยวรักษาเอาไว้สละได้แม้กระทั่งชีวิต เป็นความสุขแค่เบาบางหรือจิตถูกหลอกลวงเท่านั้นเอง เชื่อมั๊ย
ธรรมะสวัสดี

หนึ่ง
หมายเหตุจากผู้เขียน ได้คัดลอกข้อความจากหนังสือทำไมของท่านอาจารย์ชัยสาโรและผู้จัดทำโดยไม่ได้ขออนุญาต จึงขออนุญาตครูบาอาจารย์ที่ตรงนี้ หากเดิข้อผิดพลาด ผู้เขียนขอกราบขออภัยในธรรมทานนี้ครับ

ตามหาแก่นธรรมในตอนกว่าสองร้อยนี้ ผู้เขียนคงอยากให้ท่านผู้อ่านตั้งสติและตั้งมั่นในจิต อย่าได้อาลัยอาวรณ์ในทรัพย์ภายนอกยิ่งชีพเลย ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองไทยตอนนี้เพราะเรามัวหลงในทรัพย์มากเกินไป แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมว่าเกิดเป็นคนนี้แสนยาก แล้วมาสละชีพเพื่อวัตถุภายนอกได้เชียวหรือ สมบัติผลัดกันชม ตัดอวัยวะรักษาชีวิต เคยได้ยินบ้างไหม
เวลาจุดเทียนตอนไฟฟ้าถูกตัด โปรดให้แสงเทียนทำให้จิตสว่างด้วยแสงธรรมด้วยนะครับ
สะมะชัยโย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น