...+

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

อิฏฐารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์

เทพยดาทั้งหลายที่ได้มาบังเกิดในชั้นดาวดึงส์นี้ ล้วนแต่เป็นผู้ไดเสวยทิพยสมบัติ อันเป็นผลที่ได้รับมาจากกุสลกรรมในอดีตภพ ฉะนั้น อารมณ์ต่างๆ ที่ได้รับในชั้นดาวดึงส์นี้ จึงล้วนแต่เป็นอารมณ์ที่ดีงามทั้งนั้น เทวดาผู้ชายนั้นมีรูปร่างลักษณะอยู่ในวัยที่มีอายุราว ๒๐ ปี ส่วนเทวดาผู้หญิงก็มีรูปร่างอยู่ในวัยที่มีอายุราว ๑๖ ปีเหมือนกันทุกๆ องค์ ความชราคือ ผมหงอก ฟันหัก ตามัว หูตึง เนื้อหนังเหี่ยวย่น เหล่านี้ไม่มี มีแต่ความสวยงามเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไป


พยาธิ คือความเจ็บไข้ก็ไม่มี อาหารที่เป็นเครื่องอุปโภคก็เป็นชนิดละเอียดเป็นสุธาโภชน์ ด้วยเหตุนี้ภายในร่างกายจึงไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทวดาผู้หญิงก็ไม่มีประจำเดือนและไม่ต้องมีครรภ์ ส่วนภุมมัฏฐเทพธิดาบางองค์นั้น มีประจำเดือนและมีครรภ์ เหมือนกับมนุษย์หญิงธรรมดา

ธรรมดาบุตรและธิดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น จะได้บังเกิดเหมือนมนุษย์นั้นหามิได้ แต่บุตรธิดาเหล่านั้น ย่อมบังเกิดในตักแห่งเทวดาทั้งหลาย ถ้าแลนางฟ้าทั้งหลายจะบังเกิดเป็นบาทบริจาริกา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในที่นอน เทวดาที่เป็น

(หน้าที่ 114)

พนักงานตกแต่งประดับอาภรณ์ วิภูษิต เครื่องทรงเป็นต้นนั้น ย่อมบังเกิดล้อมรอบที่นอน ถ้าจะเป็นไวยาวัจจกรนั้นย่อมบังเกิดขึ้นภายในวิมาน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในลักกปัญหสุตตันตอรรถกถา และมูลปัณณาสอรรถกถาว่า เทวานํ ธีตา จ ปุตฺตา จ องฺเก นิพฺพตฺตนฺติ ปาทปริจาริกา อิตฺถิโย สยเน นิพฺพตฺตนฺติ ตาสํ มณฺฑนปสาธน การิกา เทวตา สยนํ ปริวาเรตฺวา นิพฺพตฺตนฺติ เวยฺยาวจฺจกรา อนฺโตวิมาเน นิพฺพตฺตนฺติ.

เมื่อเทวดาทั้งหลาย ไปบังเกิดขึ้นภายในวิมานของเทวดาองค์หนึ่งองค์ใดแล้ว ย่อมเป็นอันว่าเทวดาหรือนางฟ้าก็ตามที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้น ต้องเป็นบริวารของเทวดาผู้เป็นเจ้าของวิมานนั้นๆ โดยที่เทวดาองค์อื่นๆ จะมาวิวาทแย่งชิงเอาไปไม่ได้เลย ถ้าเทพบุตรก็ดีหรือเทพธิดาก็ดี บังเกิดขึ้นภายนอกระหว่างกลางเขตแดนวิมานต่อวิมานแล้วเทวดาที่เป็นเจ้าของ วิมานนั้น ก็บังเกิดการวิวาทแก่กัน เพื่อแย่งชิงเอาเทวดาทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้นมาเป็นกรรมสิทธิของตน ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่สามารถจะตัดสินใจได้ว่าเทวดาที่บังเกิดขึ้นใหม่นั้นจะ เป็นของใครได้แล้วก็พากันไปสู่สำนักแห่งท้าวสักกเทวราชผู้เป็นอธิบดีใหญ่ กว่าเทวดาทั้งปวง ถ้าวิมานของเทวดาองค์ใดอยู่ใกล้กว่ากัน ท้าวสักกะเทวราชก็พิพากษาให้เป็นของเทวดาองค์นั้น ถ้าเทวดาผู้บังเกิดใหม่ปรากฏขึ้นในที่ท่ามกลางเสมอกันแห่งวิมานของเทวดา ๒ องค์ เทวดาที่บังเกิดใหม่นั้น เล็งแลดูวิมานของเทวดาองค์ใด ท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของเทวดาองค์นั้น ถ้าเทวดาผู้บังเกิดใหม่ มิได้ดูแลซึ่งวิมานหนึ่งวิมานใด แล้วท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของพระองค์เสียเอง เพื่อตัดความวิวาทแห่งเทวดาทั้งหลายเสีย เทวดาบางองค์ก็มีนางฟ้าเป็นบาทบริจากา ๕๐๐ บ้าง ๗๐๐ บ้าง ๑๐๐๐ บ้าง เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เทวดาที่ไม่มีวิมานอยู่โดยเฉพาะของตนก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก และในเทวโลกนี้ก็เป็นไปคล้ายๆกับในมนุษยโลกคือมีการทะเลาะวิวาทกัน และมีผู้พิพากษาตัดสินความเช่นกัน

เทพบุตรและเทพธิดาที่อยู่ในเทวโลกนี้ ก็มีการไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับมนุษยโลก จะพึงรู้ได้จากเรื่องเทพบุตรที่เป็นนักเล่นดนตรีองค์หนึ่งชื่อว่าปัญจสิขะ เทพบุตรองค์นี้ ชำนาญในการดีดพิณที่มีชื่อว่าเพลุวะ และชำนาญในการ

(หน้าที่ 115)

ขับร้องมีความรักใคร่ในสูริยวัจฉสาเทพธิดา ซึ่งเป็นธิดาของเทวดาผู้ใหญ่องค์หนึ่งชื่อว่าติมพรุเทพบุตร

วันหนึ่ง ปัญจสิขะเทพบุตรได้ไปหาสูริยวัจฉสาเทพธิดา และได้ติดพิณขับร้องมีใจความว่า

ยํ เม อตฺถิ กตํ ปุญฺญํ อรหนฺเตสุ ตาทิสุ
ตํ เม สพฺพงฺคกลฺยาณิ ตยา สทฺธึ วิปจฺจตํ.

แปลความว่า แน่ะ นางที่มีเรือนร่างที่งดงาม กุศลใดๆ
ที่ข้าพเจ้าได้เคยสร้างสมมาแล้วต่อพระอรหันต์ที่มีคุณต่างๆ
ขอกุศลนั้นๆ จงเป็นผลสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และแม่นางทุก
ประการเทอญ

แต่เทพธิดาสุรนวัจฉสานั้น ได้รักใคร่กันกับสิขันติเทพบุตร ซึ่งเป็นบุตรของมาตุลีเทพบุตร เมื่อทั้ง ๒ ฝ่ายมีความรักไม่ตรงกันเช่นนี้ ท้าวโลกีย์เทวราชทรงพิจารณาเห็นว่า ปัญจสิขเทพบุตรเป็นผู้มีความดีความชอบ และทำคุณประโยชน์ ให้แก่พระองค์มาก จึงตัดสินพระทัยยกสูริยวัจฉสาเทพให้แก่ปัญจสิขเทพบุตร

เทพธิดาบางองค์มีวิมานอยู่โดยเฉพาะๆ ของตนแล้วแต่ยังขาดคู่ครอง ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของตน ไม่มีความเบิกบานและร่าเริงเหมือนกับเทพธิดาที่มีคู่ครองทั้งหลาย ส่วนเทพธิดาที่มีคู่ครอง ต่างก็ชวนกันไปแสวงหาความสุขสำราญในสถานทั้ง ๔ แห่ง พร้อมด้วยบริวารของตน

อนึ่ง บริวาร วิมาน และรูปารมณ์ต่างๆ อันเป็นสมบัติของเทพยดาทั้งหลายนั้น มีความสวยงามยิ่งหย่อนกว่ากันและกัน แล้วแต่กุศลกรรมที่ตนได้สร้างสมไว้ ฉะนั้น รัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายและอาภรณ์ภูษาที่เป็นเครื่องประดับเครื่องทรงของ เทพบุตรเละเทพธิดาทั้งหลาย พร้อมทั้งวิมานอันเป็นที่อยู่ของตนๆนั้น บางองค์ก็มีรัศมีสว่าง ๑๒ โยชน์ ถ้าองค์ใดมีบุญมาก ก็มีรัศมีสว่างถึง ๑๐๐ โยชน์ ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกายมหาวรรคว่า

ที่มา ปรมัตถโชติกะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น