...+

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

"เมื่อจิตนิ่งคราใด...กายก็สุขครานั้น..."

"เมื่อจิตนิ่งคราใด...กายก็สุขครานั้น..."
(หมายถึง จิตที่ไร้การปรุงเติมแต่ง ซึ่งส่งผลให้กายผ่อนคลาย..อธิบายไม่ได้แต่สุข)

ความสุข "ทางกาย" เกิดมาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการค้นคว้า ทดลอง
โดยอิงกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ มองเห็นด้วย “ตาเนื้อ”

ความ สุข "ทางใจ" เกิดมาจากความรู้ทางพุทธศาสตร์ ที่คิดค้น ทดลอง ที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติเสมอภาคกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นความรู้ลึกซึ้งมาก สามารถรับรู้ได้ทาง
“ตาใน” และเป็น “ปัจจัตตัง” (รู้ได้เฉพาะตน)

ความสุขทั้งทางกาย และ ทางใจ ต่างแตกต่างกันด้วย "ความลึกซึ้งของความสุข..."
ความสุขทางกายนั้น...เป็นความสุขเพียงชั่วครั้ง...ชั่วคราว สนองความทะยานอยากชั่วครู่
เมื่อเวลาผ่าน..สุขนั้นก็ลดลง..ลดลง เช่น เมื่อร้อนก็เปิดแอร์-เปิดพัดลม...เมื่อเวลาผ่านไป จากร้อนเป็นหนาว...

ส่วน ความสุขทางใจ เป็นความสุข...ที่สุขลึกซึ้ง ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อ แต่รับรู้ได้ตลอดเวลายามใดนึกถึง หรือคิดถึง เช่นการปฏิบัติสมาธิ หรือการทำบุญ ซึ่งเป็นความสุขลึก
ที่เกิดขึ้นภายในใจ ส่งผลให้กายสุขไปกับใจ...โดยสุขไม่รู้สึกตัว

ฉะนั้น วันนี้...วันพระ...
อีกสักหนึ่งวัน...เธอ เธอ และเธอทั้งหลาย “หาเวลา...ในเวลาที่มีอยู่” สัก ๕-๑๐ นาที
แล้วแต่สะดวกนะเธอ มาอยู่กับปัจจุบัน เฝ้าดูอยู่กับตัวเอง ไม่ต้องเฝ้าดูผู้อื่น เฝ้าแต่ค้นหา
ความ ”สุขทางใจ” เพื่อให้ กายแข็งแรง โดยรู้ลมหายใจเข้า-ออก คิดค้น ทดลองให้จิตนิ่งๆ
ไม่ทะยานยาก หยุดการปรุงแต่งจิต (สักนิดก็ยังดี) เมื่อรู้สึกผ่อนคลาย..รู้สึกเงียบภายใน...
รู้สึกสงบ...รู้สึกไม่ทะยานยาก...ความคิดช้าลง...สติก็เกิด...ปัญญาก็เกิด...
การปฏิบัติงานทั้งหลาย ทั้งปวงเริ่มคล่องตัวดีขึ้น สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมองสวยงามขึ้น..

ใจเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับกาย..เมื่อใดที่กายและใจเป็นหนึ่งเดียวกัน เราจะรู้สึกได้ถึง...ความลึกซื้งของความสุข...

นี่คือ "...เมื่อจิตนี่งคราใด...กายก็สุขครานั้น..."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น