...+

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โหวตโนสำคัญเทียบเท่าปฏิวัติรัฐประหาร แต่ก็จะเสียของอีก โดย สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์

ประเทศไทยจะมาโดยการเลือกตั้ง หรือโดยการปฏิวัติรัฐประหาร ก็ไม่มีความแตกต่างกัน ฝ่ายปฏิวัติรัฐประหารพบว่า รัฐบาลที่มาโดยการเลือกตั้ง ล้มเหลวในการบริหารจัดการประเทศ คอร์รัปชั่นท่วมประเทศ เงินเฟ้อสูง ชาวบ้านทั่วประเทศเดือดร้อน ฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้ง ก็กล่าวหาฝ่ายที่ทำปฏิวัติรัฐประหารในประโยคเดียวกัน อยู่ที่ฝ่ายใดจะประดิดประดอยโวหาร หาความนิยมให้ฝ่ายตนเอง ได้เด่นกว่ากัน

การปฏิวัติเป็นเรื่องที่น่าจะนำความเจริญมั่นคงมาให้ระบบได้ แต่ทำไปแล้วสรุปไม่ลงว่าเป็นการปฏิวัติ กลายเป็นเรื่องของรัฐประหาร ได้อำนาจเป็นของฝ่ายตนไป การเลือกตั้งที่มาตามครรลองของกฎหมาย ทำให้ได้อำนาจของกลุ่มบุคคล ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเจริญแก่ประเทศเช่นกัน นำความเสื่อม ความล่มจม ความเดือดร้อนมาสู่ประเทศชาติประชาชนเช่นกัน ประชาธิปไตยหลังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 79 ปี มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ สรุปได้ว่าไม่มีอะไรดีขึ้น

ประเทศไทยไม่มีทางออก ไม่มีตัวเลือก ไม่รู้จะไปเลือกใคร หรือเลือกอะไร

อะไรคือปัญหา จะหาทางออกได้อย่างไร

http://www.mixpod.com/playlist/79890367 ปัญหาคือ รัฐบาลเป็นของนายทุน เป็นของกลุ่มผลประโยชน์ “เป็นเรื่องจริง” ตามที่ พระรักเกียรติ รักขิตะธัมโม เทศน์ ประเทศไทยังไม่มีรัฐบาลที่เป็นของประชาชน เมื่อรัฐบาลเป็นของนายทุน เป็นของกลุ่มผลประโยชน์ ก็จะจัดสรรผลประโยชน์ให้นายทุนและกลุ่มผลประโยชน์ แม้พระรักเกียรติไม่เทศน์ ก็เป็นที่รู้กันว่ารูปแบบทางการเมืองก็เป็นของนายห้างของนายทุนและของกลุ่มผลประโยชน์ การเมืองจึงเป็นอาชีพที่ใฝ่ฝันของคนที่จะมาหาประโยชน์ส่วนตนอย่างมีนัยสำคัญ เป็นนักการเมืองแล้ว มั่งคั่ง มีอำนาจ แม้ทำผิดก็ยังได้รับความคุ้มครอง ผู้เขียนเข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาหลักทางการเมืองของประเทศ ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาในเรื่องนี้

คนไทยลืมง่าย เวลาช่วงข้ามคืนก็ลืม ว่าผู้บริหารก่อเรื่องอะไรไว้บ้าง การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ก็จะซ้ำรอยการเมืองน้ำเน่าที่เป็นมาโดยตลอด นักการเมืองเป็นเซเลบ (Celebrity) เหมือนดาราภาพยนตร์ ดารากีฬา ซึ่งเป็นอาชีพอบาย ความชอบ-ไม่ชอบ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกมากกว่าชอบและและไม่ชอบตามเหตุและผล ใครชอบฝ่ายไหนก็สร้างวาทกรรมมาสนับสนุนฝ่ายนั้น

ที่ผู้เขียนนำเสนอมาแต่ต้น ไม่ได้ให้ความสำคัญ ว่าเป็นเรื่องตามกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามกฎหมาย 'กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์' พระบิดากฎหมายไทยกล่าวไว้ “กฎหมายนั้นชั่วและอยุติธรรมได้ ความคิดว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรยุติธรรม อะไรไม่ยุติธรรม มีบ่อที่เกิดขึ้นหลายแห่ง เช่น ศาสนาต่างๆ” ซึ่งเป็นที่มาของการออกแบบการเมืองทางเลือกนี้ http://t.co/IkrWL4m

ผู้เขียน จำแนกระบอบประชาธิปไตยออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) ระบอบประชาธิปไตยวิถีทุน คือระบอบอุดมกิเลส มีการแข่งขันชิงดี เอารัดเอาเปรียบ อำมหิต โหดร้าย ทารุณ แม้กระทั่งเอาชาติไปขายก็ไม่เว้น เพื่อความมั่งแห่งตน อบายมุขในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้น นำความเสื่อมและความแตกแยกมาสู่ประเทศชาติประชาชนตลอดเวลา ทำให้ทรัพยากรของระบบเสียหาย ทำให้ระบบยากจนลง 2) ระบอบประชาธิปไตยวิถีพุทธ คือระบอบที่พยายามลดละกิเลส ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบกัน คิดแต่จะให้ ทำให้เกิดความเจริญร่มเย็น ไม่เกิดความแตกแยกกับระบบ ทรัพยากรของระบบไม่เสียหาย มีแต่เพิ่มพูนขึ้น ทำให้ระบบมั่งคั่งขึ้น

ที่ผ่านมาเมื่อมีปัญหา สังคมเรียกร้องให้มีการปฏิวัติ หลังการปฏิวัติก็ได้กลุ่มศักดินาและกลุ่มผลประโยชน์มาร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้ได้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยวิถีทุนเหมือนเดิม ปัญหาความเลวร้ายของประเทศไทยก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม

มาครั้งนี้มีการรณรงค์เรื่องการโหวตโน ทั้งในเฟซบุ๊คและเวทีพันธมิตรฯ ได้ใช้เวลาในการเรียกร้องการโหวตโนอย่างมาก แต่ไม่ได้ใช้เวลานำเสนอถึงรูปแบบการปฏิรูปประชาธิปไตยที่ดีที่ต้องการ ดูไปแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับการเรียกร้องปฏิวัติรัฐประหารในหลายครั้งที่ผ่านมา เรื่องการโหวตโนครั้งนี้ สมมติว่าได้รับชัยชนะ และมีโอกาสที่จะปฏิรูปทางการเมืองอีก ก็คงจะเข้าสู่วงจรน้ำเน่าในการปฏิรูปการเมืองอีก ก็เสียของอีก

http://twitter.com/indexthai
indexthai@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น