...+

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทสวดมนต์ระงับเหตุร้าย เหมาะกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน

พระปริตร

พระปริตร แปลว่าเครื่องคุ้มครอง บางทีเรียกบทสวดมนต์สิบสองตำนาน
มีทั้งสิ้น ๑๒ บทคือ

1. เมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร อานิสงส์ ทำให้นอนหลับเป็นสุข
ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป
เป็นที่รักของอมนุษย์ เทวดาย่อมรักษา ไฟ ยาพิษ
หรือศาตราวุธทำอันตรายไม่ได้ ทำสมาธิจิตสงบตั้งมั่นได้เร็ว
มีสีหน้าผ่องใส ไม่หลงลืมสติก่อนสิ้นลม เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษ
ย่อมได้ไปเกิดในพรหมโลก หน้า ๔
2. ขันธปริตร อานิสงส์ ป้องกันภัยจากเหล่าอสรพิษ และพวกสัตว์ร้ายต่าง หน้า ๖
3. โมรปริตร อานิสงส์ ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย หน้า ๘
4. อาฏานาฏิยปริตร อานิสงส์ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี
และมีความสุข หน้า ๙
5. โพชฌังคปริตร อานิสงส์ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน
และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง หน้า ๑๑
6. ชัยปริตร อานิสงส์ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี หน้า ๑๓
7. รัตนปริตร อานิสงส์ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรค อันตราย
หน้า ๑๕
8. วัฏฏกปริตร อานิสงส์ทำให้พ้นจากอัคคีภัย หน้า ๑๙
9. มังคลปริตร อานิสงส์ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย หน้า ๒๐
10. ธชัคคปริตร อานิสงส์ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย การตกจากที่สูง หน้า ๒๓
11. อังคุลิมาลปริตร อานิสงส์ทำให้คลอดลูกง่าย
และป้องกันอุปสรรคอันตราย หน้า ๓๐

๑๒.อภยปริตร อานิสงส์ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย หน้า ๓๑


บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิฯ(กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิฯ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิฯ (กราบ)

อาราธนาศีล 5

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (นะโม 3 จบ)
มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ปาณา ติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
อทินนา ทาณา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
กาเม สุมิฉา จารา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
มุสา วาทา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
สุรา เมระยะ มัชชะ ปะณา ทัดทานา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ

อิมินา ปัญจะสิกขา สมาธิยามิ
อิมินา ปัญจะสิกขา สมาธิยามิ
อิมินา ปัญจะสิกขา สมาธิยามิ

ถวายพรพระ(อิติปิโสฯ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า ๓ จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

วิชชาจะระณะสัมปันโน

สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ


เมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร

๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ ก็คือ
เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง

๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว,
ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย

๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า
ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด

๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม
เป็นสัตว์-มีลำตัวยาวหรือ ลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง
หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม

๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว
หรือ กำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด

๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ
ไม่ควรมุ่งร้ายต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน

๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้
ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิต ฉันนั้น

๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู
อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ

๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน
ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร
(การอยู่อย่างประเสริฐ)

๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ

ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ
ขจัดความใคร่ ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้

(คำแปลของ ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต)


ขันธปริตร

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย
เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลเอราบทด้วย
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย
เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญางูทั้งหลายสกุลกัณหาโคตมกะด้วย
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีเท้าด้วย
เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสองเท้าด้วย
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีสี่เท้าด้วย
เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีหลายเท้าด้วย
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์สองเท้าอย่าเบียดเบียนเรา
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัตว์สี่เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์หลายเท้า อย่าเบียดเบียนเรา
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
ขอสรรพสัตว์ที่มีชีวิต ทั้งหลาย ที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย


สัพ เพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด โทษลามกใดๆ อย่าได้มาถึงแล้ว
แก่สัตว์เหล่านั้น
อัป ปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม
พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ พระธรรม ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ
อัปปะมาโณ สังโฆ
พระสงฆ์ ทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา
สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก หนู
เหล่านี้ ล้วนมีประมาณ (ไม่มากเหมือนพระรัตนตรัย)
กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
ความรักษา อันเรากระทำแล้ว การป้องกัน อันเรากระทำแล้ว
ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
หมู่สัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสีย
โสหัง นะโม ภะคะวะโต
เรานั้น กระทำนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่
นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
กระทำนอบน้อม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจ็ดพระองค์อยู่ ฯ

โมรปริตร ว่าด้วยคาถาของนกยูงทอง

๑. อุเทตะยัญจักขุมา เอกราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

พระอาทิตย์ เป็นดวงตาของโลก ป็นเอกราชา มีสีดั่งสีทอง
ยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา เพราะเหตุนั้น
ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีดั่งสีทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง
ข้าพเจ้าทั้งหลายอันท่านปกครอง แล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน
๒. เย พรัห์มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง มะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงเวทในธรรมทั้งปวง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น
จงรับความนอบน้อมของข้าฯ
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาข้าพเจ้า ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่ผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
นกยูงนั้นได้กระทำพระปริตรบทนี้ แล้ว จึงเที่ยวไปเพื่อแสวงหาอาหาร
๓ . อะเปตะยัญจักขุมา เอกราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

พระอาทิตย์ เป็นดวงตาของโลก ป็นเอกราชา มีสีดั่งสีทอง
ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ย่อมอัสดงคตไป เพราะเหตุนั้น
ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้นซึ่งมีสี ดั่งสีทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง
ข้าพเจ้าทั้งหลายอันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน
๔ . เย พรัห์มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะ มัตถุ พุทธานัง มะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงเวทในธรรมทั้งปวง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น
จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาข้าพเจ้า ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแด่ผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
นกยูงนั้นได้กระทำพระปริตรบทนี้ แล้ว จึงสำเร็จความอยู่แลฯ

อาฏานาฏิยปริตร

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีพระปัญญาจักษุ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ
สิ ขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระสิขีพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีพระทัยอนุเคราะห์ ต่อสัตว์ทั้งปวง
เวสสะ ภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีกิเลสอันชำระแล้วผู้ทรงมีตบะธรรม
นะ มัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้ทรงย่ำยีเสียซึ่งมารและเหล่าเสนาทั้งหลาย
โก นาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะวุสีมะโต
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้ทรงลอยบาปเสียแล้ว
ผู้ทรงมีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้ทรงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นโอรสแห่งศากยราช ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมนี้
อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง
เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
อนึ่ง แม้ชนเหล่าใดก็ดี ที่ดับกิเลสได้แล้วในโลก เห็นแจ้งตามความเป็นจริง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความส่อเสียด เป็นผู้ทรงความเป็นใหญ่
ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันนอบน้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร ผู้ทรงเกื้อกูลแก่มนษย์และเทวดาทั้งหลาย
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะ
ผู้ทรงความเป็นใหญ่เป็นผู้ปรศจากความครั่นคร้ามแล้ว
วิชชาจะระณะ สัมปันนัง วันทามะ โคตะมันติ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงเป็นโคตมโคตรผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ


โพชฌังคปริตร

โพชฌังโค สะติสังขาโต, ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
วิริยัมปิติ ปัสสัทธิ, โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัตเตเต สัพพะทัสสินา, มุนินา สัมมะทักขาตา
๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมะอันพระมุนีเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว
ภาวิตา พะหุลีกะตา
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
สังวัตตันติ อะภิญญายะ, นิพพานายะ จะ โพธิยา
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ, โมคคัลานัญจะ กัสสะปัง, คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และ
พระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองนั้น
ชื่นชมยินดียิง ซึ่งโพชฌงคธรรมนั้น
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

ก็หายโรคได้ในบัดดล

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ, เคลัญเญ นาภิปีฬิโต
ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง(พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ, ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้น นั่นแล ถวายโดยเคารพ
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา, ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีท่าน ตลอดกาลทุกมื่อ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา, ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
ก็อาพาธทั้งหลายนั้นของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น
หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
มัคคาหะตะกิเลสาวะ, ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้วถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.


ชัยปริตร

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง

พระพุทธเจ้าเป็นผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ทรงประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา

ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

บำเพ็ญบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
เป็นผู้ถึงความตรัสรู้ชอบอันสูงสุด

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านเถิด ฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน

ขอท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนต้นโพธิ์

เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

แล้วถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก

อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร

ทรงบันเทิงพระทัยอยู่บนบัลลังก์ที่มารไม่อาจจะผจญได้ เป็นจอมมหาปฐพี

อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ

ทรงเพิ่มพูนความดี แก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้น เทอญ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

เวลาที่บุคคลและสัตว์ประพฤติดีประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งแจ้งดี

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจารีสุ

และขณะดี ครู่ยามดี ชื่อว่าบูชาดีแล้วในผู้ประพฤติอย่างประเสริฐทั้งหลาย

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

กายกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด วจีกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด

ปะทักขิณัง มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา

มโนกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ความปรารถนาอันตั้งไว้เพื่อสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุด

ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
บุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด
ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นมงคลสูงสุดแล ฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา

ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน
ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน

สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีจงทีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา

ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน
ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน

สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีจงทีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา

ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน
ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน

สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีจงทีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ


รัตนปริตร

1. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง.
ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย
ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ทั้งหมด จงเป็นผู้เบิกบานใจ
รับฟังถ้อยคำด้วยความเคารพเถิด
๒. ตัสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสฺมา หิ เน รักขะถะ อัปปะ มัตตา.
ดังนั้น ขอเทวดาทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า จงมีเมตตาจิตในหมู่มนุษย์
เพราะเขาเซ่นพลีกรรมทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านจงอย่าประมาท
คุ้มครองพวกเขาด้วยเถิด
๓. ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
ทรัพย์ในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันประณีตในสวรรค์
มีสิ่งใดที่จะเสมอกับพระตถาคตนั้นไม่มีเลย
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๔. ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักฺยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พระศากยมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่น
ทรงบรรลุธรรมอันสิ้นกิเลสปราศจากราคะ ไม่ตาย และประณีต
มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยพระธรรมนั้นไม่มีเลย
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๕. ยัง พุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงสรรเสริญสมาธิอันผ่องแผ้ว
นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญสมาธิอันประเสริฐที่ให้ผลทันที
มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยสมาธินั้นไม่มีเลย
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี.
๖. เย ปุคคะลา อัฎฐะ สะตัง ปะสัตถา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พระสาวกของพระสุคตเจ้า ผู้เป็นพระอริยบุคคล ๘ จำพวก อันแบ่งเป็น ๔
คู่ ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน
ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลเหล่านั้นมีผลมาก
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยวาจาสัจนี้
ขอจงมีความสวัสดี
๗. เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญเพียรด้วยจิตอันเข้มแข็งในพระศาสนาของพระโคดม
เป็นผู้ปราศจากกิเลส ผู้เข้าถึงอมตธรรม ผู้บรรลุพระนิพพาน
และผู้เสวยสันติสุข ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์
ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี
๘. ยะถินทะขีโล ปะฐะวิสสิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พระตถาคตตรัสเปรียบสัตบุรุษผู้เห็นแจ้ง
เข้าถึงพระอริยสัจสี่ว่าเหมือนกับเสาใหญ่ปักลงดิน
อันไม่ไหวติงเพราะแรงลมทั้งสี่ด้าน
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๙. เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัง ปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
บุคคลเหล่าใดเจริญอริยสัจสี่
ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระปัญญาอันลึกซึ้งตรัสไว้ดีแล้ว
แม้ว่าท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้หลงเพลินอย่างมากอยู่
แต่ท่านก็จะไม่เกิดในชาติที่แปดอีก
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๑๐. สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ.
ท่านเหล่านั้นคือพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์ ๓ ประการ ได้แก่
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ละกิเลสอื่นๆ
ได้ในขณะที่เห็นธรรม
๑๑. จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉัจจาภิฐานานิ อะภัพพะ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ไม่กระทำกรรมอันไม่สมควร
๖ ประการ [คือ อนันตริยกรรม ๕ และการนับถือศาสนาอื่น]
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๑๒. กิญจาปิ โส กัมมะ กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจา อุทะ เจตะสา วา
อะภัพพะ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา อิทัมปิ
สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
แม้ท่านเหล่านั้นยังทำความผิดด้วยกาย วาจา หรือใจ อยู่บ้างก็ตาม
แต่ท่านก็ไม่ปกปิดความผิดนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ผู้เห็นพระนิพพานเป็นผู้ไม่ปกปิดความผิด
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๑๓. วะนัปปะคุมเพ ยะถะ ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสฺมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พุ่มไม้ในป่าที่แตกยอดอ่อนในเดือนต้นแห่งคิมหันตฤดู มีความงามฉันใด
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพานเพื่อประโยชน์สูงสุด มีความงาม
ฉันนั้น ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๑๔. วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้แจ้งพระนิพพานอันเลิศ
ทรงประทานธรรมอันยอดเยี่ยม ทรงแนะนำข้อปฏิบัติที่ดี
พระองค์ผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงแสดงธรรมอันสูงสุดแล้ว
ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้
ขอจงมีความสวัสดี
๑๕. ขีณัง ปุราณัง นะวะ นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสฺมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรูฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัง ปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
พระอรหันต์ผู้สิ้นเชื้อแล้ว ไม่ยินดีภพอีก มีจิตหน่ายภพเบื้องหน้า
สิ้นกรรมเก่า ปราศจากกรรมใหม่ที่จะส่งไปเกิดอีก ท่านเหล่านั้นเป็นปราชญ์
ดับสิ้นไปเหมือนประทีปดวงนี้ ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์
ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี
๑๖. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.
ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้
จงร่วมกันนมัสการพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปอย่างงาม
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี
๑๗. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.
ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้
จงร่วมกันนมัสการพระธรรมอันเป็นไปอย่างงาม
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี
๑๘. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.
ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้
จงร่วมกันนมัสการพระสงฆ์ผู้ดำเนินไปอย่างงาม
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี

วัฏฏกปริตร

อัตถิ โลเก สีละคุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา

เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง

อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน

สัจจะพะละมะวัสสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง

สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา

มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะเวทะ ปะฏิกกะมะ

สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี

วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี

สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ

คุณของศีลมีอยู่ คุณของธรรมมีอยู่ คุณของสัจจะวาจานี้ก็มีอยู่จริง
ปีกทั้งสองข้างเรามีอยู่ แต่ยังบินไม่ได้ เท้าเราทั้งสองข้างมีอยู่
แต่ยังเดินไม่ได้ บิดามารดาทั้งสองเรามีอยู่ แต่บัดนี้มิได้อยู่กับเรา
นี้เป็นสัจจะวาจาของเรา ไฟป่าที่ไม่มีชีวิตเอ๋ย ด้วยเดชแห่งสัจจะวาจานี้
ขอไฟป่าจงดับไป

มังคลปริตร

เอวัม เม สุตัง
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วดังนี้ (ข้าพเจ้าในที่นี้หมายถึงพระอานนท์)
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตะวัน
อารามของอนาถบิณฑกิเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา
เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
ครั้งนั้นแล, เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงแล้ว เทวดาตนหนึ่งทรงรัศมีงามยิ่ง
ทำพระเช ตะวันโดยรอบทั้งหมดให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ
เมื่อถึง ที่ประทับ ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วยืนอยู่ข้างหนึ่ง
เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ครั้นแล้วเทวดาได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ
มังคะละมุตตะมัง
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก มุ่งคิดหามงคลเพื่อความสวัสดีอยู่
ขอพระองค์จงตรัสสิ่งที่เป็นมงคลอัน ประเสริฐเถิด
( พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า )
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
การไม่ คบคนพาล การคบแต่บัณฑิต และการบูชาผู้ที่ควรบูชา นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
ปะติรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
การอยู่ในสถานที่เหมาะสม การได้บำเพ็ญบุญมาก่อน และการวางตัวถูกต้อง
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
การมีความรู้มาก การทำงานช่าง การมีวินัยอย่างดี และการพูดถ้อยคำไพเราะ
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
การเลี้ยงดูมารดาบิดา การสงเคราะห์บุตรภรรยา และการงานสับสนไม่ยุ่งเหยิง
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สัคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
การให้ทาน การประพฤติธรรม การสงเคราะห์ญาติ และการทำงานที่ปราศจากโทษ
นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
การอดใจไม่กระทำบาป การระวังตนห่างจากการดื่มน้ำเมา
และการประพฤติตนไม่ประมาท นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
คา ระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐิ จะ กะตัญญุตา กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
ความเคารพ การไม่ทะนงตน ความสันโดษ ความรู้บุญคุณ
และการฟังธรรมในเวลาที่เหมาะสม นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะทัสสะนัง กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัม
มังคะละมุตตะมัง
ความอดทน ความเป็นคนว่าง่าย การได้พบเห็นสมณะ
และการสนทนาธรรมในเวลาอันควร นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
ตะ โป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ
เอตัม มังคะละมุตตะมัง
การบำเพ็ญ ตบะ การประพฤติพรหมจรรย์ การเห็นแจ้งอริบสัจจ
และการทำนิพพานให้เห็นแจ้ง นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
ผุฏฐัส สะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง วิระชัง เขมัง
เอตัม มังคะละมุตตะมัง
จิตของบุคคล ผู้ถูกโลกธรรมมากระทบแล้วไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก ไม่ขุ่นมัว
เบิกบานอยู่ นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
เอ ตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะ มะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตัง
เตสัง มังคะละมุตตะมัง
ผู้ปฏิบัติ เช่นนี้ได้แล้ว จะไม่พ่ายแพ้ในที่ทุกสถาน
ถึงความสวัสดีทุกแห่ง นี้เป็นมงคลอันสูงสุดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ธชัคคปริตร

เอวัมเม สุตังฯ อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ฯ
เอ กัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฺฑิกัสสะ อาราเม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ที่เชตวันวิหาร
อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ
ตัตฺระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ดังนี้แลฯ
ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ
พระภิกษุ เหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ ภูตะปุพฺพัง ภิกฺขะเว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว
เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพะยูฬฺโห อะโหสิ ฯ
สงครามระหว่างเทพดากับอสูรได้เกิด ประชิดกันแล้ว
อะถะ โข ภิกฺขะเว สักฺโก เทวานะมินฺโท เทเว ตาวะติงเส อามันฺเตสิ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา
เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
สะเจ มาริสา เทวานัง สังฺคามะคะตานัง อุปฺปัชฺเชยฺยะ ภะยัง วา
ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ดูก่อนท่าน ผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดาผู้ไปสู่สงคราม ในสมัยใด
มะเมวะ ตัสะมิง สะมะเย ธะชัคฺคัง อุลฺโลเกยฺยาถะ ฯ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั่นเทียว
มะมัญฺ หิ โว ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหียิสฺสะติ ฯ อันนั้นจักหายไป

โน เจ เม ธะชัคฺคัง อุลฺโลเกยฺยาถะ ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา
อะถะ ปะชาปะติสฺสะ เทวราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลเกยฺยาถะ ฯ
ทีนั้น ท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี
ปะชาปะติสฺสะ หิ โว เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของ เทวราช ชื่อปชาบดีอยู่
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหียิสฺสะติ ฯ อันนั้น จักหายไปฯ

โน เจ ปะชาปะติสฺสะ เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลเกยฺยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี
อะถะ วะรุณัสฺสะ เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลเกยฺยาถะ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ
วะรุณัสฺสะ หิ โว เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
เพราะ ว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหียิสฺสะติ ฯ อันนั้นจักหายไป
โน เจ วะรุณัสฺสะ เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลเกยฺยาถะ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ
อะถะอีสานัสฺสะ เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลเกยฺยาถะ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน
อีสานัสฺสะ หิ โว เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานอยู่
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดีอันใดจักมี
โส ปะหียิสฺสะตีติ ฯ อันนั้นจักหายไป ดังนี้
ตัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ดู ก่อนภิกษุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล
สักฺกัสฺสะ วา เทวานะมินฺทัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม
ปะชาปะติสฺสะ วา เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีก็ตาม
วรุณัสฺสะ วา เทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณก็ตาม
อีสานัสฺสะ วาเทวะราชัสฺสะ ธะชัคฺคัง อุลฺโลกะยะตัง
การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานก็ตาม
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหีเยถาปิ โนปิ ปะหีเยถะ ตัง กิสฺสะ เหตุ
อันนั้น พึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร
สักฺโก หิ ภิกฺขะเว เทวานะมินฺโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา

อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป
ภีรุ ฉัมฺภี อุตฺราสี ปะลายีติ ฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้
อะหัญฺจะ โข ภิกฺขะเว เอวัง วะทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
สะเจ ตุมฺหากัง ภิกฺขะเว อะรัญฺญะคะตานัง วา รุกฺขะมูละคะตานัง วา
สุญฺญาคาระคะตานัง วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม
ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม
อุปฺปัชฺเชยฺยะ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด
มะเมวะ ตัสฺมิง สะมะเย อะนุสฺสะเรยฺยาถะ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลกิเลส
เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา
สัมฺมาสัมฺพุทฺโธ วิชฺชาจะระณะสัมฺปันฺโน
เป็นผู้รู้ชอบเอง เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต โลกะวิทู อนุตฺตะโร ปุริสะทัมฺมะสาระถิ
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้โลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
สัตฺถา เทวะมะนุสฺสานัง พุทฺโธ ภะคะวาติ ฯ
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้
มะมัง หิ โว ภิกฺขะเว อนุสฺสะระตัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหียิสฺสะติฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี อันนั้นจักหายไป
โน เจ มัง อะนุสฺสะเรยฺยาถะ อะถะ ธัมฺมัง อะนุสฺสะเรยฺยาถะ
ถ้าท่านทั้ง หลายไม่ระลึกถึงเรา ทีนั้นพึงตามระลึกถึง พระธรรมว่า
สะวากฺขาโต ภะคะวะตา ธัมฺโม สันฺทิฏฺฐิโก
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดี แล้ว เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
อะกาลิโก เอหิปัสฺสิโก
เป็นของไม่มีกาลเวลา เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดู ได้
โอปะนะยิโก ปัจฺจัตฺตัง เวทิตัพฺโพ วิญฺญูหีติ ฯ
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลาย
พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้
ธัมฺมัง หิ โว ภิกฺขะเว อะนุสฺสะระตัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหียิสฺสะติ ฯ โน เจ ธัมฺมัง อะนุสฺสะเรยฺยาถะ
ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ตามระลึกถึงพระธรรม
อะถะ สังฺฆัง อะนุสฺสะเรยฺยาถะ
ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
สุ ปะฏิปันฺโน ภะคะวะโต สาวะกะสังฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันฺโน ภะคะวะโต สาวะกะสังฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันฺโน ภะคะวะโต สาวะกะสังฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
สามีจิปะฏิปันฺโน ภะคะวะโต สาวะกะสังฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบ แล้ว
ยะทิทัง จัตฺตาริ ปุริสะยุคานิ
คือ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔
อัฏฺฐะ ปุริสะปุคฺคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังฺโฆ
บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘ นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรแก่ สักการะที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ
ทักฺขิ เณยฺโย อัญฺชะลิกะระณีโย
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน ท่านเป็นผู้ควรแก่ การทำอัญชลีกรรม
อนุตฺตะรัง ปุญฺญักฺเขตฺตัง โลกัสฺสาติ ฯ
ท่านเป็นนา บุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งไปกว่าดังนี้
สังฺฆัง หิ โว ภิกฺขะเวอะนุสฺสะระตัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่
ยัมฺภะวิสฺสะติ ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปะหียิสฺสะติ ตัง กิสฺสะ เหตุ
อันนั้นจักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุ แห่งอะไร
ตะถาคะโต หิ ภิกฺขะเว อะระ หัง สัมฺมาสัมฺพุทฺโธ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภีรุ อัจฺฉัมฺภี
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว เป็นผู้ไม่กลัว
เป็นผู้ไม่หวาด
อะนุตฺตะราสี อะปะลายีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล พระผู้มีพระ ภาคเจ้า
ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้
อิทัง วัตฺวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตฺถา
พระผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ลำดับนั้น
พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้ อีกว่า
อะรัญฺเญ รุกฺขะมูเล วา สุญฺญาคาเร วะ ภิกฺขะโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือในรุกขมูลหรือในเรือนเปล่า
อะนุสฺสะเรถะ สัมฺพุทฺธัง ภะยัง ตุมฺหากะ โน สิยา
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย
โน เจ พุทฺธัง สะเรยฺยาถะ โลกะเชฏฺฐัง นะราสะภัง
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน
อะถะ ธัมฺมัง สะเรยฺยาถะ นิยฺยานิกัง สุเทสิตัง
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว
โน เจ ธัมฺมัง สะเรยฺยาถะ นิยฺยานิกัง สุเทสิตัง
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม อันเป็นเครื่องนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว
อะถะ สังฺฆัง สะเรยฺยาถะ ปุญฺญักฺเขตฺตัง อนุตฺตะรัง
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า
เอวัง พุทฺธัง สะรันฺตานัง ธัมฺมัง สังฺฆัญฺจะ ภิกฺขะโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
ภะยัง วา ฉัมฺภิตัตฺตัง วา โลมะหังโส นะ เหสัสตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแลฯ

อังคุลิมาลปริตร

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิ ชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ

ดูก่อน น้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดโดยชาติอริยะ ไม่รู้จักแกล้ง
ปลงสัตว์มีชีวิตจากชีวิต
เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดี จงมีแก่ครรภ์ของท่าน ฯ

(สวด ๓ จบ)


อภยปริตร

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัค คะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ลางชั่วร้าย อันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์เจ้า

ที่มาของพระปริตรโดยย่อ

หากต้องการอ่านรายละเอียดให้อ่าน หนังสือ พุทธานุภาพ
อานุภาพของพระพุทธองค์ ของ พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด
ญาณวชิโร,วงศ์ชะอุ่ม)

เมตตปริตร หรือ กรณียเมตตสูตร

มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถากรณียเมตตสูตรว่า เมื่อใกล้เข้าพรรษา
ภิกษุหมู่หนึ่งชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งเวลานั้นประทับอยู่ ณ
กรุงสาวัตถี ขอเรียนพระกรรมฐาน ไปถึงราวป่าเชิงเขาแห่งหนึ่ง ดูเหมาะดี
มีลำธารน้ำ มีหมู่บ้าน เป็นที่อาศัยบิณฑบาตอยู่ไม่ไกลนัก
ชาวบ้านเล่าก็มีศรัทธาเลื่อมใสนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา
ปลูกกุฏิให้อยู่รูปละกุฏิ ภิกษุหมู่นั้นจึงตกลงจำพรรษาอยู่ที่นั่น
เริ่มทำความเพียรบำเพ็ญสมณธรรม ถ้าฝนไม่ตก
ภิกษุทั้งหลายมักไปนั่งที่โคนต้นไม้เป็นส่วนมาก
รุกขเทวดาซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ต้นไม้เหล่านั้น
เห็นท่านผู้ทรงศีลมานั่งอยู่ใต้รุกขวิมานของตนเช่นนั้น
ก็ไม่สามารถจะนิ่งเฉยเสียได้ ต้องหอบหิ้วกันลงจากวิมานมาอยู่ที่พื้นดิน
ได้ความลำบากมาก แรกๆ ก็ทนได้
ด้วยเข้าใจว่าภิกษุหมู่นั้นจะกลับไปในไม่ช้า

ครั้งปรากฏว่า ภิกษุหมู่นั้นจำพรรษาที่นั่น เห็นว่าพวกตนจะต้องลำบาก
ไม่นานนักก็ไม่ยอมทน จึงคิดจะขับภิกษุหมู่นั้นไปเสีย
แต่ไม่ใช้กำลังกายผลักไส ไม่ออกปากขับไล่ ใช้วิธีรบกวนทางประสาท คือ
ทำเป็นผีหลอก รูปร่างน่ากลัวต่างๆ บ้าง ทำเสียงร้องโหยหวนน่าสยองบ้าง
ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นต่างๆ บ้าง ภิกษุทุกรูปได้เห็นได้ยินแล้ว
หัวใจไหวหวาดไม่เป็นอันจะสงบใจบำเพ็ญกรรมฐาน
ยิ่งได้กลิ่นเหม็นอะไรก็ไม่ทราบทั้งวันทั้งคืน
ก็ปวดเศียรคลื่นเหียนเหลือกำลังจะทนได้ ปรึกษากันว่า "การ เข้าพรรษานั้น
มีพระพุทธบัญญัติไว้ป็น ๒ คือ เข้าพรรษา ต้น (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) เรียกว่า
ปุริมิกาวัสสูปนายิกา เข้าพรรษา หลัง (แรม ๑ ค่ำเดือน ๙) เรียกว่า
ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา พวกเราอยู่ที่นี่ไม่ได้ จำต้องละพรรษาปุริมิกา
รีบกลับไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทูลความให้ทรงทราบแล้วไปหาที่เข้าพรรษาปัจฉิมิกากันเถิด"
ไม่บอกชาวบ้านพากันรีบเดินทางไป

ครั้นถึงกราบทูลความแล้ว มีพระพุทธดำรัสว่า
สถานที่ที่ไหนก็ไม่เหมาะเท่าที่นั่น ซึ่งก็เป็นความจริง
เพราะยกเว้นเทวดาภัยเสียอย่างเดียว ก็ไม่มีอะไรลำบากเลย ทรงแนะ
นำให้ภิกษุหมู่นั้นกลับไปที่นั่นอีก
ตรัสว่าเทวดาภัยนั้นมีทางป้องกันได้ด้วยการเจริญเมตตาแล้วทรงสอนภิกษุหมู่นั้นให้ประพฤติตัวให้สมควรแก่การอยู่
ป่า ให้เจริญเมตตาอัปมัญญา คือ แผ่เมตตาไปทั่วหมดทั้งโลก มี
ความปรากฏในกรณียเมตตสูตรนั้นแล้ว ตรัสว่าไปถึงที่นั่น
ก่อนจะเข้าสู่ราวป่า ให้หยุดยืนตั้งใจเจริญเมตตาพร้อมกับสาธยายพระสูตรนี้
แล้วเทวดาภัยจะไม่มีอีกต่อไป กลับจะได้เทวดานุเคราะห์โดยไมตรีจิตเสียอีก
เป็นอันว่าพระบรมศาสดาทรงเปลี่ยนกรรมฐานให้ภิกษุหมู่นั้นใหม่ คือ
เมตตากรรมฐาน อันสามารถจะเป็นบาทแห่งวิปัสสนาได้ด้วย
เป็นปริตรคือเป็นเครื่องป้องกันภัยได้ด้วย

ภิกษุหมู่นั้นกลับไปที่นั่น ปฏิบัติตามพระพุทธโองการ
เป็นผลดีหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
เทวดาทั้งหลายได้รับกระแสเมตตาจากภิกษุหมู่นั้น
ทำให้จิตใจเยือกเย็นหายเกลียดหายชัง กลับเกิดเมตตาตอบ
แทนที่จะทำตัวให้เป็นภัยเช่นแต่ก่อน กลับช่วยป้องกันภัยอื่นๆ ให้ด้วย
ตั้งแต่นั้นไม่มีอะไรรบกวน ภิกษุหมู่นั้นตั้งหน้าบำเพ็ญสมณธรรม
ก็ได้บรรลุอรหัตผลภายในพรรษานั้น
ออกพรรษาแล้วจึงไปจากที่นั้นโดยสวัสดิภาพ

ถ้าถามว่า ทำไมผี / เทวดา จึงไม่เกลียดภิกษุเหล่านั้นหลังฟังสวดกรณียเมตตสูตร

คำตอบง่ายๆ ก็คือ เพราะเนื้อหาของบทสวดเป็นการแผ่ความรัก
ความปรารถนาดีแก่เหล่าเทวดาในป่า และแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
เมื่อรู้ว่าท่านมาดี ไม่เป็นพิษเป็นภัย เหล่าเทวดาจึงไม่ทำอันตราย
กลับมีไมตรีจิตตอบและถวายอารักขาพวกท่านให้อยู่จำพรรษาอย่างผาสุก

โบราณจารย์สอนกันว่า ก่อนนอนให้แผ่เมตตา แล้วจะไม่ฝันร้าย
ภูตผีเทวดาจะพิทักษ์รักษา ใครกลัวผีไม่ต้องกลัวอีกต่อไป
ไปพักค้างคืนที่ไหนก็แผ่เมตตาแล้วจะหลับสบาย

ขันธปริตร

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงมรณภาพ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่
เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่
เพราะถ้าภิกษุรูปนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔
ภิกษุรูปนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ

ตระกูลพญางูทั้ง ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. ตระกูลพญางูวิรูปักขะ
๒. ตระกูลพญางูเอราปถะ
๓. ตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ
๔. ตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ

ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้เป็นแน่
เพราะถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้
ภิกษุนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้
เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่อย่างนี้:-

คาถาแผ่เมตตากันงูกัด

[๒๗] เรากับพญางูตระกูลวิรูปักขะ จงมีเมตตา ต่อกัน
เรากับพญางูตระกูลเอราปถะ จง มีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จง มีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จง มีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จง มีเมตตาต่อกัน

สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา

สัตว์ ๒ เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา

สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียดเบียนเรา

แลสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า จงประสพความเจริญ
อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย

พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้ พระ
สงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ แต่สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง
ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ ความรักษาอันเราทำแล้ว
ความป้องกันอันเราทำแล้ว ขอฝูงสัตว์ทั้งหลายจงถอยกลับไปเถิด
เรานั้นขอนมัสการแด่พระผู้มีพระภาค ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง
๗ พระองค์ ฯ

ตำนาน โมระปริตร : มนต์คาถาของนกยูงทอง

พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูง มีขนสีเหลืองเหมือนทอง
จึงมีชื่อว่านกยูงทอง อาศัยอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ตามปรกตินกยูงทอง
พอถึงเวลาเช้าก็จะไปจับบนยอดภูเขา บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก
แลดูดงอาทิตย์ที่แรกขึ้น แล้วเจริญมนต์ว่า อุเทตะยัญจักขุมา เอกราชา
เป็นต้น ซึ่งมีความหมายว่า พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช
มีสีเหมือนทอง ส่องพื้นภิภพให้สว่าง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระอาทิตย์
ขอให้คุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นสุขตลอดวัน ข้าพเจ้าขอมนัสการผู้รู้ธรรม
ขอให้รักษาข้าพเจ้า ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จงมีแด่พระโพธิญาณ จงมีแด่ท่านผู้พ้นทุกข์ ดังนี้
พอเจริญมนต์เสณ้จแล้วก็ไปหาอาหาร การเจริญมนต์ของนกยูงทองตอนนี้
เพื่อคุ้มครองป้องกันในเวลากลางวัน
ครั้นเวลาเย็นกลับมาจากหาอาหารแล้วก็ขึ้นไปจับบนยอดเขา
บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก แลดูดวงอาทิตย์ที่กำลังจะตก เจริญมนต์ว่า
อะเปตะยัญจักขุมา เอกราชา เป็นต้น ซึ่งมีใจความว่า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์อันเป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเหมือนทอง
กำลังจะตกไปแล้ว ขอให้คุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นสุขตลอดคืน เป็นต้น
การเจริญมนต์ของนกยูงตอนนี้เพื่อคุ้มครองป้องกันตนในเวลากลางคืน
จริยาวัตรดังกล่าวนี่ นกยูงได้ทำเป็นเนืองนิตย์ทุกวันทุกคืน
จึงอยุ่เป็นสุขปราศจากอันตรายตลอดมา

อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี
ทรงสุบินเห็นนกยูงทองแสดงธรรมให้ฟังอย่างไพเราะจับใจ
ครั้นตื่นขึ้นก็กราบทูลพระราชาสวามี และทูลประสงค์จะฟังธรรม ของ
นกยูงทองที่ทรงสุบินนั้น
พระราชสามีเที่ยวสืบถามเหล่าพรานไพรก็ทรงทราบจากลูกชายของพรานคนหนึ่งซึ่ง
พ่อของเขาได้บอกว่าก่อนตายว่า มีนกยูงสีทองตัวหนึ่งอาศัยที่ภูเขาโน้น
จึงสั่งให้จับมาถวาย แต่อย่าทำให้ถึงตาย
พรานไพรก็เอาบ่วงไปดักในที่ที่นกยูงทองเที่ยวหากิน
เมื่อยกยูงทองเหยียบที่บ่วง บ่วงไม่สามารถทำอะไรนกยูงทองได้
ด้วยอำนาจมนต์ที่นกยูงทองเจริญอยู่เป็นนิตย์
นายพรานพยายามดักอยู่ถึงเจ็ดปีก็จับไม่ได้จนตัวตาย
พระนางเขมาราชเทวเมื่อไม่ได้สมความปรารถนาก็เศร้าโศกซูบผอมตรอมพระทัยจนสิ้น
พระชนม์ พระราชาพิโรธเป็นกำลังที่มเหสีต้องสิ้นพระชนม์ลงเพราะนกยูงทอง
จึงทรงจองเวร ให้อาลักษณ์จารึกหนังสือไว้บนแผ่นทองว่า
มีนกยูงทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา
ถ้าใครได้กินเนื้อนกยูงทองตัวนี้จะอายุยืนไม่แก่ตาย
จารึกแล้วบรรจุแผ่นทองลงในหีบเพื่อคนภายหลังจะได้อ่าน
ต่อมาพระราชาก็สวรรคต

พระราชาองค์ต่อมาผู้สืบสันตติวงศ์ทรงอ่านแผ่นทองนั้น
สำคัญว่าเป็นจริงจึงสั่งให้พรานไปดักจับก็ไม่สมพระราชประสงค์
จนคราวหนึ่งพรานคนหนึ่งสังเกตุว่า
ทำไมหนอบ่วงจึงไม่รูดรัดเท้านกยูงทองตัวนี้
เมื่อสะกดรอยดูก็เห็นนกยูงทอเจริญมนต์ทุกเชาทุกเย็น
จึแน่ใจว่าเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้นกยูงทองไม่ติดบ่วง
นายพรานคิดอุบายขึ้นมาได้จึงไปจับนางนกยูงตัวหนึ่งมาฝึกให้รู้อาณัติสัญญาณ
เช่นดีดนิ้วมือนกยูงก็ร้อง ถ้าปรบมือนางนกยูงก็ฟ้อนรำ
เมื่อฝึกสอนจนชำนาญแล้ว จึงอุ้มนางนกยูงไปแต่มืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
แล้วดักบ่วงไว้ก่อนที่นกยูงทองจะเจริญมนต์ พอเสร็จดีดนิ้วมือขึ้น
นางนกยูงจึงส่งเสียงด้วยสำเนียงไพเราะจำใจพอนกยูงทองได้ยิเสียงร้องของนางนก
ยูง ก็รุ่มร้อนด้วยอำนาจกิเลสลืมเจริญมนต์รีบโผบินไปยังที่นางนกยูงอยู่
พอโผบินลงจากอากาศเท้าก็สอดเข้าในบ่วง
นายพรานจึงนำนกยูงทองไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน
พระเจ้าแผ่นดินทรงพอพระราชหฤทัยมากที่จะได้เสวยเนื้อนกยูงทอง
จะได้ไม่แก่ตายตามคำจารึกนั้น
แต่ก่อนจะเสวยจึงใครจะสนทนากับนกยูงทองเสียก่อน จึงจัดที่ให้นกยูงทองจับ
เมื่อนกยูงทองจับที่นั้นแล้ว จึงทรงทูลถามที่เหตุที่ทรงดักจับได้
พระเจ้าแผ่นดินก็ตรัสเล่าให้ตามที่ปรากฎในจารึกนั้น นกยูงทองจึงทูลว่า
ทำไมพระองค์จึงเชื่อดังนั้น
ถ้าเนื้อของข้าพเจ้าวิเศษจริงถึงกับทำให้คกินไม่แก่ไม่ตายจริง
แต่นี่ไม่เป็นเช่นนั้น แม้ข้าพเจ้ายังต้องตาย
ไฉนผู้กินเนื้อข้าพเจ้าจะไม่ตายเล่า ขอพระองค์ได้เชื่อตามนั้นเลย
กรรมหนักจะตกแก่พระองค์
แล้วนกยูงทองก็แสดงอานิสงส์ของการไม่เบียดเบียนสัตว์
จนพระเจ้าแผ่นดินทรงเลื่อมใส รับใส่ให้ปล่อยนกยูงทองไป
แล้วออกหมายประกาศไม่ให้ผู้ใดทำร้ายสัตว์ทุกชนิดในพระราชอาณาเขตของพระองค์
มนต์บทนี้ถือกันว่า ทำให้แคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวงฯ

ตำนานอาฏานาฏิยปริตร

สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่แถบภูเขาคิชฌกูฏ
แคว้นราชคฤห์มหานคร ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ มีท้าวเวสสุวรรณ
เป็นประธาน แวดล้อมด้วยยศ บริวาร คือเหล่ายักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และนาค
เป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาราตรี
รัศมีงามยิ่งนัก สว่างทั่วภูเขาคิชฌกูฏ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร

ในบรรดาเหล่า บริวารที่ประชุมเฝ้าอยู่นั้น บางพวกอภิวาทแล้วนั่ง
บางพวกก็ปราศรัยให้เป็นเครื่องเจริญใจชวนให้ระลึกถึงแล้วจึงนั่ง
บางพวกประนมมือแล้วนั่ง บางพวกเพียงทูลถวายชื่อและตระกูลของตนด้วย
แต่บางพวกก็นั่งเฉยๆ

ลำดับนั้น ท้าวเวสสุวรรณมหาราชได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกยักษ์ที่ยังไม่เลื่อมใสในพระองค์ก็มีมาก
ทั้งชั้นสูง ชั้นกลาง และชั้นต่ำ แม้บรรดาที่เลื่อมใสในพระองค์ก็มีมาก
ทั้งชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ เช่นเดียวกัน"

"เพราะเหตุใด พวกยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสจึงยังมีอยู่"

"ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ เพราะพวกยักษ์เหล่านั้นยังรักความเป็นผู้ทุศีล
ยังพอใจในเวรห้า ที่พระองค์ทรงแสดงว่า เป็นเวร เป็นโทษ
คือพอใจจะเบียดเบียนชีวิตเขา เบียดเบียนทรัพย์เขา
ยังพอใจละเมิดลัทธิประเพณีเขา ยังพอใจกล่าวเท็จ ยังพอใจดื่มน้ำเมา
ยังรักที่จะทำเวรเหล่านั้น ไม่พยายามที่จะวิรัติ งดเว้น ด้วยเหตุนี้
ยักษ์เหล่านั้น จึงไม่รัก ไม่พอใจ ไม่เลื่อมใสในพระองค์
เพราะพระโอวาทขัดแย้งต่อความเห็น ความพอใจของเขา"

"ข้าแต่พระผู้มีพระ ภาค สาวกของพระองค์ ที่พอใจอยู่ในป่าในที่สงัด
ในที่วิเวก ในป่าช้า ในที่เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น
ข้อนี้เป็นช่องทาง
เป็นโอกาสให้ยักษ์จำพวกนี้เบียดเบียนให้ได้รับความลำบาก เพราะฉะนั้น
ข้าพระองค์ขอถวายมนต์ อาฏานาฏิยปริตร บทนี้ ขอให้พระองค์ได้โปรดให้ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา บริษัทของพระองค์ เรียนจำไว้สวด
เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้นเบียดเบียน คือว่า
เมื่อยักษ์จำพวกนี้ได้ยินมนต์บทนี้แล้ว จักหนีห่างไปไม่มาเบียดเบียน
เพราะเกรงเทวอาชญา"

เมื่อท้าวเวส สุวรรณมหาราชทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้ว
จึงได้ภาษิตอาฏานาฏิยปริตรถวายจนจบ

เนื้อแท้ของอาฏานา ฏิยปริตรนั้น ก็ล้วนเป็นคำนมัสการพระพุทธเจ้า ๗
พระองค์ มีพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้าเป็นต้น โดยเฉพาะ

โพชฌังคปริตรมีความเป็นมาอย่างไร
โพชฌงค์เป็นหลักธรรมหมวดหนึ่งที่อยู่ในบทสวดมนโพชฌังคปริตร
ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้แล้วสามารถหาย
จากโรคภัยไข้เจ็บได้ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธ
พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะ
พบว่าพระมหากัสสปะสามารถหายจากโรคได้
อีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธ
หลังจากนั้น พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้

ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ
จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร

พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรค
ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา
เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส
ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย
เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน

หลักของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น
เพราะโพชฌงค์แปลว่าองค์แห่งโพธิหรือองค์แห่งโพธิญาณเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา

ตำนานรัตนปริตร
รัตนปริตร คือ ปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย
แล้วอ้างคุณนั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มีประวัติเล่าว่า
ในสมัยหนึ่ง เมืองเวสาลีเกิดฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร มีคนอดอยากล้มตายมากมาย
ซากศพถูกโยนทิ้งนอกเมือง พวกอมนุษย์ได้กลิ่นศพก็พากันเข้ามาในเมือง
ทำอันตรายคนให้ตายมากขึ้น และยังเกิดอหิวาตกโรคระบาดอีกด้วย
ทำให้เมืองเวสาลีประสพภัย ๓ อย่าง ได้แก่ ทุพภิกขภัย คือ ข้าวยากหมากแพง,
อมนุสสภัย คือ อมนุษย์และโรคภัย คือ โรคระบาด

ในขณะนั้นชาวเมืองคิดว่า เมืองนี้ไม่เคยเกิดภัยพิบัติเช่นนี้ถึง ๗
รัชสมัย จึงกราบทูลเจ้าผู้ครองนครว่า
ภัยนี้อาจเกิดจากการที่พระองค์ไม่ทรงธรรม
เจ้าผู้ครองนครจึงมีรับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันพิจารณาหาโทษของพระองค์
แต่ชาวเมืองไม่สามารถพิจารณาหาโทษได้
ทั้งหมดจึงปรึกษากันว่าควรจะนิมนต์ศาสดาองค์หนึ่งมาดับทุกข์ภัยนี้
บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์เดียรถีย์ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์พระพุทธเจ้า
ในที่สุดทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า ควรนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาโปรด
ดังนั้น จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์มาทูลนิมนต์เพื่อระงับภัยพิบัตินั้น

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองเวสาลี
พระอินทร์พร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมากได้มาเฝ้าในสถานที่นั้น
ทำให้พวกอมนุษย์ต้องหลบหนีออกจากเมือง
จากนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนพระปริตรนี้แก่พระอานนท์
และรับสั่งให้ท่านสาธยายรอบเมืองที่มีกำแพงสามชั้นตลอดสามยาม
พวกอมนุษย์ที่ยังเหลืออยู่ได้หลบหนีไปหมด เพราะกลัวอานุภาพพระปริตร
ครั้นอมนุษย์หนีไปและโรคระบาดสงบลงแล้ว
ชาวเมืองได้มาประชุมกันที่ศาลากลางเมือง
และได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จมายังเมืองนี้
ในเวลานั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสรัตนปริตรนี้แก่พุทธบริษัทที่มาประชุมกันในที่
นั้น (ขุทฺทก. อฏฺ. ๑๔๑-๔)

อนึ่ง สามคาถาสุดท้าย คือคาถา ๑๖, ๑๗, ๑๘
เป็นคาถาที่พระอินทร์ตรัสขึ้นเองโดยดำริว่า
พระพุทธเจ้าทรงกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข
โดยอ้างสัจวาจาที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย
เราก็ควรจะกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างคุณของพระรัตนตรัยเช่นกัน
ฉะนั้น พระอินทร์จึงได้ตรัสสามคาถาเหล่านั้น (ขุทฺทก. อฏฺ. ๑๗๒)
วัฏฏกปริตร

พระศาสดา เมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธชนบททั้งหลาย ทรงปรารภการดับไฟป่า
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ ปกฺขา ดังนี้.
ความ พิศดารว่า สมัยหนึ่ง พระศาสดา
เมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธชนบททั้งหลาย ได้เสด็จเที่ยวบิณฑบาต
ในหมู่บ้านชาวมคธแห่งหนึ่ง เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต
อันหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จดำเนินสู่ทาง.
สมัยนั้น ไฟป่าเป็นอันมากตั้งขึ้น ภิกษุเป็นอันมาก
เห็นทั้งข้างหน้าและข้างหลัง. ไฟแม้นั้นแล มีควันเป็นกลุ่มเดียว
มีเปลวเป็นกลุ่มเดียว กำลังลุกลามมาอยู่ทีเดียว บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุปุถุชนพวกหนึ่งกลัวต่อมรณภัย กล่าวว่า พวกเราจะจุดไฟตัดทางไฟ
ไฟที่ไหม้มาจักไม่ไหม้ท่วมทับที่ ที่ไฟนั้นไหม้แล้ว
จึงนำหินเหล็กไฟออกมาจุดไฟ.

ภิกษุอีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ พวกท่านกระทำกรรมชื่ออะไร
พวกท่านไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้เสด็จไปพร้อมกับตนนั่นเอง
เหมือนคนไม่เห็นดวงจันทร์ลอยเด่นอยู่ในท้องฟ้า
ไม่เห็นดวงอาทิตย์ประดับด้วยรัศมีตั้งพัน กำลังขึ้นจากโลกธาตุ
ด้านทิศตะวันออก เหมือนคนยืนอยู่ที่ริมฝั่งทะเล ไม่เห็นทะเล
เหมือนคนยืนพิงเขาสิเนรุ ไม่เห็นเขาสิเนรุ ฉะนั้น พากันพูดว่า
จะจุดไฟตัดทางไฟ ชื่อว่า พระกำลังของพระพุทธเจ้า พวกท่านไม่รู้
มาเถิดท่าน พวกเราจักไปยังสำนักของพระศาสดา.
ภิกษุเหล่านั้น เมื่อไปทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
แม้ทั้งหมดได้รวมกันไปยังสำนักของพระทศพล
พระศาสดามีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร ได้ประทับยืนอยู่ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง
ไฟป่าไหม้เสียงดังมาเหมือนจะท่วมทับ ครั้นมาถึงที่ที่พระตถาคตประทับยืน
พอถึงที่ประมาณ ๑๖ กรีส (หรือหนึ่งกิโลครึ่ง) รอบประเทศนั้นก็ดับไป
เหมือนคบไฟที่เขาจุ่มลงในนํ้า ฉะนั้น ไม่อาจท่วมทับที่ประมาณ ๓๒ กรีส
โดยการแลบเข้าไป.
ภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวคุณของพระ ศาสดา ว่า น่าอัศจรรย์
ชื่อว่าพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ไฟนี้ไม่มีจิตใจ
ยังไม่อาจท่วมทับที่ที่พระพุทธเจ้าประทับยืน ย่อมดับไป
เหมือนคบเพลิงหญ้าดับด้วยนํ้า ฉะนั้น น่าอัศจรรย์
ชื่อว่าอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พระศาสดาได้ทรง สดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ไฟนี้ถึงภูมิประเทศนี้แล้วดับไป
เป็นกำลังของเราในบัดนี้เท่านั้น หามิได้
ก็ข้อนี้เป็นกำลังแห่งสัจจะอันมีในก่อนของเรา ด้วยว่าในประเทศที่นี้
ไฟจักไม่ลุกโพลงตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น
นี้ชื่อว่าปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป.
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น
เพื่อต้องการเป็นที่ประทับนั่งของพระศาสดา พระศาสดาประทับนั่งขัดสมาธิ
ฝ่ายภิกษุสงฆ์ก็ถวายบังคมพระตถาคต แล้วนั่งแวดล้อมอยู่.

ลำดับนั้น พระศาสดาอันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เรื่องนี้ปรากฏแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายก่อน ส่วนเรื่องอดีตยังลี้ลับ
ขอพระองค์โปรดกระทำเรื่องอดีตนั้นให้ปรากฏแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย.
จึง ทรงนำเรื่องอดีตมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ในประเทศนั้นนั่นแหละในแคว้นมคธ
พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดนกคุ่ม เกิดจากท้องมารดา
ในเวลาทำลายกะเปาะฟองไข่ออกมา ได้เป็นลูกนกคุ่ม มีตัวประมาณเท่า
ดุมเกวียนบรรทุกสินค้า ขนาดใหญ่. ลำดับนั้น
บิดามารดาให้พระโพธิสัตว์นั้นนอนในรัง
แล้วนำอาหารมาเลี้ยงดูด้วยจะงอยปาก.
พระโพธิสัตว์นั้นไม่มีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไปในอากาศ
หรือไม่มีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปบนที่ดอน
และไฟป่าย่อมไหม้ประเทศนั้นทุกปีๆ.
สมัยแม้นั้น ไฟป่านั้นก็ไหม้ประเทศนั้นเสียงดังลั่น.
หมู่นกพากันออกจากรังของตนๆ ต่างกลัวต่อมรณภัย ส่งเสียงร้องหนีไป
บิดามารดา แม้ของพระโพธิสัตว์ก็กลัวต่อมรณภัย จึงทิ้งพระโพธิสัตว์หนีไป.
พระ โพธิสัตว์นอนอยู่ในรังนั่นเอง
ชะเง้อคอแลเห็นไฟป่ากำลังไหม้ตลบมา จึงคิดว่า
ถ้าเราจะพึงมีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไปในอากาศไซร้
เราก็จะพึงโบยบินไปที่อื่น
ถ้าเราจะพึงมีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปบนบกได้ไซร้
เราก็จะย่างเท้าไปที่อื่นเสีย ฝ่ายบิดามารดาของเราก็กลัวแต่มรณภัย
ทิ้งเราไว้แต่ผู้เดียว เมื่อจะป้องกันตน จึงได้หนีไป. บัดนี้
ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เราไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่พึ่ง วันนี้
เราจะทำอย่างไรหนอ จึงจะควร.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ชื่อว่าคุณแห่งศีล ย่อมมีอยู่ในโลกนี้ ชื่อว่าคุณแห่งสัจจะก็ย่อมมี
ในอดีตกาล ชื่อว่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายประทับนั่งที่
พื้นต้นโพธิ ได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งแล้ว ทรงเพียบพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ทรงประกอบด้วยสัจจะ ความเอ็นดู ความกรุณา
และขันติ ย่อมมีอยู่
และคุณของพระธรรมทั้งหลายที่พระสัพพัญญพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น
ทรงรู้แจ้งแล้วย่อมมีอยู่. เออก็ความสัจอย่างหนึ่ง ย่อมมีอยู่ในเราแท้
สภาวธรรมอย่างหนึ่งย่อมมีปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น
เราจะรำลึกถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
และคุณทั้งหลายที่อดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้นรู้แจ้งแล้ว ถือเอาสภาวธรรม
คือสัจจะซึ่งมีอยู่ในเรา กระทำสัจกิริยาให้ไฟถอยกลับไป
กระทำความปลอดภัยแก่ตนและหมู่นกที่เหลือในวันนี้ ย่อมควร. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า

คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ ความสะอาด และความเอ็นดู มีอยู่ในโลก
ด้วยความสัจนั้น ข้าพเจ้าจักทำสัจกิริยาอันยอดเยี่ยม
ข้าพเจ้าพิจารณากำลังแห่งธรรม ระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน
อาศัยกำลังสัจจะ ขอทำสัจกิริยา.

โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์ระลึกถึง พระคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ปรินิพพาน
ไปแล้วในอดีต แล้วปรารภสภาวะ คือสัจจะซึ่งมีอยู่ในตน เมื่อจะทำสัจกิริยา
จึงกล่าวคาถานี้ว่า

คุณของศีลมีอยู่ คุณของธรรมมีอยู่ คุณของสัจจะวาจานี้ก็มีอยู่จริง
ปีกทั้งสองข้างเรามีอยู่ แต่ยังบินไม่ได้ เท้าเราทั้งสองข้างมีอยู่
แต่ยังเดินไม่ได้ บิดามารดาทั้งสองเรามีอยู่ แต่บัดนี้มิได้อยู่กับเรา
นี้เป็นสัจจะวาจาของเรา ไฟป่าที่ไม่มีชีวิตเอ๋ย ด้วยเดชแห่งสัจจะวาจานี้
ขอไฟป่าจงดับไป

(ครั้นเมื่อสิ้นสัจจะอธิษฐานของลูกนกคุ้ม ไฟป่าที่ไหม้มาทั้ง ๔ ทิศ
ก็ดับลงโดยพลัน ดุจดังบุคคลถือคบเพลิงที่มีเพลิงลุก
แล้วจุ่มลงในน้ำฉะนั้น ไฟนั้นก็พลันดับไปในทันที)

พร้อมกับสัจกิริยาของพระโพธิสัตว์นั้น ไฟได้ถอยกลับไปในที่ประมาณ ๑๖ กรีส
และเมื่อถอยไป ก็ไปไหม้ยังที่อื่นในป่า ไฟดับเฉพาะในที่นั้น
เหมือนคบเพลิงอันบุคคลให้จมลงในนํ้า ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเราทำสัจจะ เปลวไฟอันรุ่งเรืองใหญ่หลีกไป ๑๖ กรีส พร้อมด้วยคำสัตย์
ประหนึ่งเปลวไฟอันตกถึงนํ้าก็ดับไป ฉะนั้น
สิ่งไรเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี นี้เป็นสัจบารมี ของเรา ดังนี้.

โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
ก็สถานที่นี้นั้นเกิดเป็น ปาฏิหาริย์
ชื่อว่าตั้งอยู่ชั่วกัป เพราะไฟจะไม่ไหม้ในกัปนี้แม้ทั้งสิ้น.
พระโพธิสัตว์ ครั้นทำสัจกิริยาอย่างนี้แล้ว
ในเวลาสิ้นชีวิตได้ไปตามยถากรรม.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การที่ไฟไม่ไหม้สถานที่นี้ เป็นกำลังของเราในบัดนี้ หามิได้
ก็กำลังนั่นเป็นของเก่า เป็นสัจพลังของเราเองในครั้งเป็นลูกนกคุ่ม
ดังนี้.
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว
จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน
บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต.
ฝ่าย พระศาสดาก็ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
มารดาบิดาใน ครั้งนั้นคงเป็น มารดาบิดา อยู่ตามเดิมในบัดนี้
ส่วน พระยานกคุ่ม ได้เป็น เราตถาคต แล.

กล่าวโดยสรุป

วัฏฏกชาดก เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธองค์
เมื่อครั้งถือกำเนิดเป็นลูกนกคุ่ม แล้วทำปริตรป้องกันตนเองจากไฟป่า
ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก จริยาปิฏก, วัฏฏกชาดก อรรถกถาชาดก

วัฏฏกปริตร เป็นพระปริตรที่กล่าวอ้างคุณ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และสัจจะ ของพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย
แล้วน้อมเอาพระพุทธคุณดังกล่าว มาบังเกิดเป็นอานุภาพ
ปกป้องคุ้มครองอันตรายอันจะเกิดจากไฟทั้งหลายให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ชีวิต
การสวดคาถานี้ เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายอันเกิดจากไฟ
(ป้องกันอัคคีภัย) และเหตุเดือดร้อนวุ่นวายนานาประการ
ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข

ตำนาน มงคลสูตร

มีความเป็นมาโดยมีเรื่อง เล่าว่า
ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสมงคลสูตรนั้น
ได้เกิดปัญหาถกเถียงกันในโลกมนุษย์ว่า อะไรเป็นมงคล
บางคนก็ว่ารูปที่เห็นดีเป็นมงคล บ้างก็ว่าเสียงที่ได้ยินดีเป็นมงคล
บ้างก็ว่ากลิ่น รส สัมผัสที่ดีเป็นมงคล
ต่างก็ยืนยันว่าความเห็นของตัวเองถูกต้อง
แต่ไม่สามารถอธิบายให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับได้
ปัญหานี้ได้แพร่ไปทั่วถึงเทวโลกและพรหมโลกจนเทวดาและพรหมได้แบ่งแยกเป็น ๓
ฝ่ายเหมือนมนุษย์ และหาข้อยุติไม่ได้นานเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี
ต่อมาเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ทูลถามปัญหานี้กับพระอินทร์
พระอินทร์จึงให้เทพบุตรตนหนึ่งไปทูลถามพระพุทธเจ้า
แล้วเสด็จมาเฝ้าพร้อมกับเหล่าเทวดาเพื่อสดับมงคล พระพุทธองค์ได้ให้คำตอบ
ว่า สิ่งอันเป็นมงคลในชีวิตมี ๓๘ ประการ เช่น ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต
การบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นต้น ซึ่งธรรมอันเป็นมงคลนี้ไม่ว่ามนุษย์หรือ
เทวดาปฏิบัติได้ก็เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองทั้งสิ้น

ตำนานธชัคคปริตร หรือ ปริตรยอดธง หรือ พระอินทร์กับอสูร

พระปริตรนี้ โดยปรกติเรียกว่า ธชัคคสูตร
แต่ในที่บางแห่งแม้ในอรรถกถาของพระสูตรนี้เอง เรียกว่า ธชัคคปริตร
เห็นจะเป็น เพราะการนำเอามาทำเป็นพระปริตรนั้นเอง

มีเรื่องเล่าว่า
พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายให้ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ โดยทรงนำเอาเรื่องสงครามระหว่างพวก เทวดา และพวกอสูร
เมื่อครั้งกำลังติดพันกันในสมัยก่อน มาตรัสเป็นตัวอย่างว่า

ในสงครามครั้งนั้น ได้มีพระอินทร์ หรือท้าวสักกะ
ผู้เป็นใหญ่ของพวกเทวดาทั้งหลาย ได้ตรัสแนะนำให้พวกเทวดาที่เข้าสงคราม
ถ้าเกิดความหวาดกลัว ก็ให้ดูยอดธงที่ งอนรถ เพื่อให้หายหวาดกลัว
หานความครั่นคร้าม หายความสยดสยองต่อข้าศึก
ซึ่งมีมูลเหตุมาจากการแย่งที่อยู่กันบนสวรรค์ เพราะแต่เดิมนั้น
เทวโลกบนยอดเขาสุเมรุ เป็นที่อยู่ของเทวดาพวกหนึ่ง เรียกว่า
เนวาสิกเทวบุตร (เทวบุตรผุ้อยู่ประจำ) มีท้าวเวปจิตติเป็นหัวหน้า ต่อมา
เมื่อ "มฆะ มาณพ" ชาวบ้านอจลคามในอาณาจักร มคธ ผู้บำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ
กับภรรยา ๔ คน ได้ชักชวนเพื่อนอีก ๓๒ คน ร่วมกันสร้างกุศลกรรมต่างๆ
ครั้นตายลง มฆะมาณพกับพวกเพื่อน ๓๒ คน และภรรยา ๓ คน (ขาดนางสุชาดา)
ได้ไปเกิดในเทวโลกบนยอดเขาสุเมรุ ที่พวกเนวาสิกเทวบุตรอยู่
มฆะมาณพไปเกิดเป็นพระอินทร์ คือท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่ ของเทวดา
ส่วนนายช่างของ มฆะมาณพไปเกิดเป็น วิสสุกรรมเทวบุตร นายช่างเทวดา ภรรยา ๓
คน คือ นางสุธัมมา นางสุนันทา นางสุจิตรา ก็ไปเกิดเป็นมเหสีของพระอินทร์

ฝ่ายเนวาสิกเทวบุตร เมื่อเห็นพวกเทวดามาเกิดใหม่
ก็จัดเครื่องดื่มพวกน้ำเมา (เรียกว่า ทิพพปานะบ้าง คันธปานะบ้าง)
เลี้ยงต้อนรับผู้มาใหม่ แต่ท้าวสักกะ นัดหมายมิให้พวกพ้องของตนร่วมดื่ม
พวกเนวาสิกเทวบุตร พากันดื่มฝ่ายเดียวจนเมามาย นอนหลับไหล อยู่ตามภาคพื้น
ท้าวสักกะ จึงบอกแก่พวกของตนว่า เราไม่ต้องการให้ราชสมบัติ ณ ที่นี้
เป็นสาธารณะแก่พวกเนวาสิกเทวบุตร จึงสั่งให้พรรคพวกของตน
จับพวกเทวบุตรขี้เมา ขว้างลงไปในมหาสมุทร ณ เชิงเขาพระสุเมรุ
พอตกลงมาถึงกลางช่วงเขา พวกเนวาสิกเทวบุตรได้สติ จึงปรารภกันว่า
แต่นี้ไปเราจะไม่ดื่มสุรากันอีกแล้ว แต่นั้นมาพวกเนวาสิกเทวบุตร
จึงมีนามใหม่ว่า "อสุรา" แปลว่า ผู้ไม่ดื่มสุรา
และด้วยบุญญานุภาพของพวกเนวาสิกเทวบุตร จึงดลบันดาลให้มีอสูรภิภพเกิดขึ้น
ณ เบื้องล่างเขาพระสุเมรุ มีต้นไม้ชื่อ จิตตปาลี (แปลว่าต้นแคฝอย)
เกิดขึ้นเป็นต้นไม้ประจำพิภพของอสูร ส่วนเทวโลกบนยอดเขาสุเมรุ ก็กลายเป็น
สุทัศนเทพนคร ของพระอินทร์ กับพรรคพวกผู้เป็นสหาย มีวิมาน มีอุทยาน
มีสระโบกขรณี มีเวชยันต์ปราสาท เวชยันต์ราชรถ และอื่นๆ
เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของ ท้าวสักกะกับมเหสี และเทวดา ๓๒ องค์
ซึ่งสร้างกุศลร่วมกันมา ตั้งแต่นั้น สวรรค์ชั้นนี้จึงมีนามว่า
ดาวดึงส์เทพนคร (นครของเทวดา ๓๒ องค์) ท่านกล่าวว่า เทพนครกับอสูรนครนั้น
มี สมบัติเท่าเทียมเสมอกัน

ส่วนนางสุชาดา ภรรยาอีกคนหนึ่งของ มฆะมาณพ นั้น เมื่อภรรยา ทั้ง ๓
คนเขาสร้างกุศลกัน ตนเองก็มิได้ร่วมสร้างด้วยเพราะคิดเสียว่าตัวเป็นภรรยา
เมื่อสามีทำแล้วก็เท่ากับตนเองทำด้วย จึงสาละวนอยู่กับการแต่งตัว
มิได้ขวนขวายก่อสร้างการกุศลใด ครั้นตายลงจึงไปเกิดเป็นนกยาง
วันหนึ่งพระอินทร์ทรงรำพึงว่า
เมื่อครั้งเราก่อสร้างสิ่งกุศลอยู่เมืองมนุษย์ เคยมีภรรยา ๔ คน
บัดนี้มาเกิดอยู่ร่วมกัน ๓ คน แล้วนางสุชาดาอีก ๑ คนไปอยู่ที่ไหน

เมื่อตรวจดูไปก็ทรงทราบว่านางสุชาดาไปเกิดเป็นนกยาง
จึงลงมาแนะนำให้รักษาศีล มิให้กินปลาเป็น ให้กินแต่ปลาตาย
เมื่อหาปลาตายกินไม่ได้ นางนกยางนั้นก็อดอาหาร
และซูบผอมลงแล้วก็ตายไปเกิดเป็น ธิดาช่างหม้อ พระอินทร์
ก็ลงมาแนะนำให้รักษาศีล ครั้นนางสิ้นชีพในชาตินั้น
ก็ไปเกิดเป็นธิดาผู้งดงามของท้าวเวปจิตติ ราชาแห่งอสูร
ผู้เป็นศัตรูคู่แค้นกับท้าวสักกะ
ครั้นเจริญวัยบิดาก็งานสยุมพรให้พระธิดาเลือกคู่ครอง
พอดีพระอินทร์ทรงทราบ
จึงแปลงองค์เป็นอสูรแก่มายืนอยู่ท้ายสุดของที่ชุมนุม
แล้วด้วยบุพเพสันนิวาส นางก็โยนพวงมาลัยมาให้อสูรชรา คือท้าวสักกะ
ที่ชุมนุมก็อลเวงพวกอสูรหนุ่มก็หาว่านางไปเลือกอสูรแก่ไม่คู่ควรกัน
พระอินทร์ผู้เป็นอสูรแก่ปลอมก็อุ้มนางพาไปขึ้นเวชยันต์ราชรถ
ซึ่งมาตลีเทวบุตรนำมาซุ่มรอไว้ พากันเหาะหนีไปยังสุทัศนเทพนคร
ซึ่งเป็นมูลเหตุอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้พวกอสูรแค้นเคืองพวกเทวดามาก

ตั้งแต่นั้นมา ครั้นถึงฤดูที่ต้นจิตตปาลี ต้นไม้ประจำพิภพอสูร ผลิดดอกบาน
พวกอสูรก็รำลึกถึงต้รน ปาริฉัตรที่เคยเป็นของตน
อสูรก็ยกทัพมารบกับเทวดาพวกของพระอินทร์
เป็นสงครามประจำฤดูกาลและผลัดกันแพ้ - ชนะ
ด้วยเหตุนี้ท้าวสักกะผู้เป็นราชาแห่งเทวดาทั้งหลาย
จึงตรัสแนะนำให้เทวดาทั้งหลายที่เข้าสงครามดูยอดธงของพระองค์
ถ้าไม่เห็นก็ให้ดูยอดธงของเทวราช อีก ๓ องค์ ซึ่งมาในกองทัพคือ
เทวราชผู้มีพระนามว่า ปชาบดี เทวราชผู้มีนามว่า วรุณ
และเทวราชผู้มีนามว่า อีสาน ซึ่งพระอรรถกถรจารย์ (พระพุทธโฆสฯ)
อธิบายว่าเทวราชพระนามว่า ปชาบดี
นั้นมีผิวพรรณและอายุเท่ากันกับท้าวสักกะ และประทับนั่งมา ณ
อาสนะเป็นอันดับ ๒ ส่วนเทวราช วรุณ และอีสาน ก็อยู่เป็นอันดับ ๓ และ ๔
ถัดไป

พระพุทธเจ้าได้ทรงยกเอาเรื่องสงครามระหว่างเทวดากับอสุร
และคำตรัสแนะนำของท้าวสักกะที่ตรัสแก่ทวยเทพเป็นแนวเปรียบเทียบ
แล้วตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน หรือสมาทานธุดงต์
ไปอยูตามโคนไม้ หรือในอาคารที่สงัด ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ เพื่อระงับความกลัว ความครั่นคร้าม และความสยดสยอง เช่น
ข้อความในธชัคคปริตร ซึ่งพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า
อานุภาพของพระปริตรบทนี้แผ่ไปทั่วอาณาจักรเขตแสนโกฏิจักรวาฬ
ผู้ที่ระลึกพระปริตรนี้แล้วแล้วรอดพ้นจากทุกข์ที่เกิดจากภัยมียักษ์และโจร
เป็นต้น นับไม่ถ้วน ผู้มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงพระปริตรนี้
ย่อมจะได้หลักพึ่งพิงได้

ตำนานอภยปริตร
ครั้ง หนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖
อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น
จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง
พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอันตรายอย่างหนึ่ง
อย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย

ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ
เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญ
พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม
ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก


ครานั้น พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใด ๆ เลย
ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน
พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไปรู้ ราชาโกศล
จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร
แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น

พระผู้มีพระ ภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง
เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่
สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และในที่สุดพระผู้มีพระภาค
จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย

บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย
อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญ

1 ความคิดเห็น:

  1. ในพระพุทธศาสนาวิธีระงับเหตุ ก็มีหลายทางเลือก เช่นการปฏิรูปสังคมประเทศ และทั่วโลก

    หากเราเข้าใจ มีศรัทธา และช่วยกันประกอบเหตุที่ต้องการ ก็จะได้ผลเช่นการปฏิรูปสังคมมนุษย์เป็นต้น

    โดยมีจิตของแต่ละคนเป็นเจ้าภาพ และมีอุปกรณ์ของพระพุทธองค์จัดเตรียมเอาไว้ให้ ลองแวะศึกษา เมื่อเข้าใจดีแล้วมาลงมือช่วยประเทศชาติกัน...http://www.ainews1.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=239

    ตอบลบ