...+

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อุณรุท - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์



            ทำนองแต่ง - ใช้กลอนบทละคร
            เรื่องย่อ - วันหนึ่งพระอุณรุทพานางสีดาไปล่าสัตว์ เทวดาแปลงเป็นกวางมาล่อ พระอุณรุทติดตามไปกับพระพี่เลี้ยง ก่อนบรรทมทรงบวงสรวงพระไทรเทพารักษ์ พระไทรทรงเมตตาอุ้มไปสมนางศรีอุษา พอใกล้รุ่งทรงอุ้มพระอุณรุทกลับไปไว้ที่เดิม ทรงคร่ำครวญถึงนางศรีอุษา นางสรีสุดาต้องพาเสด็จกลับเมือง ฝ่ายนางศรีอุษาโศกเศร้าถึงพระสามี นางศุภลักษณ์ พี่เลี้ยงวาดรูปเทพเจ้าและกษัตริย์  ครั้นรู้ว่าเป็นพระอุณรุทจึงเหาะไปสะกดมาไว้ในตำหนัก ทศมุข อนุชาเลี้ยงของนางศรีอุษาทราบความ จึงไปทูลพระเจ้ากรุงพานพระบิดา ท้าวพานาสูรให้พระยานาคมัดพระอุณรุทแล้วนำไปประจานไว้บนยอดปราสาท เทวดาไปทูลพระบรมจักรกฤษณ์ทรงครุฑมาช่วย มอบพระธำมรงค์วิเศษไว้ให้ พระอุณรุทปราบท้าวพานาสูรได้แล้ว อภิเษกทศมุขให้ครองเมืองแทน ท้าวไกรสุทเสด็จมารับอุณรุทและนางศรีอุษากลับไปครองเมืองณรงกา นางศรีสุดาเกิดหึงแต่ประนีประนอมกันได้ พระอุณรุทไปคล้องช้างเผือกได้นางกินรี ครั้นได้ช้างเผือกแล้วเสด็จกลับเมือง และครอบครองบ้านเมืองเป็นสุขสืบมา
            ข้อคิดเห็น - บทละครเรื่องอุณรุท ถึงแม้จะเป็นเรื่องซ้ำกับอนิรุทธ์คำฉันท์ของศรีปราชญ์ คือ ได้เค้ามาจากมหากาพย์ภารตะและคัมภีร์ปุราณะ แต่มีเนื้อความพิสดารกว่าและผิดเพี้ยนไปจากอนิรุทธ์คำฉันท์บ้าง และชื่อตัวละครแตกต่างกันบ้าง ข้อความบางตอนในบทละครเรื่องนี้เท้าความถึงเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ตอนนางศรีสุดาขอร้องให้พระอุณรุทตามกวาง พระอุณรุททรงทักท้วง โดยอ้างเหตุการณ์ครั้งนางสีดาให้พระรามตามกวาง กระบวนพรรณนานับว่า แจ่มแจ้งเป็นภาพพจน์ แต่กระบวนกลอนมีขัดเขินอยู่บ้าง เมื่อเทียบกับกลอนบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น