...+

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สุธนคำฉันท์ - วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ทำนองแต่ง - ใช้ฉันท์ ๓ ชนิด และกาพย์ - ชนิด
เรื่องย่อ - ดำเนินเรื่องตามปัญญาสชาดกว่า
พระสุธนเป็นโอรสกษัตริย์เมื่องอุดรปัญจา วันหนึ่งพรานบุณฑริก
ใช้บ่วงบาศของพระยานาคคล้องได้นางมโนหรา
ซึ่งเป็นกินรีธิดาท้าวอุทุมวงษ์มาถวายพระสุธน ต่อมามีศึกมาติดเมือง
พระสุธนจากนางไปทำศึก พระมารดาของพระสุธนทรงพระสุบินร้าย
โหรถวายพยากรณ์ให้นำสัตว์ป่าและนางมโนหรามาบูชาไฟ นางมโนหราบินหนีไป
ฝากผ้า พระธำมรงค์และยาให้พระสุธนไว้กับฤษี
เมื่อพระสุธนรู้ว่านางมโนหราหนีกลับไป ก็ออกติดตาม ได้พบฤษี
ต้องเผชิญภยันตรายต่างๆ และไปถึงทันพิธีชำระกลิ่นตัวมนุษย์
ซึ่งท้าวอุทุมวงษ์จัดให้นางมโนหรา พระสุธนได้ประลองศร
และชี้ตัวนางมโนหราในหมู่นางกินรีพี่น้องทั้งเจ็ดได้ถูกต้อง
เพราะพระอินทร์ช่วย พระสุธนได้อภิเษกกับนางมโนหราแล้วกลับคืนเมือง
จบลงตอนแสดงการกลับชาติตามพุทธประวัติของบุคคลในเรื่อง
ข้อคิดเห็น - คำฉันท์เรื่องนี้แต่งตามแบบเสือโคคำฉันท์
สมุทโฆษคำฉันท์ และอนิรุทธ์คำฉันท์ จึงถ่ายรสฉันท์ทั้งสามลงไว้เกือบหมด
ถึงแม้จะมีอายุภายหลังฉันท์แบบครูดังกล่าวเป็นเวลากว่าศตวรรษ
พระยาอิศรานุภาพสามารถสร้างท่วงทำนองของสุธรคำฉันท์ได้ใกล้เคียงเสมอฉันท์สมัยสมเด็จพระนารายณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น