...+

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คาะข่าวริมโขง : อัดฝ่ายค้าน หลอกใช้มวลชนทวงคืน รธน.ปี 40 ช่วย "พ่อแม้ว" พ้นผิด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 ตุลาคม 2552 22:21 น.
เคาะข่าวริมโขง : อัดฝ่ายค้าน หลอกใช้มวลชนทวงคืน รธน.ปี 40 ช่วย
"พ่อแม้ว" พ้นผิด ทำเป็นยก ประชาธิปไตยขึ้นมาอ้าง
ที่แท้กระสันอยากกลับไปใช้ เพราะเป็น รธน.ฉบับโกงบ้านกินเมืองได้ถนัด เผย
เหตุที่ต้าน รธน. ปี 50 เนื่องจากมีระบบตรวจสอบโกงที่เข้มข้น
จึงต้องขจัดให้พ้นทางทำมาหากิน

คลิกที่นี่ เพื่อฟัง รายการ "เคาะข่าวริมโขง"


รายการ "เคาะข่าวริมโขง" ออกอากาศทาง "อีสานทีวี" ช่วงเวลา
18.30-20.30 น.วันอังคารที่ 13 ตุลาคม มี นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย และ
น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา เป็นผู้ดำเนินรายการ และได้เชิญ น.ส.อัญชะลี
ไพรีรัก และ นายประพันธ์ คูณมี กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
มาร่วมพูดคุยถึงหลากหลายประเด็นข่าวที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะกรณีท่าทีที่เปลี่ยนไปของพรรคเพื่อไทย ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยเห็นด้วย แต่หลังจากที่ได้รับสัญญาณจากนายใหญ่
ก็เปลี่ยนแปลงท่าทีจากหน้าเป็นหลังมือ

นอกจากนี้ ยังมีกรณี มติชนรายวัน เขียนบทนำประจำวันที่ 13 ตุลาคม
2552 โดยกล่าวถึงพรรคการเมืองใหม่และบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อเอเอสทีวี

เริ่มต้นรายการด้วย น.ส.วรรษมน ได้อ่านแถลงการณ์จากสำนักพระราชวัง
เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ
โรงพยาบาลศิริราช โดยวันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา ได้รายงานว่า
พระอาการโดยทั่วไปคงที่ เสวยพระกระยาหาร และทรงพระบรรทมได้ดี

จากนั้น เข้าสู่ช่วงสกู๊ปศิลปวัฒนธรรม
ได้มีการเสนอประวัติและเรื่องราวการต่อสู้ของ 4 รัฐมนตรีเลือดอีสาน
ที่ไม่เคยยอมจำนงกับน้ำเงินของผู้อิทธิพลที่ทุ่มเงินก้อนโตหมายจะดึงไปเป็น
พวก แต่ด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้า
ทำให้พวกเขาเหล่านี้ยึดมั่นอยู่ในความถูกต้อง จิตใจจึงไม่โอนเอียงไปไหน
จึงทำให้ถูกผู้มีอิทธิพลสั่งเก็บด้วยวิธีป่าเถื่อนโหดร้าย
แต่ถึงแม้บุคคลเหล่านี้ จะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ด้วยคุณนามความดี
ทำให้ทุกวันนี้ คนรุ่นหลังยังระลึกถึงพวกเขาอยู่

ช่วงต่อมา น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็น
ท่าทีของพรรคเพื่อไทยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้
พรรคเพื่อไทยได้มีการประชุม เพื่อสรุปจุดยืนของพรรคต่อเรื่องดังกล่าว
โดยแท้ที่จริงแล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทำให้พรรคเพื่อไทยแตกออกเป็นสองฝ่าย อีกทั้งยังทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม
อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ผิดใจกับ นายวิทยา บูรณศิริ
ประธานวิปฝ่ายค้าน จนเกิดรอยร้าวขึ้น เนื่องจากขัดแย้งกันทางความคิด
แม้ตอนนี้ จะมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามาเป็นกาวใจภายในพรรค
แต่ก็เจ้าตัวก็แบ่งรับแบ่งสู้ที่จะทำหน้าที่ประสานรอยร้าว ส่วนทางด้าน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ออกมาระบุว่า จะส่งเรื่องไปให้
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อตั้งคณะทำงานด้านกฎหมาย 2 สภาขึ้น
แต่พอผู้สื่อข่าวไปถาม นายชัย
ก็กลับได้รับคำตอบว่าเรื่องดังกล่าวยังมาไม่ถึง เป็นเพียงสิ่งที่
นายอภิสิทธิ์ พูดขึ้นมาลอยๆ แต่ถ้าหากได้รับหนังสือดังกล่าว
ก็จะดำเนินการตามกฏหมายให้ เพราะเป็นหน้าที่ต้องทำอยู่แล้ว

น.ส.อัญชะลี กล่าวเสริมประเด็นนี้ ว่า
นอกจากความแตกแยกกันทางความคิดของพรรคฝ่ายค้านแล้ว
ประชาชนในสังคมยังแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ จะแก้หรือไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญดี
ดังนั้น ตนอยากให้รัฐบาลเข้าไปมีบทบาทในการให้ความรู้
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน ว่า
แก้แล้วจะได้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร
เพราะจะไปฝากความหวังไว้ที่การทำประชามติอย่างเดียวคงไม่ได้
เนื่องจากเปลืองงบประมาณเปล่าๆ หากทำประชามติ
แต่ประชาชนไม่มีความเข้าใจเรื่องนี้

น.ส.อัญชะลี กล่าวอีกว่า นอกจากรัฐบาลแล้ว
สื่อมวลชนยังต้องเข้ามามีส่วนเรื่องนี้ด้วย
เพราะเป็นฝ่ายที่เข้าถึงประชาชนได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด
โดยการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไม่ใช่บอกว่า ฝ่ายไหนขาวหรือดำ
แต่ต้องนำเสนอความจริงที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา
และต้องบอกกล่าวประชาชนให้ชัดเจนว่า
แท้จริงแล้วรัฐธรรมนูญไม่ได้มีส่วนผิด
แต่ผิดที่นักการเมืองพยายามจะแก้กฎหมาย เพื่อช่วยเหลือตัวเอง

น.ส.วรรษมน กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของเอแบคโพลล์
ที่ออกมาระบุว่า ประชาชนอ่านรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มากกว่าปี 2540
และคนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ที่ชัดเจนว่าจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่ออะไร
รวมทั้งยังไม่มีความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

นายประพันธ์ กล่าวเสริมประเด็นนี้ ว่า
การแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อบ้านเมืองก็จริง
แต่สิ่งที่สำคัญนอกเหนือกว่านั้น คือ
ตอนนี้มีนักการเมืองที่พยายามแก้รัฐมนตรีเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
โดยเวลานี้ พรรคเพื่อไทย แตกออกเป็นสองฝ่าย คือ
ฝ่ายที่ต้องการทวงคืนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้พ้นจากความผิด ส่วนอีกฝ่ายอยากแก้รัฐธรรมนูญ ปี
2550 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตัวเอง ดังนั้น
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าเหตุผลอะไรของพรรคเพื่อไทย
ก็ล้วนผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่กับประชาชน

"จริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กับรัฐธรรมนูญ ปี 2550
ไม่ได้มีความผิดอะไร แต่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและคนร่างที่มีความผิด
โดยสำหรับในส่วนความเห็นตน มองว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2550
มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ถ้าให้เปรียบเทียบ รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ดีกว่า
ตรงที่เปิดทางให้ประชาชนมีส่วนรวมมากขึ้น
และมีระบบตรวจสอบนักการเมืองที่เข้มข้น
โดยให้สิทธิ์แก่ประชาชนในการเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองที่ทุจริต"
นายประพันธ์ กล่าว

นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า
สำหรับประเด็นที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ปี 2550
เพื่อความสมานฉันท์ ตนไม่เห็นว่า แก้รัฐธรรมนูญไปเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้
เพราะถ้าหากคำว่าสมานฉันท์ คือ
การที่ต้องแก้กฎหมายเพื่อลบล้างความผิดนักการเมืองคอร์รัปชัน
ก็ไม่สมควรที่จะกระทำ

นายประพันธ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ออกมาเรียกร้องให้มีการกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ก็เพราะเห็นว่า
เป็นรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองมากกว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2550
ที่มีระบบการตรวจสอบที่เข้มข้น โดยกรณีหากมองอย่างลึกซึ้งจะเห็นว่า
ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำริให้มีขั้นตอนการทำประชามติ
เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนรวมร่างกฎหมายบริหารประเทศ ดังนั้น
การที่ประชาชนเห็นพ้องยอมรับรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และพระเจ้าแผ่นดิน
ลงพระปรมาภิไธย ก็เท่ากับทุกกระบวนการสมบูรณ์แบบอย่างไร้ที่ติ

นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อแดง
ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อทวงคืนรัฐธรรมนูญ ปี 2540
ถือเป็นพฤติกรรมล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือไม่
เพราะข้อเรียกร้องเรื่องนี้ไม่มีเหตุผล และคลุมเครือหลายประเด็น ดังนั้น
จะเห็นว่าพอมีเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ก็จะทำให้ประชาชนเห็นถึงสันดานของนักการเมืองได้ง่ายยิ่งขึ้น
ว่าตัวตนที่แท้จริงเป็นอย่างไร เหตุผลที่ต้องการทวงคืน รัฐธรรมนูญ ปี
2540 เพื่อตอบสนองความต้องการภายในของตัวเองหรือไม่

นายชัชวาลย์ กล่าวเสริมประเด็นนี้ ว่า เรื่องรัฐธรรมนูญ
เปรียบเสมือนการแก้ผ้านักการเมือง
ที่ทำให้เห็นเนื้อแท้ของนักการเมืองแต่ละคนว่าเป็นเช่นไร เวลานี้ทั้ง
พ.ต.ท.ทักษิณ พล.อ.ชวลิต และ ร.ต.ท.เฉลิม พยายามแก้ผ้าตัวเอง
อยากกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ส่วนทางด้านประธานวิปฝ่ายค้าน
ก็ต้องการแหกข้อร่วมกับรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น
สิ่งแล้วนี้ทำให้เกิดความแย้ง ที่ประชาชนไม่เคยได้รับผลประโยชน์ คนพวกนี้
ต้องการแก้ผ้าตัวเอง
เพื่อสวมเสื้อสูทตัวใหม่เพื่อเข้าไปหากินในสภาอีกครั้ง
สิ่งเหล่านี้วนเวียนเกิดขึ้นในแวดวงการเมืองไทยที่ทุกฝ่ายทำเพื่อประโยชน์
ของตัวเอง โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เรียกร้องให้กลับมาใช้รัฐธรรมนูญ ปี
2540 เพราะต้องการหลุดพ้นความผิดจากคดีความต่างๆ
จึงอ้างเรื่องประชาธิปไตยขึ้นมาบังหน้า

ช่วงสุดท้าย น.ส.วรรษมน ได้มีการหยิบยกกรณี มติชนรายวัน
เขียนบทนำประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2552
โดยกล่าวถึงพรรคการเมืองใหม่และบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อเอเอสทีวี

นายประพันธ์ กล่าวประเด็นนี้ ว่า
บทนำดังกล่าวเป็นการสะท้อนสิ่งที่มติชนมองพรรคการเมืองใหม่ มองนายสนธิ
ลิ้มทองกุล และมองสื่อเอเอสทีวี ซึ่งสิ่งดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิด
เพราะถือเป็นทัศนะที่เกิดขึ้น
แต่ตนอยากให้สื่อมติชนลองเรียนรู้ความจริงของที่มาที่ไปพรรคการเมืองใหม่
และบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อเอเอสทีวี โดยอยากให้มองว่า
การที่พรรคการเมืองใหม่กำเนิดขึ้น
ล้วนเกิดมาจากความแตกต่างของระบบการเมืองเก่า
ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองคอร์รัปชัน
ตนอยากให้มีการแยกแยะบทบาทกันให้ชัดเจน

นายประพันธ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่กล่าวว่า
พรรคการเมืองใหม่ได้เปรียบคู่แข่ง เพราะมีสื่ออยู่ในมือ ตนอยากกล่าวว่า
บทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองใหม่
มันอยู่คนละส่วนกับสื่อเอเอสทีวีและพันธมิตรฯ
โดยการทำหน้าที่ของสื่อเอเอสทีวีที่ผ่านมา
เป็นบทพิสูจน์ว่าได้นำเสนอความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งสื่ออื่นๆ
อาจมีข้อจำกัดในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร แต่สื่อเอเอสทีวี
ชัดเจนในด้านการเลือกยืนอยู่เพื่อความถูกต้อง

"อยากให้สื่อมติชนย้อนดูตัวเอง ว่า
ที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่สื่อมวลชนที่ดีหรือไม่
หรือว่าเอาเวลาไปรับใช้นักการเมือง และขอยืนยันว่า
เวลานี้สื่อต้องเลือกข้าง แต่เลือกข้างที่ถูก
ในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดี" นายประพันธ์ กล่าว

นายชัชวาลย์ กล่าวปิดท้ายว่า
สิ่งที่มติชนวิจารณ์หรือวิเคราะห์ถือว่าไม่ผิด
แต่อยากให้มองจุดยืนตัวเองว่ารับใช้สังคมจริงหรือไม่
โดยไม่ว่าการนำเสนอข่าวของมติชนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมือง
ใหม่ หรือบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อเอเอสทีวีอย่างไร
แต่พวกเราก็ไม่เคยหวั่นไหวกับข้อทวงติงดังกล่าว
เพราะเทียบไม่ได้กับการต่อสู้ที่ผ่านมา ซึ่งต้องผ่านเหตุการณ์อะไรมากมาย

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000121660

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น