...+

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

เคาะข่าวริมโขง : "สุวัตร" แนะตั้งองค์กรคุมประพฤติอัยการ หลังพบทำสำนวนตามใบสั่งนักการเมือง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2552 22:41 น.
เคาะข่าวริมโขง : "สุวัตร" ทนายพันธมิตรฯ เตือน "ยี้ห้อย"
หลุดคดีกล้ายางอย่าลำพองใจ แฉมี "อัยการ" บางคนทำตัวเป็นไส้ศึก
รับใบสั่งทำสำนวนตามใจนักการเมือง ชี้ กินเงินภาษีประชาชน
ควรทำหน้าที่ให้สมเป็นทนายแผ่นดิน แนะ
ให้จัดตั้งองค์กรอิสระคุมความประพฤติ
พร้อมจี้รัฐบาลปลดเกียร์ว่างก่อนเสีย 4.6 ตร.กม.ให้เขมร อัดสื่อใช้คำผิด
"ปะทะ" ต้องรุนแรงสองฝ่าย แต่กรณี "วีระและมวลชนผู้รักชาติ"
โดนทำร้ายฝ่ายเดียว เรียกว่าผู้ถูกกระทำ
ลั่นหากรบเขมรแล้วทวงพื้นที่คืนได้ก็ต้องยอม

คลิกที่นี่ เพื่อฟัง รายการ "เคาะข่าวริมโขง"

รายการ "เคาะข่าวริมโขง" ออกอากาศทาง "อีสานทีวี" ช่วงเวลา
18.30-20.30 น.วันพุธที่ 23 กันยายน มี นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย
เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยแขกรับเชิญวันนี้เรียกได้ว่ามากันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง
มีทั้งนักกฏหมายมือฉกาจ และสื่อมวลชนอาวุโสที่มีความรู้ ความสามารถ
ได้แก่ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บก.อาวุโส หนังสือพิมพ์เอเอสทีวี ผู้จัดการ
และนายสำเริง คำพะอุ สื่อมวลชนอาวุโส
ผู้เขียนบทความทางการเมืองให้แก่หนังสือพิมพ์ชั้นนำ

โดยประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยวันนี้ คือ กรณี นายเนวิน ชิดชอบ
หลุดพ้นคดีกล้ายาง รวมทั้ง
การทำหน้าที่ของอัยการบางคนที่โน้มเอียงไปทางรับใช้นักการเมือง นอกจากนี้
ยังมีกรณี ทวงคืนพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ของไทย ที่นายวีระ สมควรคิด
นำมวลชนไปร่วมทวงคืนแผ่นดินไทย แต่กลับถูกม็อบจัดตั้งรุมทำร้าย

เริ่มรายการ นายชัชวาลย์หยิบยกกรณี
ศาลอาญาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ได้อ่านคำพิพากษาคดีทุจริตกล้ายาง เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา
ซึ่งพิพากษายกฟ้องจำเลยในคดีทั้งหมด 44 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีชื่อของ
นายเนวิน ชิดชอบด้วย กรณีนี้ นายตุลย์กล่าวว่า คดีกล้ายางในทางกฏหมาย
ถือว่าเมื่อศาลตัดสินแล้ว ทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับคำตัดสิน
แต่ถ้าหากดูถึงความสำเร็จ ก็ต้องดูกันต่อไป
ว่ากล้ายางที่ปลูกไปนั้นเป็นการนำภาษีของประชาชนไปใช้ในโครงการที่ก่อให้
เกิดประโยชน์หรือไม่ ดังนั้น
เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงเรื่องนี้ได้

นายสุวัตรกล่าวเสริมกรณีนี้ว่า หลังจากคดีกล้ายางตัดสินไปแล้ว
และนายเนวิน ถือว่าหลุดพ้นจากความผิด
ทำให้ตนเห็นถึงความแตกต่างระหว่างชั้นเชิงทางการเมืองของนายเนวิน
และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
โดยการที่นายเนวินออกมาพูดหลังฟังคำตัดสินคดีดังกล่าว
ว่าต่อไปนี้จะขอปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
ตนเห็นว่านายเนวินอ่านเกมขาดว่าควรจะแสดงท่าทีอย่างไรให้เป็นผลดีกับตัวเอง
ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า
นายเนวินถือเป็นหัวหน้าพรรคตัวจริงของทางภูมิใจไทย
ซึ่งหากจำได้เมื่อครั้งที่กลุ่มคนเสื้อแดงกำลังล่าชื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราช
ทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
จะเห็นได้ว่าทางรัฐบาลนิ่งเฉยไม่ตอบโต้ใดๆ
ผิดกับทางพรรคภูมิใจไทยที่มีการขึ้นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ต่อต้านการกระทำดัง
กล่าว เพราะถือเป็นการจาบจ้วงสถาบัน
ดึงเบื้องสูงมาเกี่ยวข้องกับทางการเมือง ดังนั้น
ตนอยากแนะนำให้นายอภิสิทธิ์ลองไปเรียนรู้ชั้นเชิงทางการเมืองที่ดีจากนายเน
วินดูบ้าง

นายตุลย์กล่าวถามว่า
คดีกล้ายางยังมีโอกาสจะส่งเรื่องให้กระบวนการยุติธรรมตัดสินอีกครั้งได้หรือ
ไม่ นายสุวัตรกล่าวตอบว่า สามารถกระทำได้
ถ้าหากมีข้อมูลหรือพยานหลักฐานใหม่ แต่ต้องดำเนินการภายใน 30 วัน
หลังจากที่ศาลตัดสิน โดยจากนี้ ต้องติดตามดูต่อไปว่า
ทางสภาทนายความจะมีการสืบหาพยานหลักฐานใหม่หรือไม่
ซึ่งในมุมมองของตนคิดว่า คดีดังกล่าวสมควรกระทำ
เพราะในเมื่อกฏหมายยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ก็ควรเดินหน้าต่อไป
อีกทั้งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น
ผู้มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม ควรทำคดีนี้ให้เกิดความกระจ่าง
ไม่มีสิ่งเคลือบแคลงสงสัยใดๆ

นายชัชวาลย์ถามว่า อัยการบางคนที่ดูแลคดีนี้
ดูมีความขัดแย้งกับทางคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่รัฐ (คตส.) หรือไม่ นายสุวัตรกล่าวว่า คดีนี้ถ้าว่าตามกฏหมาย ในเมื่อ
คตส.เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหามีมูลความผิด
ก็สามารถส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาส่งฟ้องได้
แต่ต้องยอมรับว่ามีอัยการบางคนที่คิดไม่ซื่อ
ล้วงรู้ข้อมูลลับทุกอย่างในคดีนี้แล้วไม่ยอมดำเนินการฟ้องศาล
ทั้งที่ถือเป็นหน้าที่ในฐานะที่เป็นทนายของแผ่นดิน จนทาง
คตส.ทนไม่ไหวต้องทีมทนายฟ้องเอง ซึ่งคดีนี้มีจุดอ่อนอยู่ตรงที่
อัยการบางคนล่วงรู้ข้อมูลเชิงลึกคดีนี้หมดแล้ว อีกทั้ง
ยังไปเป็นพยานให้แก่จำเลยอีก ฉะนั้น จึงนำมาซึ่งจุดพลิกผันของคดีนี้
โดยในกรณีนี้ตนขอติงการทำหน้าที่ของอัยการบางคนที่กินเงินภาษีของประชาชน
แต่กลับไม่ดูแลรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม

นายตุลย์ถามว่า
มีกระแสข่าวว่าอัยการบางคนมีรายชื่อเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น
เวลานี้ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะต้องมีการปฏิรูปบทบาทการทำหน้าที่ของอัยการ
นายสุวัตรกล่าวว่า ในเมื่อการทำหน้าที่ของอัยการบางคน
มีส่วนร่วมรู้เห็นกับนักการเมือง บ้านเมืองก็นำไปสู่ความวุ่นวาย
ทั้งที่อัยการควรมีความเป็นอิสระ ไม่ควรตกเป็นเบี้ยล่างของฝ่ายใด
แต่ก็ผิดเพี้ยนไปหมด ดังนั้น
ตนจึงขอเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาตรวจสอบการทำหน้าที่ของอัยการ
โดยตรง ซึ่งคดีไหนที่อัยการไม่สั่งฟ้อง
หน่วยงานนี้มีหน้าที่ตรวจสอบและคัดกรองคดีใหม่ โดยเชื่อว่าจะเกิดผลดี
ทำให้อัยการไม่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตัวเองทำอะไรตามใจชอบ

ต่อมา นายชัชวาลย์เปิดประเด็นถึงกรณีรัฐบาลใส่เกียร์ว่างไม่ยอมดำเนินการขับไล่
ทหารและประชาชนกัมพูชาที่รุกล้ำพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ของไทย จนทำให้ นายวีระ
สมความคิด นำมวลชนผู้รักชาติ เดินทางไปจ.ศรีษะเกษ
เพื่ออ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลจัดการกับเรื่องดังกล่าว นายสุวัตร
กล่าวถึงกรณีนี้ ว่า กรณีเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม.
ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สังคมไทยรับรู้
เพราะการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการขับไล่รัฐบาล
นายสมัคร สุนทรเวช
ที่พยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์พวกพ้องตนเอง ทางพันธมิตรฯ
ได้ออกมาเปิดโปงเรื่องดังกล่าวมาตลอด เนื่องจากในช่วงนั้น ตรงกับที่
นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและเป็นลิ่วล้อของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
เดินทางไปเซ็นแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว
แถลงการณ์ดังกล่าวมีผลเป็นสนธิสัญญาผูกมัดทางกฏหมาย จนทำให้ศาลปกครองกลาง
ต้องมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น
ยุติการดำเนินการตามที่มติครม. ให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว
เนื่องจากเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตย

นายสุวัตรกล่าวว่า เขตแดนตามธรรมชาติ
ให้ดูจากแนวสันปันน้ำเป็นหลัก
แต่ศาลโลกดันยึดถือแผนที่ฝรั่งเศสที่ร่างไว้ ทำให้ตัดสินว่าไทยแพ้คดี
แล้วยกปราสาทเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา ซึ่งในอดีต
ทหารไทยยังไม่ได้ตื่นตัวเรื่องนี้ เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องแผ่นที่
จึงไม่ได้ทำการคัดค้านแต่อย่างใด โดยที่สุดแล้ว
กรณีปราสาทเขาพระวิหารกับพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ถือเป็นคนละส่วนกัน
เพราะศาลโลกยกแต่ปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชา ส่วนพื้นที่ 4.6 ตร.กม.
ถือเป็นสิทธิ์ของไทย โดยสิ่งที่จะทำให้ไทยสูญเสียพื้นที่ดังกล่าว
ก็อยู่ที่การปล่อยให้กัมพูชาไปสร้างชุมชน สร้างวัด
ยึดครองพื้นที่เป็นเวลานาน ทั้งที่ไทยประกาศให้บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยาน
คนไทยไม่ได้รับอนุญาติให้ขึ้นไปได้
แต่กลับปล่อยให้ทางกัมพูชาไปตั้งรกรากยังพื้นที่ดังกล่าว

นายสุวัตรกล่าวอีกว่า การที่รัฐบาล
แสดงท่าทีว่าจะใช้วิธีเจรจาแก้ปัญหานี้ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด
แต่พื้นที่ดังกล่าวต้องไม่มีผู้ใดรุกล้ำ โดยทาง นายวีระ เมื่อทราบเรื่อง
ก็ได้นำมวลชนไปร่วมปกป้องแผ่นดินไทย
แต่ดันถูกม็อบจัดตั้งเถื่อนไปสุ่มโจมตี ทำร้ายให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
แต่สิ่งที่สร้างความบอบช้ำซ้ำเติม คือ การที่สื่อมวลชนหลายสำนัก
พยายามประโคมข่าวว่าคนไทยตีกันเอง โดยมี นายวีระ นำมวลชนไปก่อความรุนแรง
ซึ่งตนขอตอบโต้คำกล่าวหาดังกล่าวว่า การที่สื่อมวลชนใช้คำว่า ปะทะ
ถือว่าเป็นการใช้คำที่ผิด เพราะปะทะต้องเกิดจากความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย
แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ นายวีระและมวลชน
เดินทางไปพื้นที่ดังกล่าวด้วยความสงบ และไม่ต้องการสู้รบกับใคร

"ผมตั้งขอสังเกตว่า สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน
หยิบยกประเด็นเขาพระวิหารมาโจมตีรัฐบาล
แต่ทำไมพอตัวเองได้ขึ้นมาบริหารประเทศกลับเพิกเฉย
อ้างว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ใช่
เป็นของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ ดังนั้น รัฐบาลต้องแสดงความชัดเจนเรื่องนี้
ถ้าจะยึดหลักการเจรจาแก้ไขปัญหา
ก็ต้องไม่ให้มีผู้ใดรุกล้ำดินแดนที่จะยังเจรจาตกลงกันไม่ได้
เพราะการปล่อยให้เขมรยึดครองพื้นที่นานๆ ในทางพฤตินัย
ถือว่าเราเสียดินแดนให้แก่เขมรไปแล้ว ซึ่งในรัฐธรรมนูญ มาตรา 71
ระบุไว้ชัดเจนว่า รัฐจะต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
เอกราช และบูรณภาพแห่งอาณาเขต ดังนั้น
ถ้าหากรัฐบาลเพิกเฉยก็ถือว่ามีความผิด" นายสุวัตรกล่าว

นายสุวัตรกล่าวต่อว่า อีกอย่างตนอยากเตือนรัฐบาลว่า
ไม่ควรประมาททหารกัมพูชา
เพราะเท่าที่ทราบมีการใช้ทหารที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสู้รบมาประจำการ
พื้นที่ดังกล่าว
ซึ่งการปล่อยให้กัมพูชาจัดตั้งทหารกองโจรอยู่ในแผ่นดินไทย
ถือเป็นสิ่งไม่สมควร เพราะถ้าหากมีการสู้รบเกิดขึ้น
ประเทศไทยจะพ่ายแพ้แน่นอน เนื่องจากถูกแทรกซึมในพื้นที่
โดยขณะนี้ทางรัฐบาลกัมพูชาได้วางขุมกำลัง เตรียมแผนไว้หมดแล้ว
ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทหารไทยที่ทำหน้าที่บริเวณนั้น ก็อัดอั้นตันใจ
ที่ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะไม่มีคำสั่งจากทางรัฐบาลหรือทางกองทัพ

"ตอนนี้การที่รัฐบาลไม่ยอมทำอะไรเลย ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
การปล่อยให้เขมรสามารถตั้งชุมชน ยึดครองพื้นที่ ก็ถือว่าเป็นความผิด
ถึงแม้ว่านายอภิสิทธิ์จะเป็นคนดี คู่ควรแก่การเป็นผู้นำประเทศ
แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่อาจแลกได้กับผลประโยชน์ของประเทศชาติ การที่
นายวีระและมวลชนผู้รักชาติ เดินทางไปปกป้องแผ่นดินบ้านเกิดตนเอง
กลับถูกมองว่าเป็นพวกคลั่งชาติ บรรดาสื่อมวลชนหลายสำนัก
พยายามตีข่าวว่าคนไทยตีกันเอง ผมขอถามว่า
แล้วที่ผ่านมารัฐบาลทำอะไรไปแล้วบ้าง" นายสุวัตรกล่าว

นายชัชวาลย์ถามว่า
ถ้าหากทหารและประชาชนกัมพูชายังยึดครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่เป็นเวลานานๆ
มีผลต่อทางกฏหมายระหว่างประเทศหรือไม่ นายสุวัตร กล่าวว่า กรณีนี้ถือว่า
ไทยเพิกเฉยต่อคำตัดสินของศาลโลกที่ยกปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา
ทำให้ประเทศต่างๆ มองว่าไทยไม่ได้คัดค้านกับคำตัดสินดังกล่าว
แล้วการที่ปล่อยให้กัมพูชาไปยึดครองพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ของไทย
ในทางสากลก็มองว่า ในเมื่อทุกอย่างบริเวณนั้น
สื่อไปในทางที่เป็นของกัมพูชา
ในที่สุดแล้วพื้นที่ดังกล่าวของไทยก็จะเสียให้แก่กัมพูชาไปโดยปริยาย
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ เคยระบุไว้ว่า
อาจนำพาไปสู่ความสุ่มเสี่ยงทำให้เสียอธิปไตย โดยการที่ กระทรวงต่างประเทศ
พยายามออกมาบอกกับคนไทยว่า พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นของคนไทย
ไม่ได้สูญเสียพื้นที่ใดๆให้แก่กัมพูชา
อีกทั้งได้ส่งหนังสือคัดค้านไปแล้วหลายครั้ง
ตนขอถามว่าทำเช่นนี้แล้วได้อะไรขึ้นมา มันสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
หรือว่ากดดันรัฐบาลกัมพูชาให้ดึงคนของตัวเองออกจากพื้นที่ของไทย
ทุกอย่างไม่ได้ผลดี ดังนั้น ตนจึงเห็นว่า สิ่งที่สมควรทำ คือ
การจัดการเรื่องนี้ด้วยความเด็ดขาด ถ้าต้องรบก็ต้องรบ
ซึ่งแท้จริงแล้วตนไม่ได้อยากเห็นการเกิดสงครามหรือการสู้รบแต่อย่างใด
แต่ในเพลงชาติไทยร้องว่า "ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงไม่ขลาด" ฉะนั้น
เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องรบจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

นายชัชวาลย์เปิดประเด็นถึงการต่อสู้ของยายไฮ ขันจันทา
ผู้ได้รับกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนห้วยละห้า ใน จ.อุบลราชธานี ที่ล่าสุด
คณะรัฐมนตรี มีมติยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ กรณีปล่อยน้ำลงในที่นา
จนทำให้ได้รับความเสียหาย โดยยายไฮ เรียกร้องเรื่องนี้มาตลอดเกือบ 30 ปี
นายสุวัตร กล่าวต่อว่า การต่อสู้ของยายไฮ
ตนอยากให้คนไทยลองมานำเปรียบเทียบกับกรณีการสูญเสียพื้นที่ 4.6
ตร.กม.ให้แก่กัมพูชา ซึ่งแม้ที่นาของยายไฮ จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ยายไฮ
ก็ต่อสู้อย่างไม่ท้อถอย เพื่อรักษาสมบัติของตนเองให้ถึงที่สุด
แล้วทำไมคนไทยถึงนิ่งเฉย ไม่ออกมาต่อสู้ ทวงสิทธิในพื้นที่ 4.6 ตร.กม.
ซึ่งเป็นของคนไทยทุกคน ตนจึงอยากฝากไว้ว่า หากเราอยากจะได้ความยุติธรรม
ถ้าอยู่นิ่งเฉย เราจะไม่มีวันได้สิ่งนั้นมา

จากนั้น นายชัชวาลย์เปิดประเด็นสุดท้าย ถึงกรณีวันนี้
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ส่งทนายความเดินทางไปศาลปกครอง
เพื่อยื่นฟ้อง ป.ป.ช. ฐานไม่ได้ตรวจสอบบัญชีพยาน
พร้อมทั้งขอให้เพิกถอนมติ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิด คดี 7 ตุลาฯ ทมิฬ
ที่สั่งสลายการชุมนุมพันธมิตรฯ โดยใช้อาวุธร้ายแรง ซึ่งประเด็นนี้
นายสุวัตร กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญระบุให้การคุ้มรองการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.
โดยการที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ส่งทนายความไปฟ้อง ตนอยากถามว่า ในคณะกรรมการ
ป.ป.ช. มีใครเป็นศัตรูกับ พล.ต.อ.พัชรวาท บ้าง แล้วสิ่งที่
ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด คดี 7 ตุลาฯ ทมิฬ ไม่ใช่เป็นเพราะ พล.ต.อ.พัชรวาท
สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมพันธมิตรฯ
ที่หน้ารัฐสภา โดยมีการยิงแก๊สน้ำตา
ไม่มีคุณภาพพุ่งใส่ตัวประชาชนผู้บริสุทธิ์ จนทำให้บาดเจ็บและล้มตายหรือ
ซึ่งตนเชื่อว่าในที่สุดแล้ว พรุ่งนี้ (24 ก.ย.)
ศาลปกครองจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องคำร้องดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า สิ่งที่
ป.ป.ช. ตัดสินชี้มูลความผิดไป มีพยานหลักฐานระบุชัดเจน

นายสุวัตรกล่าวปิดท้ายว่า
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีความของพันธมิตรฯ
ขณะนี้ตนเตรียมเดินทางไปฟ้องร้องเพิ่มเติม
ในกรณีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ที่ยังไม่ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด เนื่องจากตนเห็นว่า
ต้องดำเนินการจัดการให้หมด เพื่อให้คนกระทำความผิด
ต้องได้รับโทษที่ตนเองก่อไว้ ส่วนยอดเงินบริจาคที่พ่อแม่พี่น้องพันธมิตรฯ
ร่วมกันส่งปัจจัยมาช่วยเหลือกองทุนสู้คดี
เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายด้านคดีความต่างๆของพันธมิตรฯ
ตอนนี้มียอดรวมทั้งสิ้น 7,100,000 บาท
ซึ่งตนต้องขอขอบคุณในน้ำใจของพี่น้องพันธมิตรฯ ทุกคน

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000111744

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น