จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไอเดียเก๋นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างบ้าน
ประหยัดพลังงานไว้อยู่
อาศัยเอง โดยให้ชื่อว่า "บ้านชีวาทิตย์" หรือ Bio-Solar Home
เป็นบ้านที่สามารถผลิตน้ำ และไฟฟ้าใช้ได้เองถึง 6,200 วัตต์
โดยตัวบ้านทำจากไม้ ทำให้
อุณหภูมิภายในบ้านเย็นกว่า อุณหภูมิภายนอกถึง 5 องศาเซลเซียส
จึงประหยัดพลังงานในการใช้ เครื่องปรับอากาศได้ถึง 4 เท่า
ต่างจากบ้านธรรมดา ที่
อุณหภูมิภายในบ้านจะร้อนกว่าอุณหภูมิภายนอกอยู่ 3 องศา
ส่วนหลังคามีแผงโซล่าร์ เซลล์ แบบพิเศษ ที่นอกจากจะให้พลังงานแล้ว
ยังสามารถนำน้ำค้าง
มาใช้เป็นน้ำสะอาด ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมี bio-gas
ที่เกิดจากการหมักใบไม้ และอุจจาระ โดยทำบ่อเกรอะไว้ 3 บ่อ
เพื่อรองรับและกรองของเสีย ทำให้บ่อ
เกรอะที่ 3 มีน้ำใสและไม่มีกลิ่น สามารถปล่อยไปในชั้นใต้หิน
เพื่อเป็นน้ำใต้ดินสำหรับหล่อเลี้ยงต้นไม้
คุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ "บ้านชีวาทิตย์" คือ มีกระจกตัดเสียงได้
ดังนั้น เสียงรถตุ๊กตุ๊ก เสียงรถยนต์ และเสียงรบกวนต่างๆ
ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่ในช่วง
ระดับกลาง ไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปในบ้านได้
แต่กระจกนี้จะไม่ตัดเสียงที่อยู่ในระดับสูงและระดับต่ำ
ซึ่งเป็นเสียงที่เราชอบฟังกัน เช่น เสียงนกร้อง และ
เสียงลมพัดใบไม้
ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเพลิดเพลินกับเสียงดังกล่าวได้ตามปกติ
นับเป็นบ้านที่ใช้เทคนิคในการก่อสร้างค่อนข้างยาก และเป็นนวัตกรรมที่
ล้ำยุคไปประมาณ 15 ปี มีต้นทุนในการก่อสร้างประมาณ 3.5 ล้านบาท
เหตุที่สร้าง "บ้านชีวาทิตย์" ประหยัดพลังงานขึ้นมานี้ ดร.สุนทรกล่าวว่า
เป็นเพราะตน
เองเคยทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
และยอมทิ้งเงินเดือนกว่า 5 แสนบาท มารับเงินเดือนเริ่มต้นในประเทศไทยที่
9,600 บาท
ทำให้ลำบากมากในช่วงแรก จึงคิดทำวิกฤติให้เป็นโอกาสที่ดี
ด้วยการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานมาถึง 3 เวอร์ชั่น
และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการ
คิดค้นออกแบบบ้านชีวาทิตย์ อันเป็นเวอร์ชั่นที่ 4..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น