...+

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นักวิจัยเภสัช มช. เตือนวัยรุ่น ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก

นักวิจัยเภสัช มช. เผยผลวิจัย เรื่องความรู้ ทัศนคติ
และพฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
พบวัยรุ่นใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินกันอย่างแพร่หลาย
มีการใช้บ่อยครั้งและมีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก
อาจส่งผลให้ตกเลือดและแท้งเป็นอันตรายได้
แนะสถานศึกษาสร้างความรู้เพศศึกษาและการใช้ยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง
เตือนวัยรุ่นละเลิกความเสี่ยงจากพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีความพร้อม
รวมทั้งเรียกร้องร้านขายยาเป็นจุดบริการให้ความรู้ก่อนตัดสินใจใช้ยา

ภญ.รศ.ชบาไพร โพธิ์สุยะ นักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า
ปัจจุบันความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาคุมฉุกเฉินมีน้อยมาก
ในขณะที่พฤติกรรมความเสี่ยงของวัยรุ่นในการมีเพศสัมพันธ์
หรือภัยทางเพศเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นหันมาใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยขาดความเข้าใจ
ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก
และความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่น่าเป็นห่วงคือ
มีการใช้แทนยาคุมกำเนิดตามปกติ
ทั้งๆที่ประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินน้อยกว่า
และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ได้

"การ คุมกำเนิดด้วยยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์เฉพาะฉุกเฉินเช่น
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้การป้องกันวิธีอื่นมาก่อน
ใช้ถุงยางอนามัยแล้วแต่ไม่แน่ใจว่ารั่วหรือแตก
ลืมกินยาแบบประจำวันติดต่อกันสองวัน ใส่ห่วงอนามัยแต่ห่วงหลุด
มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไม่ปลอดภัย กรณีถูก ข่มขืน
ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็น
วิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ระดับหนึ่ง
แต่ในทุกปีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ยังคงเกิดขึ้น
ก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้านระบบสุขภาพและสังคม"

" สำหรับในประเทศไทย
มีแนวโน้มการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีความสะดวกในการซื้อ การพกพา
วิธีการกินไม่ยุ่งยากเหมือนยาคุมทั่วไป
แต่ยาเม็ดคุมกำเนิดมีประโยชน์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้นไม่สามารถ
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้"

ทั้งนี้ นักวิจัย ได้ทำการศึกษากลุ่มร้านยาในจังหวัดเชียงใหม่
พบว่ามีการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเพิ่มขึ้น
และมีการใช้อย่างไม่เหมาะสมในกลุ่มวัยรุ่น
และปัญหาการทำแท้งส่วนใหญ่เกิดจากวัยรุ่นและหนุ่มสาว
ที่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หรือไม่มีความพร้อมในการมีบุตร

กลไก การออกฤทธิ์ของเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ชนิด levonorgertrel
หรือชนิดฮอร์โมนระหว่าง estrogen และ progestogen
จะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก มีผลต่อภาวะฮอร์โมน
และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์
อีกทั้งประสิทธิภาพไม่เทียบเท่ายาคุมปกติและยิ่งเสี่ยงหากใช้บ่อยครั้ง

จากผลการศึกษากลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการ
ศึกษา ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา หรือมหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2551
จำนวน 12 สถาบัน ในช่วงเดือนธันวาคม 2551 -มกราคม 2552
เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในช่วงอายุ 13-25 ปี จำนวน 418 คน
พบว่ากลุ่มนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศ
สัมพันธ์ร้อยละ 80.0 และใช้ยาคุมฉุกเฉินร้อยละ 29.7
โดยมีร้านขายยาเป็นสถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างได้รับยาและข้อมูล

จากการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน พบว่า
ร้อยละ 87.1 มีความรู้ในระดับน้อย ในส่วนทัศนคตินั้น พบว่า โดยภาพรวม
กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ซึ่งอาจทำให้มีการใช้แทนยาคุมกำเนิดที่เป็นยาหลัก
นับเป็นเรื่องที่ควรปรับความรู้และทัศนคติ
เมื่อได้รวบรวมข้อมูลในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน ก็พบว่ามีการใช้ไม่ถูกต้อง
คือ มีการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดผิดกลุ่มเป้าหมาย ผิดวัตถุประสงค์
ผิดขนาดและผิดวิธี ส่งผลถึงปัญหาเกี่ยวโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และก่อปัญหาการทำแท้งตามมา

ทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบว่า
กลุ่มวัยรุ่นที่มีความเสี่ยง คือกลุ่มที่ค่อนข้างอิสระ
หรือกลุ่มที่มีแนวโน้ม sexually active พบว่า
การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมักไม่มีความพร้อม
จึงอาจทำให้ต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนินฉุกเฉิน
ซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากวัยรุ่นยังขาดความเข้าใจที่ถูกวิธี

"ยา เม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูงก็ต่อเมื่อ
มีการนำมาใช้ตามข้อบ่งใช้ที่กำหนดไว้ และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยคือ การมีรอบระดูผิดปกติ
คลื่นไส้อาเจียน แต่หากใช้บ่อยและต่อเนื่อง มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
ไม่เพียงแต่การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดไม่ถูกต้องเท่านั้น
หากผลการศึกษายังพบว่า แม้จะมีการใช้ถุงยางอนามัยถึงร้อยละ 75.1
แต่ยังพบว่าวิธีการคุมกำเนิดที่รองลงมา คือ การหลั่งภายนอก
ซึ่งมีเปอร์เซ็นสูงถึงร้อยละ 35.5
นับเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงทั้งการตั้งครรภ์และการติดโรค"

ท้ายนี้ ทีมนักวิจัยได้ให้คำแนะนำกับวัยรุ่นเกี่ยวกับกี่ใช้ยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีว่า
กลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินใน
ระดับต่ำซึ่งไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนินฉุกเฉินอย่าง
ถูกต้องเหมาะสม จึงควรให้ข้อมูลความรู้ที่ครอบคลุมถูกต้องทุกด้าน
ทั้งด้านบ่งใช้ วิธีการใช้ ประสิทธิภาพของยา
และระยะเวลาที่ต้องรับประทานยา
รวมทั้งข้อมูลการใช้ถุงยางอนามัยในแง่ของการป้องกันการตั้งครรภ์และการ
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย

" เราควรจัดบริการเกี่ยวกับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้โดยง่ายสะดวกรวดเร็ว
สามารถให้ข้อมูลและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม
ในส่วนร้านยาเป็นสถานบริการสุขภาพ
ที่กลุ่มนักเรียนนักศึกษามาใช้บริการกรณีต้องการยาเม็ดคุมกำเนินฉุกเฉิน
เภสัชกรประจำร้านยาจึงควรมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
และให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินต่อผู้รับบริการทุก
ครั้ง"


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000092983

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น