...+

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ความจริงเรื่อง "เด็กไร้สัญชาติ" 2 แสนคนบนผืนแผ่นดินไทย

ความจริงเรื่อง "เด็กไร้สัญชาติ" 2 แสนคนบนผืนแผ่นดินไทย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


รายงานพิเศษโดย.....สุกัญญา แสงงาม


จาก ผลพวงของหลายปัจจัย ทั้งปัญหาความยากจน ปัญหาเศรษฐกิจ
ตลอดรวมถึงปัญหาสงคราม
ทำให้ในปัจจุบันผืนแผ่นดินไทยเต็มไปด้วยบรรดาผู้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเป็น
จำนวนมาก

แน่นอน นั่นเป็นปัญหาที่รัฐบาลไทยจำต้องแบกรับเอาไว้

ทั้งนี้ ในจำนวนหลายๆ ปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพที่ถาโถมเข้ามานั้น
ปัญหา "เด็กไร้สัญชาติ" กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ขยายวงกว้างออกไปทุกที
ทั้งในเรื่องของจำนวนที่มีมากกว่า 200,000 คน
และภาระในเรื่องของการจัดการศึกษาที่ต้องใช้ทรัพยากรเข้าไปรองรับเป็นจำนวน
มาก


-1-

"ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)
ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีเด็กไร้สัญชาติอยู่ในประเทศไทยกว่า 2 แสนคน
ในจำนวนนี้พ่อแม่เข้ามาถูกต้องตามกฎหมายประมาณ 6 หมื่นคน
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะได้รับการศึกษาเหมือนเด็กไทยทุกประการตามพันธกรณีในสนธิ
สัญญาระหว่างประเทศ ส่วนที่เหลือแยกกระจายออกไปในอีก 2 จุด
โดยเด็กอีกกว่า 4 หมื่นคนเรียนอยู่ในศูนย์พักพิง
ขณะที่อีกนับแสนคนเรียนในศูนย์การเรียนขององค์กรต่างๆ กว่า 100
ศูนย์ทั่วประเทศ

"แค่ตากเพียงจังหวัดเดียว มีศูนย์การเรียนรู้มากถึง 61 แห่ง
และยังมีกระแสมาว่ามีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งขืนให้ตั้งเพิ่มขึ้นแล้วจัดการเรียนการสอนหลากหลายมาตรฐาน
ในอนาคตอาจสร้างปัญหาที่มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมและความมั่นคงประเทศได้"

"ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนให้มีมาตรฐาน
ซึ่งรวมถึงคุณภาพครูผู้สอน หลักสูตร ซึ่งขณะนี้
ศธ.ได้จัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการศึกษาให้แก่บุคคล
ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร หรือไม่มีสัญชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว
และเตรียมเสนอ รมว.ศธ.ลงนามเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเร็วๆ
นี้" นายชัยวุฒิให้ข้อมูล

ด้านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อธิบายเพิ่มเติมว่า
ศูนย์การเรียนส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาท้องถิ่น
ที่ไม่ใช่ภาษาไทย เช่น ภาษาพม่า กระเหรี่ยง และภาษาอังกฤษโดยครูต่างชาติ
เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะเด็กเหล่านี้อยู่ในไทยแต่ไม่รู้ภาษาไทยเลย
จึงเห็นควรจัดหลักสูตรเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้แก่เด็กเหล่านี้ และ
ขณะนี้ได้มีการจัดครูเข้าไปสอนภาษาไทยในศูนย์การเรียนรู้
รวมทั้งให้ศูนย์การเรียนรู้ส่งเด็กมาเรียนภาษาไทยกับโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)


อ่านภาษาไทยไม่ออก

-2-

"บุญส่ง นารีภาพเจริญ" หรือ"ครูเปา"
แห่งศูนย์การเรียนเพื่อเด็กด้อยโอกาส ซาทุเหล่ อ.แม่สอด จ.ตาก เล่าว่า
เป็นครูสอนวิชาภาษาไทยมาประมาณ 1 ปี ช่วงที่เข้ามาแรกๆ
พบปัญหามากมายเนื่องจากเด็กไม่ค่อยรับภาษาไทย มีอาการต่อต้าน
จึงต้องอาศัยกิจกรรม สื่อการเรียนการสอน มากระตุ้นความสนใจของเด็ก
แล้วพยายามบอกเด็กว่าภาษาไทยมีความจำเป็น ต้องใช้พูดคุยกับคนไทย
หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยจะเน้นเพื่อการสื่อสารเป็นหลักเท่านั้น
ซึ่งที่ผ่านมาศูนย์จัดการเรียนการสอนภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ
ให้แก่เด็กในศูนย์ประมาณ 700 คน

ทั้งนี้ ชุมชนล้อมรอบซาทุเหล่
เป็นชาวพม่าที่พ่อแม่เข้ามาขายแรงงานในไทย ส่วนลูกๆ
เนื่องจากพ่อแม่ไม่ไปแจ้งเกิดกับทางการพม่า
ส่งผลให้กลายเป็นเด็กไร้สัญชาติ
จะไปเข้าเรียนโรงเรียนที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้
เพราะไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นชาติไหน พ่อแม่จึงส่งมาเรียนกับศูนย์ฯ
ที่มีองค์กรเอกชนสนับสนุน ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

"เด็กจะเรียนๆ หยุดๆ เพราะต้องไปช่วยพ่อแม่ทำงาน
ทำให้การเรียนไม่ค่อยต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เด็กจะพูดได้ 2 ภาษา พม่า
กับอังกฤษ แต่ตอนนี้จะเพิ่มภาษาไทยอีก 1 ภาษา สำหรับเด็กที่เรียนจบเกรด
10 จะได้ใบเกียรติบัตรใช้เป็นหลักฐานในการเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนภาษาไทยไม่ค่อยก้าวหน้า
เนื่องจากขาดสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งตอนนี้อยากได้หนังสืออ่านเล่น
การ์ตูน นิทานเพิ่มเติม" ครูเปาฉายภาพ

ด้าน "สุเทพ ธรรมจักร" ผู้อำนวยการ ร.ร.บ้านท่าอาจ
กล่าวถึงหลักสูตรภาษาไทยเพิ่มเติมว่า ในปี 2552
ได้ทำข้อตกลงกับศูนย์การศึกษา 5 ศูนย์ คือ ศูนย์เซทรานา ศูนย์หนองบัวแดง
ศูนย์พะยาวดาว ศูนย์แควเคอบอง และศูนย์นิวเดย์ เพื่อจัดการศึกษาร่วมกัน
โดยนักเรียนจากศูนย์ดังกล่าวจะผลัดกันมาเรียนภาษาไทยสัปดาห์ละ 1 วัน
เพราะหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละศูนย์ไม่มีการสอนภาษาไทย
แล้วไม่มีใครรู้ว่าเขาสอนอะไรให้เด็กบ้าง พอเปิดให้เด็กมาเรียนกับเรา
แล้วแลกเปลี่ยนครูผู้สอน มีการพูดคุยกับผู้สอน
จึงรู้ว่าเด็กเรียนรู้อะไรบ้างจากศูนย์
นอกจากนี้เด็กมาเรียนกับเรายังนำสามารถวุฒิไปศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น

ด.ญ.วัลลภา หน่อเชื้อ หรือ ชมพู่ (ชาวพม่า) นักเรียน ชั้น ป.5
เล่าให้ฟังว่า ข้ามเรือไปกลับพม่าเพื่อมาเรียนที่ร.ร.บ้านท่าอาจทุกวัน
เพราะผูกพันกับคนไทยมาตั้งแต่เด็ก เกิดฝั่งไทยและโตฝั่งไทย
แต่เพิ่งย้ายกลับไปฝั่งพม่าเมื่อปีที่แล้ว
นอกจากนี้การเลือกเรียนที่นี่จะได้เรียน 3 ภาษา ไทย พม่า และอังกฤษ
ถ้าย้ายไปเรียนที่พม่าจะเรียนภาษาเดียวคือพม่า
อีกอย่างค่าใช้จ่ายในการเรียนกว่า แสนจั๊ดต่อปี
เรียนที่ไทยไม่เสียค่าใช้จ่าย จะได้สิทธิเหมือนเด็กไทยทุกอย่าง

"ตั้งใจ จะเรียนต่อในไทยไปจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
แล้วเลือกเรียนแพทย์ที่ไทย และเป็นหมอรักษาคนไทยและพม่าในไทย
จะมีรายได้สูงกว่าเป็นหมอที่พม่า" ชมพู่ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น