...+
▼
วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
‘นักศึกษา – มหาวิทยาลัย’ ใครเกาะใครสร้างชื่อ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
เป็นปกติไปแล้วสำหรับเวทีการประกวดต่างๆ ทั้งประเภทประกวดความคิดสร้างสรรค์ ประกวดความงาม ที่ในกติกาการรับสมัครโดยมากต้องระบุระดับการศึกษาว่า 'กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี' หรือ 'จบการศึกษาระดับปริญญาตรี'
เรียกได้ว่าระดับการศึกษาเป็นเครื่องการันตีความรู้ความสามารถอย่าง หนึ่ง ทั้งเวทีประกวดความรู้ความสามารถและเวทีประกวดความงาม (กรณีเวทีความงามยุคนี้ แทบทุกเวที นอกจากระดับการศึกษาแล้ว ยังระบุอีกด้วยว่าต้องมีบุคลิกเป็นตัวของตัวเองอีกด้วย)
เหตุผลที่นิสิต นักศึกษา เข้าประกวดกันนั้นมีหลากหลาย ซึ่งในส่วนของประกวดความรู้ความสามารถนั้น โยมากแล้วบอก เป็นโอกาสดีที่จะได้วัดความรู้ที่ร่ำเรียนมาว่าตรงกับความต้องการของตลาด หรือไม่ และหากได้รับรางวัลก็ถือว่าเป็นผลกำไรที่ได้รับ อย่าง วง MAMA CUB จากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม เจ้าของรางวัลชนะเลิศจากการประกวดมิวสิค แคนอน ยูลีก 2009 บอก
การได้รับรางวัลชนะเลิศนั้น ถือเป็นความภาคภูมิใจของพวกเขา แต่สิ่งที่เขาดีใจที่สุดก็คือการได้ขึ้นเวทีไปแสดงความสามารถทางด้านดนตรีบน เวทีให้เพื่อนๆ ที่มาดูได้เห็น
ส่วนเวทีการประกวดความงามก็เป็นเช่นเดียวกันที่นิสิต นักศึกษา เลือกที่จะลองเข้าประกวด ซึ่งโดยมากผู้ที่ได้รับรางวัล ส่วนมากจะบอกถึงเหตุผลที่เข้าประกวดว่า เพราะต้องการหาประสบการณ์ และการได้รับรางวัลถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หลังการประกวดนิสิต นักศึกษา ที่ได้รับรางวัล มักจะได้รับการติดต่อจากอาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เขาและเธอเหล่านั้นทำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ด้วยหวังที่จะให้ชื่อของมหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักของสาธารณชน
“ตั้งแต่ประกวดความงามเมื่อปี 2007 มา ก็เหมือนเป็นพรีเซ็นเตอร์ของมหาวิทยาลัยเลย แล้วพอหนูได้รางวัลชนะเลิศที่หนึ่งมา ทางมหาวิทยาลัยยิ่งให้ทำหน้าที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ของมหาวิทยาลัยมากขึ้น”
“มิ้นต์” นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนเเห่งหนึ่ง เจ้า ของรางวัลชนะเลิศประกวดความสามารถรายการหนึ่งเล่าให้ฟัง พร้อมทั้งบอกต่อไปว่า เธอเข้าใจดีว่าเหตุที่เธอต้องทำหน้าที่เป็นเหมือนกับพรีเซ็นเตอร์ ของมหาวิทยาลัย เพราะมหาวิทยาลัยที่เธอเรียนนั้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งไม่ค่อยจะเป็นที่พูดถึงหรือกล่าวขานถึงกันมากนัก อีกทั้งนักแสดง นักร้องก็ไม่เลือกที่จะเข้าเรียนสถาบันของเธอ
“สำหรับหนู หนูคิดว่าก็ทำเพื่อมหาวิทยาลัยนั่นล่ะ เพราะหนูเลือกเข้าเรียนที่นี่ซึ่งไม่ดัง ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วๆ ไปนัก เมื่อจบการศึกษาแล้วก็อาจจะหางานทำยากสักหน่อย ดังนั้นเมื่อหนูมีโอกาสที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จัก ก็ไม่เป็นไร แต่ขออย่างเดียว วันที่หนูต้องเรียนเนี่ย ไม่ต้องพาหนูไปออกรายการโทรทัศน์ได้ไหม คณะที่หนูเรียนต้องท่องจำเยอะน่ะ”
ในขณะที่ "บี" นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนอีกรายหนึ่ง ซึ่งเจ้าตัวเป็นนักกีฬาแข่งขันความเร็ว บอกว่าเขาเองเป็นคนชอบความเร็ว และเข้าแข่งขันความเร็วมาโดยตลอด ซึ่งก่อนหน้านี้เขาไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก จนกระทั่งเขาไปได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ และไปชนะเลิศการแข่งขันระดับนานาชาติมา เขาก็เริ่มได้รับการติดต่อจากมหาวิทยาลัยให้มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ของมหาวิทยาลัย
“ผมเล่าเรื่องสปอนเซอร์ก่อนนะครับ หลังจากผมแข่งได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศแล้ว ผมอยากไปแข่งระดับนานาชาติ แน่ล่ะต้องใช้ทุนสูง ซึ่งเรื่องทุนผมไม่กลัวเพราะทีมแข่งของผมหาสปอนเซอร์ได้เองอยู่แล้ว แต่ปัญหาก็คือต้องมีสมาคมรับรองต้องไปแข่งในนามสมาคม ผมก็ไม่รู้ว่าสมาคมไปตกลงอะไรกับสปอนเซอร์ เขาก็เอาผมไปถ่ายรูปโดยให้ผมถือกล่องสินค้าของสปอนเซอร์แชะเดียวเท่านั้นล่ะ ครับ จนผมไปแข่งแล้วและได้รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติกลับมา ผมไม่เคยเห็นเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ที่สมาคมเขาจับยัดใส่มือผมเลย ที่ไปก็ไปด้วยทุนตัวเองล้วนๆ เหมือนเดิม
ทำนองเดียวกันครับ ผมเรียนก็ไม่ได้มีใครมาสนใจหรือใส่ใจอะไรผม แต่เวลาที่ผมจะไปแข่งที่ต่างประเทศผมก็ขอสอบก่อนคณบดีก็ไม่อนุญาต เพราะไม่ได้ไปในนามมหาวิทยาลัย แต่ยังดีที่มีอาจารย์บางท่านไปเรียนกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้ ก็เลยได้รับอนุญาตให้สอบก่อน แล้วพอกลับมา ผมนี่กลายเป็นที่ต้องการตัว เดี๋ยวคณบดีเชิญไปพบ เดี๋ยวฝ่ายประชาสัมพันธ์เรียกไปให้สัมภาษณ์กับสื่อฯ”
ส่วน "อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์" ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ระบุว่าเหตุที่มหาวิทยาลัยเอกชนซึ่งไม่ค่อยมีชื่อเสียงจะต้องนำนักศึกษาซึ่ง มีรางวัลเป็นเครื่องการันตีออกมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ของมหาวิทยาลัย เพราะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จัก
“ยุคนี้การแข่งขันสูงมาก มหาวิทยาลัย ก็มีการแข่งขันสูงไม่เหมือนเมื่อก่อนที่มีมหาวิทยาลัย เพียงไม่กี่มหาวิทยาลัย เดี๋ยวนี้มีทั้งมหาวิทยาลัยรัฐที่เปิดภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเอกชนซึ่งก็เปิดเพิ่มขึ้นมามาก แล้วยังมีมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก ซึ่งทุกๆ แห่งก็ต้องพยายามทำให้มหาวิทยาลัยของตัวเองเป็นที่รู้จัก และสิ่งที่คาดหวังก็คือจะได้จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของตัวเองมาก ขึ้นกว่าเดิม”
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเอกชนรายเดิมยังบอกอีกด้วยว่า การที่มหาวิทยาลัยทำเช่นนี้อาจจะดูเหมือน มหาวิทยาลัยเกาะนักศึกษา เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น แต่อยากให้ลองมองในมุมกลับกันบ้าง
“ของเราเองมหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จัก นักศึกษาหลายคนทีเดียวที่สอบเข้ามาได้แล้วก็ไม่ตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง บางคนอยู่ได้เทอมเดียวก็ต้องรีไทร์แล้ว แต่นั่นเป็นเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้ถ้าเด็กได้เกรดบีขึ้นไป แม้ว่าจะโดนรีไทร์ไป แต่ก็สามารถเอาเกรดที่ได้ตั้งแต่บีขึ้นไปนั่นล่ะโอนเข้ามาเมื่อสมัครสอบเข้า มาใหม่ได้
ซึ่งเด็กพวกนี้อาจจะจบการศึกษานะ พี่ใช้คำว่าอาจจะ เพราะว่าเขาใช้มหาวิทยาลัยเหมือนเป็นที่อยู่ของเขา พวกนี้จะไม่ค่อยเข้าเรียนนักหรอก จะเห็นเขาเวลามีการประกวดเวทีนู้นเวทีนี้ ซึ่งเท่าที่ทราบก็คือ ใบสมัครก็จะระบุไว้ว่าขั้นต่ำต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือไม่ก็กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี
คือเขา เห็นมหาวิทยาลัยเป็นแค่เครื่องมือการันตีให้เขาสามารถที่จะเข้าประกวดได้ สามารถที่จะพูดกับคนได้ว่า เขาก็มีการศึกษานะไม่ใช่ว่าไม่มีการศึกษา สำหรับตรงนี้พี่มองว่าเขาเกาะมหาวิทยาลัยเพื่อให้ตัวเองมีชื่อเสียง”
ในขณะที่ "อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยเอกชน" อีกแห่งหนึ่ง กล่าว ว่า ทุกวันนี้ทำหน้าที่สอนก็รู้สึกลำบากใจ เพราะการที่ลูกศิษย์ได้รับรางวัลมา เมื่อมาขออนุญาตไปปฏิบัติหน้าที่ให้กับมหาวิทยาลัย จะไม่อนุญาตก็ถูกผู้ใหญ่ต่อว่า
“ลำบากใจจริงๆ เพราะเป็นคำสั่งจากผู้ใหญ่ ถ้าเด็กคนนี้จะลาไปทำกิจกรรมให้กับมหาวิทยาลัยต้องอนุญาต ซึ่งเราจะไปขัดก็ไม่ได้ แถมเวลามีงานต้องส่ง เด็กเหล่านี้จะขอส่งล่าช้า ในขณะที่เพื่อนที่เรียนด้วยกันต้องทำกฎที่มี เราเป็นผู้สอนเรารู้สึกลำบากใจเช่นกัน เพราะยุคนี้มหาวิทยาลัยต้องการจำนวนนักศึกษาเข้าใหม่มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาลดลง 5 เปอร์เซ็นต์มา 2 ปีติดต่อกันแล้ว จะว่าไปเหมือนมหาวิทยาลัยอาศัยเขาสร้างชื่อเสียงให้เลยนะ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไร”
ส่วน "อาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยรัฐ" รายหนึ่งบอก ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว และผู้ที่อยากเรียนก็ต้องพยายามสอบเข้าให้ได้ ซึ่งเด็กที่สอบเข้าได้สังคมก็มองว่าเป็นเด็กเก่งที่สอบแข่งขันเข้ามาเรียน ได้ เด็กเหล่านี้บางคนก็อยากหาประสบการณ์แปลกๆ เมื่อมีการประกวดเขาก็ลองไปสมัครดู และด้วยชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย คนในสังคมก็มองว่าเด็กเป็นคนเก่ง ยิ่งถ้าหน้าตาดี ยิ่งถูกจับตามองเป็นพิเศษ
“ไม่อยากให้มองว่าใครเกาะใครสร้างชื่อเสียงนะ เพราะเด็กของเราเองเขามีความสามารถระดับหนึ่งที่เขาสอบเข้ามาเรียนได้ เมื่อไปประกวดก็ต้องได้รับการจับตามองมากกว่าคนอื่น อีกอย่างก็คือ เมื่อเขาเก่งอยู่แล้วจะประกวดความรู้ ความสามารถ หรือประกวดความงาม เขาก็สามารถที่จะใช้ปฏิภานไหวพริบในการแก้ไขหรือตอบโจทย์ที่ได้รับมาได้ดี กว่าคนอื่น ซึ่งนั่นก็เป็นความสามารถของเขาเอง และมหาวิทยาลัยของเราก็ไม่ต้องอาศัยเขาในการสร้างชื่อเสียงด้วย”….
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000016366
จริงๆการเรียนในมหาวิทยาลัยก็คือการศึกษาชีวิตจริงเพิ่มขึ้น คนสอบเข้าเป็นแสนแต่เอนติดไม่กี่หมื่น ถามว่าที่เอนไม่ได้คุณภาพแย่หรือ เรามีลูกเรียนทั้งของรัฐที่สามย่าน และอีกคนเรียกเอกชน พอลูกค้าฝรั่งโทรมาหาไอ้คนเรียนที่เอกชนกล้าพูดกล้ารับสาย
พวก ที่เรียนเอกชนก็มักคิดว่าตัวเองด้อยกว่า พอเข้าเรียนก็ไม่ตั้งใจเรียน ทั้งๆที่อาจารย์ก็มาจากของรัฐก็มี อาจารย์ก็ให้ความรู้เต็มที่เหมือนที่สอนที่รัฐ อยู่ที่ตัวเราเองทั้งนั้น พอไปเรียนต่างประเทศต่อก็จะรู้ได้ทันทีว่าเขาไม่ได้มาเลือกดูว่าต้องมาจ่า กรัฐถึงรับ เขาสัมภาษณ์ถ้ารู้เรื่องก็รับ บางครั้ง TOEFLคะแนะนไม่ถึงแต่ถ้าเราพูดรู้เรื่องเขาก็รับครับ ตอนเรียนพยายามฝึกภาษาอังกฤษให้ดี ไปสัมภาษณ์งานถ้าเราพูดรู้เรื่องเขารับครับ (ถ้าไม่เล่นพรรคเล่นสถาบัน)
น้องฟังหน่อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น