...+

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หมูอนามัย-ไก่อารมณ์ดี เกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
       กระแสการดูแลรัก ษาสุขภาพยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ ผู้รักสุขภาพทั้งหลายต่างมองประเด็นอาหารสุขภาพไปในเชิงของพืช ผัก ผลไม้ เป็นส่วนใหญ่ อาทิ ผักปลอดสารพิษ ข้าวกล้อง ข้าวงอก เป็นที่ทรมานจิตกรีดหัวใจบรรดา Meat Lover เป็นยิ่งนัก แต่ถึงตอนนี้ บรรดาพลพรรครักเนื้อต่างสามารถร้องเฮ! ดังๆ ได้แล้ว เมื่อผู้ผลิตอาหารประเภทเนื้อหัวใส เข็นผลิตภัณฑ์ “เนื้อดี” ออกมาสู่ท้องตลาด
      
       ระยะหลังๆ หากคุณแม่บ้านออกไปจ่ายตลาดตามซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ หรือในห้างสรรพสินค้า จะเริ่มเห็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งหมูและไก่ รวมไปจนถึงไข่ไก่ ที่แปะป้ายเอาไว้ว่าเป็นเนื้อปลอดสารพิษ หมูและไก่เหล่านี้มีสุขภาพกายและจิตดี และในระบบการเลี้ยงมีกรรมวิธีการขุนเลี้ยงแบบไม่ใช้สารเคมี
      
       บางยี่ห้อบอก กล่าวว่า เลี้ยงดูอาหารสมุนไพร บางยี่ห้อระบุว่า เลี้ยงเป็นฟาร์มเปิด ให้หาอาหารเองแบบธรรมชาติ ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่อยากรับประทานอาหารสุขภาพ แต่ก็ยังหลงใหลในรสชาติอาหารประเภทเนื้อสัตว์อยู่ แต่ก็อยากเลือกเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยไร้สารเคมี ทำให้เกิดการเรียกชื่อเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อไข่ เหล่านี้อย่างเล่นๆ ว่า “หมูอนามัย ไก่อารมณ์ดี ไข่ไม่มีสารพิษ” ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพแต่ยังชอบเนื้อสัตว์อยู่เป็นอย่างมาก
      
       วิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล ประธานมูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวถึงผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่ไก่ ที่ทางผู้ผลิตโฆษณาว่าเป็น “หมูอนามัย ไก่อารมณ์ดี ไข่ไม่มีสารพิษ” ว่า ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค

       “ทุกวันนี้ผู้บริโภคต้องรับสารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายจากเนื้อสัตว์เ ข้าไปเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ และสารต่างๆ ฮอร์โมนในที่นี้ ก็คือ ฮอร์โมนเร่งโตที่ผู้ผลิตฉีดให้สัตว์ อย่างหมูหรือไก่ เพื่อเร่งให้โตและนำมาขายได้เร็ว นอกจากนี้การเลี้ยงในฟาร์มปิดที่มีจำนวนสัตว์อยู่กันอย่างหนาแน่น จะเสี่ยงต่อการติดโรคและแพร่ระบาดได้เร็ว ดังนั้นผู้ผลิตก็จะผสมยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ ให้สัตว์กินยากันไว้ก่อนเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ ซึ่งสารนั้นก็จะตกอยู่กับผู้บริโภคเมื่อกินเนื้อสัตว์นั้นๆ เข้าไป”
      
       วิฑูร กล่าวต่อไปอีกว่า การเลี้ยงไก่ หรือหมูในที่แคบ และขุนให้ได้น้ำหนัก ไม่ปล่อยให้หมูหรือไก่มีโอกาสได้ออกกำลังกายบ้าง นอกจากจะทำให้หมูและไก่เหล่านี้มีไขมันมากแล้ว ยังทำให้เนื้อเหล่านั้นไม่อร่อยอีกด้วย
      
       “สังเกตง่ายๆ ครับ ไก่บางยี่ห้อเรากินเข้าไปเราจะรู้สึกว่ามันเละๆ เนื้อไม่แน่น ไม่อร่อย ไก่แบบนี้คือไก่ที่ถูกเลี้ยงในที่แคบ ขุนเพื่อทำน้ำหนักอย่างเดียว ซึ่งจะมีไขมันสูง กินเข้าไปก็จะได้ไขมันเข้าไปในร่างกายมากด้วย”
      
       และในส่วนของสารเร่งสีนั้น ประธานมูลนิธิสายใยแผ่นดินให้ข้อมูลต่อไปอีกด้วยว่า มีการใส่ทั้งในหมูและในไข่ไก่ เพื่อให้เนื้อหมูและไข่ไก่มีสีแดงชวนรับประทาน ทั้งที่ไม่ได้เป็นสารที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อร่างกายของผู้บริโภคแต่อย่างใดเล ย

       “อย่างฮอร์โมนเร่งโตที่ตกค้างในเนื้อสัตว์นั้น เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปสู่ร่างกาย สารตกค้างนี้ก็จะเข้าสู่ร่างกายไปด้วย ซึ่งสารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะก่อความเสี่ยงในการป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ส่วนยาปฏิชีวนะตกค้างจากอาหารสัตว์ เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไป จะส่งผลให้คนที่กินเข้าไปมีอาการดื้อยาปฏิชีวนะ และเป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรคในกรณีการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาประเภทยาปฏิชีวน ะ”
      
       และเมื่อถามต่อถึงฉลากระบุมาตรฐานของเนื้อสัตว์อนามัยปลอดสารพิษ เพื่อที่ผู้บริโภคจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสังเกตเลือกซื้อ วิฑูรกล่าวว่า หน่วยงานที่จะออกฉลากให้แก่สินค้าจำพวกดังกล่าว คือ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีออกให้ในประเภทเนื้อสัตว์
      
       “สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นหน่วยงานเอกชนที่ทำหน้าดูแลออกฉลา กมาตรฐานผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีจากวิถีเกษตรอินทรีย์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการออกฉลากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ให้แก่ผลิตภัณฑ์เนื้อสัต ว์ มีแต่เฉพาะผลิตภัณฑ์จากพืช จำพวกผักหรือข้าว ซึ่งทำกันมาหลายปีแล้ว ส่วนของเนื้อสัตว์นั้น อยู่ในระหว่างการกำหนดมาตรฐาน แต่เท่าที่ทราบ ขณะนี้มีกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่กำลังศึกษาและพัฒนาเนื้อวัวและเนื้อไก่ปลอดสา รพิษอยู่”
      
       แต่เท่าที่เห็นในตลาดในขณะนี้ ราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ปลอดสารพิษที่วางขายอยู่ตามห้างสรรพสินค้าหรือซู เปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ จะมีราคาค่อนข้างสูง บางชนิดราคาเป็น 2 เท่าของผลิตภัณฑ์ปกติ ซึ่งในส่วนนี้ประธานมูลนิธิสายใยแผ่นดินกล่าวว่า แม้ราคาสินค้าเนื้อสัตว์ปลอดสารจะสูง แต่ถือว่าเป็นความคุ้มค่าที่เราซื้อความปลอดภัยแก่ร่างกายเราเอง
      
       “ ผมว่าถึงราคาจะสูงขึ้น แต่ก็ยังคุ้มค่าอยู่ ความคุ้มค่าในที่นี้คือการจ่ายเงินเพื่อแลกความปลอดภัยให้แก่ร่างกายของเราเ อง จ่ายเพื่อแลกกับการที่เราสามารถหลีกเลี่ยงสารเคมีสะสมในร่างกายได้” วิฑูร ทิ้งท้าย

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000007162

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น