...+

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ฟัง “ธรรมะผ่านมือถือ” ผ่อนคลายความเครียด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 ธันวาคม 2551 13:26 น.




“จน เครียด....”   “จน เครียด...ตกงาน”  “โอ้ย ...เซ็งเป็ด”  สารพัดปัญหาที่รุมเร้า ทั้งปัจจัยภายใน(ใจ)  ปัจจัยภายนอก  หลากเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่เราทุกคนไม่สามารถควบคุมหรือกำจัดได้  โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ผ่านมา ความเครียดของคนไทยส่วนใหญ่เกิดจากความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน   ยิ่งเมื่อไม่นานมานี้ เราได้รับทราบว่า คนไทยทุกวันนี้มีสถิติความสุขลดลง โดยเฉพาะคนเมือง เหล่านี้ล้วนมีเหตุจากทุกข์ จากปัญหา เกิดจากความเครียดที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง หรือแม้แต่กระแสสังคมที่เข้ามากระทบ
      
       สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ได้เกาะกุมจิตใจคนไทยมาเป็นระยะเวลานาน จนบางครั้งต้อง มาย้อนมองกันว่า เราจะมีทางออก หาทางแก้เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้ปัญหาและความเครียดเข้ามารุมเร้า
      
       " ธรรมะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน สมัยก่อนเราอาจจะเข้าวัดกันได้ทุกวัน ต่อมามีรายการธรรมะในช่วงเช้า ตี 4 ตี 5 เหล่านี้ก็ยังไม่เหมาะกับชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ แม้แต่การมีสื่ออินเทอร์เน็ต เทปเสียง หรือซีดี แต่จากประสบการณ์ เราพบว่าคนยุคนี้ก็ไม่ฟังต่อเนื่องเป็นชั่วโมงๆ อาจด้วยเวลาที่มีจำกัด หรือไม่มีความตั้งใจที่จะฟังยาวๆ ช่องทางที่จะเข้าถึงธรรมดูแล้วมีไม่กี่ทาง มือถือน่าจะสะดวกที่สุด"
      
       แต่ไม่เป็นไร วันนี้เรามีทางออก เรามีช่องทางให้คนไทยเราๆ ท่านๆ ได้มีโอกาสคลายเครียด แม้จะเป็นเพียงระยะสั้น กับเวลาเพียง 1-3 นาที ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรให้สมอง ให้ความคิดได้ผ่อนคลาย เพราะเมื่อเร็วๆ นี้   มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันจัดกิจกรรมดี เพื่อเผยแพร่คำสั่งสอนของพุทธศาสนาผ่านโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อ “ธรรมะใกล้มือ” หรือ "Dhamma4U"
      
       ท่านพุทธทาส ต้นกำเนิดนักเผยแพร่พระศาสนา
      
       จะว่าไปแล้วการเผยแพร่พระศาสนา คำสั่งสอนต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นมานาน ขึ้นอยู่กับวิธีการ ว่า จะใช้รูปแบบใด การสอนอย่างไหนจึงจะเข้าถึงประชาชนผุ้ฟังทุกคน อย่างกรณีที่ใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีในการเผยแพร่คำสอน เราพบว่าท่านพุทธทาส ท่านคือหนึ่งในผู้ที่นำเทคโนโลยีมาประกอบการบรรยาย ประกอบคำสอน เราจะพบว่า ท่านมีอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องกระจายเสียงมากมายหลายชุด หลายรูปแบบ  หลายยุคหลายสมัย
      
       ด ังนั้นการที่เรานำคำสอนทางพุทธศาสนามาเผยแพร่ผ่านโทรศัพท์มือถือ  น่าจะเป็นการต่อยอดหรือขยายช่องทางใหม่ที่สามารถเข้าถึงคนไทยทุกคน ด้วยมองว่าทุกวันนี้ คนไทยส่วนใหญ่ มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น และการเข้าร่วมโครงการกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส น่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเผยแผ่พระธรรมคำสอนสู่พุทธศาสนิกชนได้กว้ างที่สุด ซึ่งเป็นการพิจารณาจากตัวเลขผู้ใช้บริการ ที่มีกว่า 26 ล้านราย
      
       เกี่ยวกับเรื่องนี้ น.พ.เกษม วัฒนชัย ประธานคณะกรรมการ จัดตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ  กล่าวว่า การจัดกิจกรรมนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกัน ทั้ง หอจดหมายเหตุ กับ เอไอเอส ที่ร่วมกันเปิดโครงการ “ธรรมะใกล้มือ”  ด้วยเจตนาและแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะจัดหา “สื่อทางธรรมะ” ที่เข้าถึงได้โดยสะดวก สามารถดึงดูดความสนใจ และท้ายที่สุดได้สาระกลายเป็นบริการเสริมทางโทรศัพท์มือถือของเอไอเอส โดยผู้รับไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
      
       ขณะที่น.พ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการ และเลขานุการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า  บนความร่วมมือในการจัดทำครั้งนี้  เริ่มจากอาสาสมัครของหอจดหมายเหตุ จะเป็นฝ่ายคัดสรรบทธรรมะที่น่าสนใจ นำมาตัดต่อและสรุปย่อไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมี บริษัท เพลย์เวิร์ค  โดยมี เอไอเอส ช่วยพัฒนาให้เป็นบริการเสริมทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งระบบทั้งหมดยังเชื่อมต่อเข้ากับฐานข้อมูลหลักของหอจดหมายเหตุที่เว็บไซต ์ www.dhamma4U.com ให้สามารถสืบค้นย้อนหลังได้อีกด้วย
      
       นักธรรมรุ่นใหม่ร่วมเผยแผ่
      
       ในการเผยแพร่ธรรมครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการนำบทคำสอน คำบรรยยายของท่านพุทธทาสมาเผยแผ่แล้วยังได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระคุณเจ ้าอีก 3 รูป คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระไพศาล วิสาโล และ พระมหาวุฒิชัย วรเมธี (ว.วชิรเมธี) อนุญาตให้นำเสียงของท่านเผยแผ่
      
       ทั้งนี้ พุทธศาสนิกชนที่เข้ามาร่วมรับฟังคำสอน จะได้รับทราบเรื่องราวคำสอนมากมายหลายรูปแบบ เพราะมีทั้ง “บริการทางเสียง” (IVR) ผ่านเลขหมาย *272  มีความยาวประมาณ 1-3 นาที และ“ข้อความสั้น” (SMS)
      
       โ ดยในรูปแบบ“บริการทางเสียง” (IVR) จะมีให้เลือกถึง 7 หัวข้อ ได้แก่ ธรรมะวันนี้, ธรรมะคลายเครียด, ธรรมะกับการงานและอาชีพ, ธรรมะกับความรัก, ธรรมะกับครอบครัว, ธรรมะกับการสร้างสุข และธรรมะประจำวัน
      
       แต่หากเป็นรูปแบบ “ข้อความสั้น” (SMS) เอไอเอสจะดำเนินการจัดส่งเป็น “คติธรรมสอนใจ” ให้ผู้สมัครใช้บริการวันละ 1 ข้อความ ที่สำคัญลูกค้าผู้ใช้สามารถ "อัปเดต" ธรรมะวันละคลิป ซึ่งฝ่ายผู้ให้บริการจะมีการป้อนข้อมูลอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งธรรมะบนมือถือนี้เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา และตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน จะเริ่มให้บริการ SMS คติธรรมสอนใจวันละ 1 ข้อความ โดยการสมัครขอใช้บริการฟรี จากนั้นประมาณปลายเดือนธันวาคม จะเริ่มให้บริการ MMS, WAP โดยผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อเพื่อเข้าฟัง และดาวน์โหลดคำสอนได้จากเว็บไซต์ dhamma4U.com ซึ่งผู้ใช้บริการจะเสียค่าบริการเวลาตามอัตราปกติในการเปิดระบบ WAP หรืออินเทอร์เน็ต
      
       2 นาที กับธรรมะสร้างกำลังใจ
      
       จาก 7 หัวข้อที่ได้กำหนดขึ้น คือ ธรรมะวันนี้, ธรรมะคลายเครียด, ธรรมะกับการงานและอาชีพ, ธรรมะกับความรัก, ธรรมะกับครอบครัว, ธรรมะกับการสร้างสุข และธรรมะประจำวัน ผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพิจารณาและคัดเลือกคำสอนดีๆ ให้พุทธศาสนิกชนได้รับทราบรับฟังนั้น เกิดจากทีมอาสาสมัคร ที่เข้ามาร่วมงานกับหอจดหมายเหตุฯ และเป็นต้นคิดเรื่องการนำคลิปธรรมะเผยแผ่ผ่านมือถือ
      
       ท างหอจดหมายเหตุฯ ได้จัดอาสาสมัครเพื่อมาช่วยกันคัดสรรไฟล์เสียงโดยแบ่งทีมไว้ 5-6 คน แต่ละคนแบ่งซีดีของพระแต่ละรูปซึ่งเทศน์ไว้ครั้งละเป็นชั่วโมงๆ แล้วทยอยตัดเป็นไฟล์ย่อย ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางธรรมไม่น้อย เพื่อที่จะสามารถเลือกเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญเนื้อหาต้องไม่ผิดเพี้ยน จากสาระเดิม
      
       สำหรับบทคำสอนต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการอนุเคราะห์จาก พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านมอบซีดีมา 100 แผ่น ท่าน ว.วชิรเมธี  มอบไฟล์ภาพและเสียง โดยท่านทยอยส่งมาอย่างต่อเนื่อง เพราะท่านเทศน์วันละ 3 รอบ จากนั้นนำมาทำเป็นคลิป 2-4 นาที  ก็จะได้บทคำสอนประมาณ  2,000-3,000 คลิป ซึ่งจากจุดเริ่มต้นช่วงแรกถือว่าได้ประโยชน์มากค่านานัปการ
      
       ไม่น่าเชื่อนะว่า โทรศัพท์มือถือที่เป็นเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ เป็นเครื่องมือสื่อสารแห่งยุค ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ขณะนี้ได้เข้ามาเป็นสื่อกลาง ในการจรรโลงพระพุทธศาสนา
      
       เมื่อเราเห็นถึงความตื่นตัวของภาคเอกชน   เห็นถึงการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบ “ต่อสังคม” ท ำให้เราอดตื่นเต้น ตื่นตา ตื่นใจไปกับเรื่องนี้ด้วยไม่ได้   การเบ่งบานของกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR: Corporate Social Responsibility) ที่เกิดขึ้น เสมือนการบอกกล่าวด้วยว่า ภาคเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจห้างร้านต่างๆ ได้ยกระดับไปอีกก้าวหนึ่ง ไปสู่การแบ่งปันต่อสังคม เป็นการทำหน้าที่พลเมือง (ธุรกิจ) ที่ดี พร้อมตอบแทนและคืนกำไรสู่สังคม
      
       Company Related Links :
       AIS
       Dhamma4U



http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9510000151548

1 ความคิดเห็น: