...+

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

รูปแบบการเมืองใหม่ เสนอโดย นายทวิช จิตรสมบูรณ์

สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในการเมืองใหม่

1. ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกลไกจากเดิมเพื่อประกันได้ว่าจะได้คนเก่งคนดีเข้าไปบริ หารบ้านเมือง หรือ อย่างน้อยที่สุดได้คนเลวน้อยลงกว่าเดิม
2. ต้องมีกลไกถอดถอนรัฐบาลโดยรัฐสภาที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากของพวกเดียวกัน
3. ต้องมีส่วนร่วมจากภาคอาชีพของมวลชน
4. ต้องมีการตัดสินความถูกผิดทางการเมืองที่ใช้ความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้เสียงข้างมาก

ที่มาและแนวคิดพื้นฐาน

สังคมไทยแตกต่างจากสังคมตะวันตก (ตต) อย่างมาก โดยเฉพาะคนไทยไม่ได้มีนิสัยอิงตน (individualism) แบบ ตต. แต่มีนิสัยอิงผู้นำ (Leaderism) ดังจะเห็นได้ว่านักการเมืองไทยไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องตั้งกันเป็นก๊วนในพรรคการเมืองโดยแต่ละก๊วนมีผู้นำที่แข็งแกร่งที่สามาร ถต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองแทนตนได้ ลักษณะเช่นนี้ยังเป็นมูลเหตุของการซื้อขายเสียงในการเลือกตั้งผ่านระบบหัวหั วคะแนนท้องถิ่นเช่นกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็น”ผู้นำ” ท้องถิ่น ระบบอิงผู้นำนี้นำสู่ระบบ ”อุปถัมป์” ซึ่งนำสู่การเสียสมดุลของการคานอำนาจในระบบประชาธิปไตย (ปชต) แบบตต. เพราะระบบนี้ตั้งอยูบนฐานที่ว่าจะเกิดการคานอำนาจกันจากการที่ผู้แทนแต่ละคน ทำหน้าที่อย่างอิสระโดยจิตสำนึกของตนเอง

ดังนั้นถ้าจะให้ระบบปชต. งอกงามในแผ่นดินไทย จำเป็นต้องปรับระบบเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับนิสัยอิงผู้นำของคนไทย ก่อนที่เราจะสร้างระบบนี้พึงทำความเข้าใจบางสิ่งบางอย่างที่เราอาจไขว้เขวตา มที่ลอกเลียนแบบมาจากระบบปชต. ตต. เช่น พึงเข้าใจว่าประชาธิปไตยไม่ได้หมายความต้อง “เลือกตั้ง” เสมอไป เช่น พระพุทธเจ้าทรงปกครองสงฆ์ด้วยจิตวิญญาณปชต. แต่ก็ไม่ได้มีการเลือกตั้ง อนึ่ง การสรรหาผู้เข้ามาดำรงตำแหน่งนั้น (ถ้าเป็นการสรรหาที่บริสุทธิ์ยุติธรรม) หากพิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่าก็เป็นปชต. รูปแบบหนึ่ง เพราะผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อนั้นย่อมแสดงว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ และคุณงามความดีเป็นที่ยอมรับ จึงได้รับการเสนอชื่อเข้ามาให้สรรหา เท่ากับว่าเขาเหล่านั้นได้ “รับเลือก” ให้เป็น “ผู้แทน” จึงเป็นปชต. โดยปริยาย

จึงขอเสนอรูปแบบปชต.ไทยใหม่ดังนี้

รูปแบบ ก.

1. สส. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยอาจมีจำนวนประมาณ 250 คน และ สว. มาจากการกำหนดโดยกฎหมายและการสรรหาทั้งหมด จำนวนประมาณ 100 คน เพื่อคานอำนาจกันอย่างสร้างสรรค์ระหว่างผู้แทนจากการเลือกตั้ง กับผู้แทนตามสาขาอาชีพของภาคประชาชน

2. สภาผู้แทนฯ เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี และรมต. เพื่อให้วุฒิสภาลงมติเห็นชอบ ทั้งนี้ สส. จำนวน 1 ใน 5 สามารถเสนอได้หนึ่งชื่อ ต่อหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งจะเป็นสส. หรือคนนอกก็ได้ (ดังนั้นจะได้ชื่อนายกฯสัก 3-4 คน และ รมต. สัก 3-4 คนต่อหนึ่งตำแหน่ง) จากนั้นสว. คัดเลือกนายกฯและ รมต.ทุกตำแหน่งโดยการให้แต่ละคนแถลงวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ/กระทรวง ตามด้วยการอภิปรายทั่วไป จากนั้นก็โหวตลงมติเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งต่างๆ
· การซื้อเสียงจะไม่มีผลต่อการเมืองมากเหมือนก่อน เพราะแม้ได้เสียงข้างมากในสภาก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้เป็นนายกฯ หรือ รมต. เสมอไป แต่ละพรรค(หรือกลุ่มพรรค) จะแข่งขันกันส่งแต่คนเก่ง คนดี เข้าไปชิงตำแหน่งรมต. (มิฉะนั้นคงไม่ได้รับเสียงโหวตจากสว.) นายกฯ และครม. ขี้เหร่จะหมดไปโดยปริยาย
· มีความเป็นไปได้ว่านายกฯจะไม่ได้มาจากพรรคเสียงข้างมาก และ ครม. จะมาจากหลายพรรคการเมือง รัฐบาลผสมแบบนี้อาจดูเหมือนว่าจะทำงานยากสักหน่อย แต่กลับกลายเป็นข้อดีของการคานอำนาจกันโดยปริยาย และอย่าลืมว่าทำให้มีตัวเลือกมากขึ้นในการเลือกคนที่เก่งที่สุด ดีที่สุด จากทุกพรรค นโยบายที่ขัดแย้งกันจะเป็นประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันเพื่อเค้นนโยบายที่ดี ทีสุดออกมาตามหลักการประชาธิปไตย เช่น ถ้านายกฯมีนโยบายประชานิยม สั่งให้รมว. กระทรวงมหาดไทยซึ่งมาจากต่างพรรคนำไปปฏิบัติ รมว. อาจไม่เห็นด้วย ก็ส่งไปให้สภากระทรวงทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ

3. จัดให้มี “สภากระทรวง” เพื่อทำหน้าที่พิจารณาออกกฎระเบียบกระทรวง แผน นโยบาย และงบประมาณ ตลอดจนกำกับดูแลการทำงานของรมต. สภานี้มีสมาชิกที่มีความเป็นกลางโดยให้มาจากคณะกรรมาธิการของ สว. ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงนั้น ผนวกกับข้าราชการประจำกระทรวงระดับ c10 ขึ้นไป
· การโกงกินจะลดน้อยลงไปมากเพราะการโกงกินส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเกิดในระดับกระทรว ง เนื่องจากรมต.ใช้อำนาจได้โดยไม่มีกลไกตรวจสอบระดับกระทรวง แผน นโยบายกระทรวงจะรัดกุม รอบคอบ โปร่งใสมากขึ้น

4. การลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคล ให้สส. เป็นฝ่ายเสนอ และอภิปราย แต่ให้ สว. มีอำนาจลงมติแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะถ้าให้สส. โหวต พรรคที่มีเสียงข้างมาก แต่ไม่ได้รับเลือกเป็นนายกฯอาจโหวตให้นายกฯออกได้โดยง่าย ในทางตรงข้ามถ้านายกฯมาจากพรรคเสียงข้างมาก ก็จะโหวตให้อยู่ต่อเสมอแม้ว่าจะผิดหรือเลวสักเพียงใดก็ตาม

5. การพิจารณากฎหมาย และการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เช่นกัน ให้ สส. อภิปราย ข้อดีข้อเสีย แล้วให้ สว. เป็นผู้ลงมติ ไม่เช่นนั้นเสียงข้างมากของ สส. ที่มีผลประโยชน์ซ้อนทับกับกฎหมายฉบับนั้นก็จะลากกฎหมายประเทศไปเพื่อให้ได้ป ระโยชน์ของพวกเขาเสมอ
· ระบบนี้ สว. จึงเปรียบเสมือนคณะลูกขุนที่เป็นกลาง ที่คอยตัดสินกิจการบ้านเมือง แต่ต้องฟังข้อดีข้อเสียที่อภิปรายกันของสส. ทั้งหลายเสียก่อน ส่วนสส. เปรียบดังทนายโจทก์จำเลยที่เอาเหตุผลข้อมูลมาตีแผ่เพื่อจูงใจลูกขุน และระบบลูกขุนเป็นระบบที่ยอมรับแพร่หลายในระบบศาลสถิตยุติธรรมของอารยประเทศ ทั้งหลาย การเอามาปรับใช้ในระบบรัฐสภาแบบนี้จึงน่าจะเป็นที่ยอมรับได้และนับว่าเหมาะส มกับสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง

6. สว. (ซึ่งสำคัญมากในการเมืองรูปแบบนี้) ให้มาจากการแต่งตั้งตามที่กฎหมายกำหนดและการสรรหา ที่ผ่านมาปรากฎว่าเราสรรหาได้สว.ที่มีคุณภาพดีทีเดียว ไม่ขี้เหร่เหมือนสส.ที่มาจากการเลือกตั้งบางกลุ่ม ดังนั้นจะต้องกำหนดและสรรหา สว. อย่างมั่นใจได้ว่า เป็นคนดี เป็นกลางทางการเมือง มีความรู้และสนใจในกิจการบ้านเมือง และต้องมีเวลาด้วย คือต้องทำงานเต็มเวลา สมาชิกสว. อาจมีประมาณ 100 คน ดังนี้:
· ปลัดกระทรวงเกษียณกระทรวงละ 1 คน
· ผู้พิพากษาศาลฎีกาเกษียณจำนวนเท่ากับปลัดกระทรวง
· ผู้แทนกลุ่มอาชีพที่สำคัญ ตามที่กฎหมายกำหนด (ประมาณ 20 คน)
· นักวิชาการสาขารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การพาณิชย์บัญชี สังคมศาสตร์ สาขาละ 5 คน
· ประชาชนทั่วไปจากหลากหลายอาชีพ 50 คนที่เสนอโดยสมาคมสื่อสารมวลชน และรับรองโดย 4 กลุ่มข้างต้น

ระบบการเมืองใหม่ที่เสนอนี้ยังมีข้อดีแฝงโดยอ้อมอีกหลายประการ เช่น
· พรรคการเมืองที่ได้ปริมาณสส.น้อยแต่มีคุณภาพสูงอาจจะได้เข้าไปเป็น รมต. มาก เป็นแบบอย่างที่ดีให้พรรคอื่น แข่งขันกันพัฒนา สส. ให้มีคุณภาพมากขึ้น สส. คุณภาพสูงยังจะสามารถอภิปรายในสภาได้อย่างน่าเชื่อถือ ทำให้สว. ลงมติเห็นคล้อยด้วย แต่หากมีแต่ปริมาณแล้วคุณภาพต่ำ ก็คงไม่สามารถโน้มน้าว สว. ให้ลงมติสนับสนุนญัตติของพรรคตนได้
· กลุ่มพรรคที่มีจำนวน สส.รวมกันได้ 1 ใน 5 อาจได้ตำแหน่งรมต. หลายตำแหน่ง (เกินสัดส่วน สส.) ถ้าส่งคนดีเข้าประกวดและมีนโยบายที่ดี ที่โน้มใจสว. ได้ ทำให้พรรคเล็กพรรคน้อยไม่ต้อง “ขายตัว” เพื่อเข้าไปร่วมรัฐบาลเหมือนก่อน เพียงเพื่อแลกกับโควตารมต. 1-2 คน ซึ่งจะช่วยให้มีการถอนทุนน้อยลงไปด้วย
· ไม่มีพรรคการเมืองใดที่จะมีนโยบายดีไปเสียหมดในทุกเรื่อง รัฐบาลคละผสมแบบนี้จะได้นำนโยบายดีๆ ของแต่ละพรรคมาบูรณาการกัน และประนีประนอมกัน
· ภาคประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงผ่านการเป็น สว. และเป็นสมาชิกสภากระทรวงอีกโสดหนึ่ง
· การเป็นศัตรูกันของแต่และพรรคการเมืองจะลดน้อยลง เพราะแต่ละพรรคต่างก็”ร่วมรัฐบาล” ด้วยกันทั้งสิ้น ความสามัคคีกันทำงานเพื่อประเทศชาติจะมีมากขึ้น

รูปแบบ ข.

เหมือน ก. ทุกอย่าง แต่ให้ สส. “โดยเสียงข้างมาก” (ไม่ใช่เพียง 1 ใน 5 เหมือน ก. ) เสนอชื่อ นายกฯ และ รมต. ตำแหน่งละ 3 ชื่อขึ้นไปให้ สว. คัดเลือก

รูปแบบ ค.
เหมือน ก. ทุกอย่างเพียงแต่คราวนี้ ให้ สว. สรรหานายกฯ และ รมต. ซึ่งเป็นคนนอก เข้ามาให้ สส. รับรอง โดยเสียงข้างมาก ถ้าสรรหามา 3 ครั้งยังไม่ยอมรับก็ให้ถือเอาคนที่ได้รับคะแนนโหวตยอมรับมากที่สุดเข้าดำรงต ำแหน่ง วิธีนี้มีข้อดีคือจะได้คนที่เก่งสุด ดีสุดในประเทศไทยเป็นนายก และ รมต. ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

รูปแบบ ง จ ฉ ช
สามารถเกิดได้โดยการผสมผสานกันไปมา แต่อย่างไรขอให้คงระบบ สว. กำหนดและสรรหา และใช้ระบบลูกขุนสว. ในการแก้ รธน. และ ถอดถอนรัฐบาล

.................................................................เสนอโดย นายทวิช จิตรสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น