...+

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ทำน้ำนมข้าวมอลต์ไว้กินได้...ถ่ายคล่อง

คนไทย บริโภค... ข้าว.. .เป็นอาหารหลักในชีวิตประจำวัน เกษตรกรไทย ก็ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ด้วยเช่นเดียวกัน... ข้าวไทยมีความหลากหลาย ทางสายพันธุ์ และแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทีมงาน ทำได้ ไม่จน ได้รับข้อมูลมาว่า ที่มหาวิทยาลัยรังสิต มีผลงานผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ที่มาจากข้าวอย่างมากมาย จึงได้พบกับ อาจารย์ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต เผยว่า ทีมคณะวิจัยได้คิดค้น ทำโครงการผลิตเครื่องดื่มเพื่อ "สุขภาพ" จากพืชตระกูลข้าวหลายชนิด ล่าสุดผลิตข้าวมอลต์เป็นน้ำ นมบรรจุกระป๋อง โครงการนี้ทีมงานคณะวิจัยอยากให้เป็นโครงการต้นแบบสำหรับเกษตรกร และผู้ประกอบการทั่วไป สามารถนำ ผลงานไปผลิตได้เอง ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่ไม่ต้องลงทุนสูงและไม่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ และเพื่อรักษาสายพันธุ์พื้นเมืองที่หายาก ที่สำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าข้าว ไทย วิธีการทำน้ำนมจากข้าวมอลต์บรรจุกระปํองนั้น ขั้นแรกเริ่มจากต้มน้ำ 10 ลิตร ให้อุณหภูมิอยู่ที่ 60 องศา เซลเซียสแล้วเติมข้าวมอลต์ลงไปจำนวน 4 กิโลกรัม รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 60 องศาเซลเซียสประมาณ 30 นาที จึงเติมน้ำเข้า ไปอีก 10 ลิตร แล้วจึงต้มจนกระทั่งน้ำเดือดและสังเกตว่ามอลต์จะกลายเป็นของเหลว หลังจากนั้นให้ปรับปริมาณ ของเหลวให้ เท่ากับ 24 ลิตร จึงนำมาเข้ากรองโดยใช้ผ้าขาวกรอง หรือภาชนะกรองชนิดอื่นๆ ก็ได้ ตะกอนที่กรองไว้ให้ทิ้งไป นำปริมาณน้ำ ที่ได้จากการผลิตบรรจุกระป๋อง และไล่อากาศ ปั๊มซีลฝาปิดผนึกให้สนิท ก่อนจะนำเข้าไปฆ่าเชื้อ ในหม้อนึ่งอัด ความดันที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียสประมาณ 15 นาที ขั้นตอนสุดท้ายทำให้เย็นอย่างรวดเร็ว (ใช้แช่ลงน้ำเย็น) แล้วนำ ขึ้นมาก็ใส่ตู้เย็น เท่านี้ก็จะได้น้ำนมมอลต์พร้อมดื่ม มีอายุเก็บไว้นาน 1 ปีเลยทีเดียว!!! คุณค่าสารอาหาร ที่ได้ จากน้ำนมมอลต์ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านมถั่วเหลือง หรือนมวัว ประกอบด้วยกลุ่มที่ละลายน้ำได้ และละลายในน้ำมัน ได้แก่ ไทอา มีน ไรโบฟลาวิน ไพริดอกซิน กรดเพนโทธีนิค โทโคฟีรอล โทโคไตรอีนอล IP6 ซึ่งอยู่ในส่วนรำข้าวมอลต์ ยัง มีแร่ธาตุ...จำพวก ซีลีเนียม, สังกะสี, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียมและเหล็ก มีคาร์โบไฮเดรต ชนิดพรีไบโอติค ได้แก่ น้ำตาลอินโนซิตอล กรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดโอเลอิคและไลโนเลอิค สารกลุ่มไขข้าว เลซิทิน สารทำหน้าที่แอนติออกซิแดนท์ตามธรรมชาติ รวมทั้งมีกรดอะมิโนที่ร่างกาย ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้มากกว่า 10 ชนิด สิ่งที่น่าสนใจ คือ..เส้นใยอาหารช่วย ด้านระบบขับถ่าย...ของร่ายกาย เป็นองค์ประกอบหลัก ที่พบในเมล็ดข้าว คุณสมบัติด้านสี...กลิ่น...รสชาติ ที่เป็นความท้าทายให้ชวนน่าลิ้มลอง น้ำนมมอลต์ที่มาจากฝีมือของ ทีมคณะวิจัย... จากภาควิชา เทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ใช้ชื่อว่า "มอลตามิลค์" ยินดีให้พิสูจน์รสชาติว่า จะอร่อยแค่ไหน ถ้าใครคิดว่าจะไปหา (ความรู้) ทำขาย...หาทำไว้กินไว้ดื่มเอง ก็ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่าย...เมื่อไม่ต้องจ่าย...ก็ไม่จน!!!

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น