...+

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

จัดการเรียนรู้อย่างไร… ให้เด็กเกิดการตกผลึกด้านความคิด

มีโอกาสได้อ่านบทความของท่าน อาจารย์ ดร.อุไรรัตน์ สำเริงวงศ์ เห็นว่าบทความนี่มีประโยชน์ นับว่าเป็นนวัตกรรมการจัดการความรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับครูบาอาจารย์ในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ขอสรุปแนวคิดจากที่อ่านมาฝากกันดังนี้ ก่อนจะไปทราบถึงวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กเกิดการตกผลึกด้านความคิดนั้น เรามาพิจารณาความหมายของคำต่อไปนี้ก่อนดีกว่า ตกผลึก เป็นอย่างไร ?? ตกผลึก เป็นลักษณะที่สารละลายถึงจุดอิ่มตัวจนไม่สามารถที่จะละลายได้อีก จึงทำให้เกิดการตกผลึก แล้วตกผลึกด้านความคิดล่ะ เป็นอย่างไร??

การตกผลึกด้านความคิด เป็นผลของการเรียนรู้ โดยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า แล้วสามารถสรุปเป็นความคิดรวบยอดออกมาเป็นข้อความรู้ตามเข้าใจของผู้ศึกษา (ตามความเข้าใจของผู้เขียน) รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก จึงเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ตนสนใจใคร่รู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย โดยนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า สกัดออกมาเป็นข้อความรู้ตามเข้าใจของผู้ศึกษามาผ่านงานเขียนเชิงวิชาการ งานเขียนดังกล่าวจะถูกนำมาอภิปรายร่วมกับเพื่อนและครูผู้สอนเพื่อเป็นการตรวจสอบว่า ข้อคอวามรู้ที่ได้มานั้นมีความถูกต้องชัดเจนเพียงใด . (อุไรรัตน์ สำเริงวงศ์. 2549 : 57)

รศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2542) ได้ให้คำนิยามของ การสอนแบบตกผลึกว่า เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ผลงานอันเกิดจากการตกผลึกทางความคิด ทั้งนี้ผู้เรียนมีบทบาทเชิงรุกในกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การรวบรวมการเรียนรู้ ตั้งแต่การรวบรวม การทำความเข้าใจ การสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อความรู้และถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนด้วยตนเอง โดยมีครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ผลงานร่วมกับผู้เรียนและคอยสอดแทรกทักษะการคิด ค่านิยมและจริยธรรมให้เกิดมีในตัวผู้เรียน

คณะนักวิจัยโครงการการพัฒนาครุศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก
(Crystal-based Instruction Model) นี้ โดยการบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง (Self-Regulated Learning) การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Direct Learning) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และ การเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning) เข้าด้วยกันก่อให้เกิดเป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการสอนในชั้นเรียนได้ กระบวนกาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก

รูปแบบการเรียนรู้แบบตกผลึกนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาข้อความรู้ที่ตนสนใจจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย โดยมีการจัดการข้อความรู้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า จนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ สามารถสื่อสารสิ่งที่ตนเข้าใจผ่านงานเขียนเชิงวิชาการ นอกจากนี้รูปแบบการเรียนรู้แบบตกผลึกยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับข้อความรู้ที่ค้นพบผ่านการอภิปรายร่วมกับครูและผู้อื่นในชั้นเรียน กระบวนการดังกล่าวจะช่วยเสริมให้ผู้เรียนตกผลึกทางความคิดในเรื่องที่ตนได้ศึกษา กระบวนการเรียนการสอนแบบตกผลึกมี 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 วางแผนและเรียนรู้ : การเรียนแบบกำกับตนเอง และ การเรียนแบบนำตนเอง วางแผน (Plan) ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้โดยกำหนดประเด็นหลักของการเรียนในแต่ละหน่วย ตามความสนใจภายใต้คำแนะนำของผู้สอนเลือก (Choose) : ผู้เรียนเลือกหัวข้อย่อยที่ตนสนใจเป็นพิเศษ และวางโครงร่วางของหัวข้อย่อยให้ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาเพื่อศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองค้นคว้า (Search) : ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูลในหัวข้อย่อยที่เลือก โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกด้านแหล่งการเรียนรู้และสืบค้นข้อมูลเขียน (Write): ผู้เรียนเขียนงานจากการศึกษาค้นคว้าเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบงานเขียนเชิงวิชาการ (ฉบับที่ 1) ขั้นที่ 2 นำเสนอและอภิปราย : การเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันนำเสนอ (Present) : ผู้เรียนนำเสนอผลงานที่ตนไปศึกษาค้นคว้าในรูปการเขียนเชิงวิชาการและการบรรยายอภิปราย (Discuss) : ผู้เรียนร่วมอภิปรายถึงสิ่งที่นำเสนอกับเพื่อนร่วมชั้นโดยผู้เรียนรับฟังข้อคำถาม ข้อวิพากวิจารณ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขงานเขียนเชิงวิชาการครั้งต่อไป ขั้นที่ 3 ประมวลและปรับแก้ : การเรียนแบบกำกับตนเองและการเรียนแบบนำตนเองประมวล (Gather) : ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลจากการอภิปรายในชั้นเรียนพร้อมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของงานเขียนเชิงวิชาการปรับแก้ (Revise) : ผู้เรียนพัฒนางานเขียนเชิงวิชาการตามข้อมูลที่ได้รวบรวม ประมวล และค้นคว้าเพื่อสร้างสรรค์ รูปแบบงานเขียนที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (ฉบับที่ 2) ขั้นที่ 4 ตกผลึก : การเรียนแบบกำกับตนเอง และ การเรียนแบบนำตนเองนำเสนอ (Present) : ผู้เรียนนำเสนองานเขียนเชิงวิชาการที่ผ่านการปรับแก้แล้วต่อชั้นเรียนเพื่ออภิปรายร่วมกันประเมิน (Assess) : ผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองตามโครงร่างที่กำหนดไว้สรุป (Conclude) : ผู้เรียนสรุปผลการทำงาน เป็ฯงานเขียนเชิงวิชาการฉบับสมบูรณ์ ร ูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกนี้ เหมาะสำหรับการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาส าระและข้อเท็จจริงขององค์ความรู้ต่างๆ เราสามารถนำการสอนแบบตกผลึกมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในอีเลิร์นนิงได้อย่างไร จะเกิดผลดีเพียงใดนั้น จำเป็นที่นักการศึกษา หรือ ครูอาจารย์จะต้องนำมาทดลองใช้ และคิดค้นนวัตกรรมต่อไป ห วังว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่ได้คัดลอก และนำมาเสนอครั้งนี้ จะเป็นแนวคิดที่ดีต่อครูอาจารย์และนักการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรี ยนการสอนต่อไป
----------------------------------------------

ค้นคว้าเพิ่มเติม

อ้างอิง : อุไรรัตน์ สำเริงวงศ์. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 : 43-61.

ที่มา http://learners.in.th/blog/stdnu/30445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น