...+

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

The Achievement of Mathematics Learning in Mathayomsuksa I Students using an Instructional Model based on Constructivist Theory of Learning อรุณ มาวัน (Arun Mawan)*
ดร.ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข (Dr.Thanomwan Prasertchareonsuk)**
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาวะถีพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 35 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร เมื่อสิ้นสุดในแต่ละวงจรปฏิบัติการจะทำการทดสอบเพื่อประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน แล้วจึงสะท้อนผลการปฏิบัติที่ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการบันทึก การสังเกต การสัมภาษณ์นักเรียนและผลงานนักเรียนมาวิเคราะห์ อภิปราย เพื่อปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ในวงจรต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีนักเรียนจำนวนร้อยละ 74.29 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ABSTRACT

The purpose of this study was to develop Mathayomsuksa I students’ learning achievement in mathematics through learning activities based on constructivist theory. It was prescribed that at least 70% of the students made an achievement score of 70% or higher.

The target group was consisted of 35 Mathayomsuksa I students in Sawatee Pittayasan School, under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 1, during the first semester of the 2006 school year.
Three types of tools were used in the study, i.e. 1) the experimental tool which was consisted of 8 constructivist theory-based lesson plans on the topic of “The Power Numbers”, 2) the reflection tool which was consisted of an instructional outcome recording form, a teacher’s teaching behavior observation form, a student’s studying behavior observation form, a student interview form and end-of-spiral quizzes, and 3) an assessment tool which was a mathematics learning achievement test. The study followed an action research procedure comprising of 3 action spirals. In the first spiral, lesson plans 1-3 were implemented. In the second spiral, lesson plans 4-6 were implemented, and the remaining lesson plans 7-8 At the end of each spiral the students were quizzed in order to assess their progress. In addition, the researcher and her co-researcher reflected on the data gathered from recordings, observations, interviews and student works and adjusted learning activities accordingly for the next spiral. The findings: About 74.29% of the students made a learning achievement score of 70% of the full marks or better which met the prescribed criterion. Furthermore, it was also found that the students had developed some desirable behavior. For instance, the students were motivated to eliminate them by applying their previous learning or experience to solve the problems on their own. The students were able to present ways of solving problems through discussion, exchange of ideas and questioning, and participated in rational argument when conflicts arose. They had become expressive as well as being ready to listen to other people’s opinions. They were also able to create problematic situations and to verify them for one another. The students were able to summarize their ideas, principles and concepts as regards the learning substance they had just learned and to apply them to the solving of problems in new situations.
* นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ** รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น




จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


1 ความคิดเห็น: