ในวันนี้สถานการณ์ไฟใต้ไม่เพียงแต่ถูกกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติเท่า
นั้น แต่ยังได้ถูกทำให้ยกระดับความรุนแรงขึ้นจนเป็นที่จับตาของนานาชาติแล้ว
เพียงแต่ยังไม่มีเงื่อนไขเพียงพอที่จะให้องค์กรมุสลิมโลกหรือองค์การสหประชา
ชาติต้องยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้อง
ซึ่งหากเรายังปล่อยให้สถานการณ์พัฒนาจนถึงขั้นนั้น
ประเทศชาติและประชาชนอาจจะต้องเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่แน่นอน
จึงถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยทุกภาคส่วนจะต้องผนึกกำลังเข้าหากัน
สร้างความเป็นเอกภาพและร่วมมือร่วมใจกันคลี่คลายวิกฤตไฟใต้ให้มอดดับโดยเร็ว
แต่เมื่อหันไปมองรัฐบาลที่จะต้องเป็นแก่นกลางเชื่อมร้อยพลังจากทุกฝ่ายกลับ
พบว่า รัฐบาลในเวลานี้ก็เกิดวิกฤตมากมายไม่แพ้ไฟใต้
เช่นนี้แล้วสังคมไทยจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไร ??!!
เราจะยอมรับกันหรือไม่ก็ตาม
ในวันนี้วิกฤตไฟใต้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาภายในประเทศเหมือนที่ผู้กุมกลไก
อำนาจรัฐพยายามตีกรอบครอบเอาไว้
แต่ได้มีกลุ่มคนที่พยายามกระทำให้ลุกลามขยายขอบข่ายกลายเป็นเรื่องที่ต่าง
ประเทศจะต้องหันมาจับตามองแล้ว แม้จะยังไม่บรรลุผลทำให้องค์กรมุสลิมโลก
หรือองค์การสหประชาชาติจำต้องยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องก็ตาม
สิ่งที่สามารถยืนยันในเรื่องนี้ได้ดีก็คือ
เมื่อต้นสัปดาห์มานี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมชาวโรฮิงยา 3
คนในข้อหาลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
และจากการสืบสวนพบว่าคนกลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะห์
ซึ่งเป็นขบวนการก่อการร้ายสากลด้วย
อีกทั้งที่ผ่านมาก็เคยมีการจับกลุ่มชาวต่างชาติลักลอบเข้าเมืองในลักษณะนี้
ได้หลายคดี และพบว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติทั้งกลุ่มเจไอและกลุ่มอัลกออิ
ดะห์ ขณะเดียวกันเครือข่ายของกลุ่มที่เคลื่อนไหวสร้างสถานการณ์ไฟใต้ก็ได้พยายาม
วิ่งเต้นให้องค์กรนานาชาติยื่นมือเข้ามาแก้ปัญหาให้ด้วย
ในส่วนของภายในประเทศไทยเราเอง
ผู้คนส่วนใหญ่ต่างยอมรับกันมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้วว่า
วิกฤตไฟใต้เป็นปัญหาในระดับที่ต้องยกให้เป็นวาระแห่งชาติ
ที่ทุกภาคส่วนในสังคมไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ข้าราชการ องค์กรเอกชน
รวมทั้งประชาชนทุกหมู่เหล่า
ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำให้สถานการณ์ความรุนแรงคลี่คลาย
และต่อเนื่องจนถึงขั้นให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติให้ได้ในที่สุด
เพราะมิเช่นนั้นแล้วความสูญเสียที่จะเกิดคงไม่ใช่ตกอยู่เฉพาะกับคนในพื้นที่
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ประชาชนทั้งประเทศ
รวมถึงชาติบ้านเมืองก็จะต้องได้รับความเสียเหล่านั้นด้วย
ท่ามกลางวิกฤตไฟใต้ ณ ห้วงเวลานี้ หากผู้คนในสังคมจะใช้เวลาขบคิด
ตรึกตรองและทบทวนกันสักนิดว่า
แท้จริงแล้วกำลังเกิดอะไรขึ้นในแผ่นดินปลายด้ามขวานทองของไทยเรา
แล้วหันได้พิจารณาผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
รวมถึงหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ยุติลงแล้ว
เชื่อว่าผู้คนจำนวนมากคงต้องรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงกับปรากฏการณ์ที่เกิด
ขึ้นกับหน่วยงานหรือองค์กรเหล่านั้นเป็นแน่
อำนาจ-ผลประโยชน์ข้าใครอย่าแตะ
ความจริงแล้ววิกฤตไฟใต้ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจาก
กลเกมแห่งอำนาจและผลประโยชน์ทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นการก่อกบฏของผู้ปกครองหัวเมืองตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์
และต่อเนื่องมาจนถึงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หรือแม้กระทั่งไฟใต้ที่ลุกโชนระลอกล่าสุดนี้ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นับแต่เหตุการณ์ปล้นปืนจากค่ายทหารที่ จ.นราธิวาสต้นปี 2547
ที่ผ่านมา ก็หนีไม่พ้นวังวนแห่งกลเกมอำนาจและผลประโยชน์เช่นเดียวกัน
แม้ปัญหาไฟใต้จะถูก ขีดกรอบให้เป็นปัญหาภายใน
แต่ต่างประเทศไม่ละทิ้งความสนใจ โดยเฉพาะนายควินทัน เควลย์
เอกราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ได้เข้าพบ
ผอ.ศอ.บต.เพื่อรับฟังแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหา เมื่อวันที่ 19 พ.ค.52
ขณะที่คณะเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป 14
ประเทศก็เข้าเยี่ยมศูนย์ทนายความมุสลิม
ติดตามปัญหาผลกระทบของการใช้กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่
จ.ยะลามาแล้ว
ในระดับอำนาจการบริหารราชการในพื้นที่ชายแดนใต้
เป็นเพราะระบอบทักษิณในเวลานั้นลุ่มหลงและคิดว่าตัวเองมีอำนาจมากพอที่จะทำ
อะไรก็ได้ใช่หรือไม่
จึงเชื่อข้อมูลที่ฝ่ายตำรวจเสนอให้ปรับรื้อโครงสร้างอำนาจในช่วงปี 2545
เพื่อที่ฝ่ายตำรวจเองก็จะเข้าไปยึดอำนาจที่ในเวลานั้นกระจายอยู่ในมือของ
ฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนสายมหาดไทยแทน ซึ่งในปี 2546 ก็เลยเกิดการสั่งยุบ
2 หน่วยงานพิเศษในพื้นที่คือ กองบัญชาการพลเรือนตำรวจทหารที่ 43 (พตท.43)
กับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
ทหารถูกสั่งให้ถอยทัพกลับกรมกอง
ส่วนพลเรือนก็ไม่ต่างอะไรกับผึ้งแตกรังกลับไปยังหน่วยงานต้นสังกัดเดิม
จากการที่อำนาจการบริหารราชการแผ่นดินในพื้นที่ถูกกวนจนปั่นป่วนไป
ทั่วชายแดนใต้นี้เอง
ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐได้มีโอกาสฟักตัวและลุกขึ้นสร้างสถานการณ์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณในสมัยนั้นเมื่อต้องผจญกับวิกฤตไฟใต้ที่เข้มข้นก็ถึงกลับตื่น
ตระหนกและยอมจำนนคืนอำนาจกลับไปให้กับทหารตามเดิม
ด้วยการตั้งกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
(กอ.สสส.จชต.) ขึ้นมารองรับ
ต่อมาพัฒนาเป็นกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาคที่ 4 (กอ.รมน.ภาค 4)
ซึ่งทหารก็กลับมาใหญ่แต่ผู้เดียวบนแผ่นดินชายแดนใต้จนถึงเดี๋ยวนี้
แม้ จะผ่านรัฐบาลมาแล้วหลายชุด ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คือชุดล่าสุดที่ได้กุมบังเหียนรัฐนาวา
เคยมีความพยายามที่จะเสนอกฎหมายปรับโครงสร้างอำนาจรัฐในชายแดนใต้อีกครั้ง
ซึ่งต้องการให้ลดบทบาทฝ่ายทหาร แล้วไปเพิ่มบทบาทฝ่ายพลเรือน
โดยยกระดับหน่วยงาน
ศอ.บต.ขึ้นมีความชัดเจนขึ้นเป็นสำนักบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
(สบ.ชต.) เพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายที่มุ่งเน้นให้ใช้การเมืองนำการทหารตามที่รัฐบาล
ประกาศไว้นั่นเอง
แต่ประมาณ 6
เดือนที่รัฐบาลนั่งบริหารประเทศมานี้ก็ยังไม่สามารถทำให้โครงสร้างอำนาจรัฐ
ในพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปได้เลย
อำนาจยังอยู่ในมือของฝ่ายทหารต่อเนื่องมาจนเดี๋ยวนี้
แท้คือวิกฤตของ "การเมืองเก่า"
ในระดับการบริหารราชแผ่นดินส่วนกลางของประเทศที่มีรัฐบาลคือศูนย์
กลางนั้น ท่ามกลางวิกฤตไฟใต้ระลอกใหม่ที่ดำเนินมาต่างก็มีการแย่งชิงอำนาจรัฐนาวาของ
กลุ่มก๊วนการเมืองกันมาตลอด จากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ก็ถูกคณะทหารทำรัฐประหารแย่งชิงอำนาจไปแล้วตั้งรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์
จุลานนท์ ขึ้นมาบริหารประเทศต่อ
แต่ปรากฏว่าด้วยความเป็นขิงแก่ทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อมาอำนาจถูกช่วง
ชิงกลับไปยังรัฐบาลนอมินีภายใต้ระบอบทักษิณ ได้แก่ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช
และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แต่ทั้ง 2
รัฐบาลนี้ออกรบได้เพลงเดียวก็ต้องตกม้าตายในที่สุด
สำหรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้อำนาจรัฐมาครองอยู่ประมาณ
6 เดือนในเวลานี้
ต้องยอมรับความจริงว่าถูกปลุกปั้นขึ้นด้วยกลุ่มก๊วนนักเลือกตั้งที่แปร
พักตร์จากระบอบทักษิณ
แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับที่มีคณะบิ๊กทหารหนุนหลังให้จัดตั้งจนสำเร็จ
ซึ่งก็คือทหารกลุ่มที่เคยร่วมยึดอำนาจระบอบทักษิณไปนั่นเอง
ดังนี้แล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่พรรคประชาธิปัตย์แม้จะมีเสียงมากที่สุด
แต่ก็ต้องยอมจำนนยกกระทรวงเกรดเอประเคนให้แก่กลุ่มก๊วนพรรคการเมืองที่มาก
อำนาจต่อรองและคณะบิ๊กทหาร
ยอมแม้กระทั่งกระทรวงที่เกี่ยวกับความมั่นคงโดยตรงที่มีความสำคัญของการคลี่คลายปัญหาไฟใต้อย่างมหาดไทยและกลาโหม
และก็ไม่แปลกอีกเช่นกันที่ผู้คนทั้งสังคมจะได้เห็นเกมการช่วงชิง
หรือไม่ก็เตะสกัดขาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน
โดยมีอำนาจและผลประโยชน์เป็นเดิมพัน
นับแต่ที่ก่อรูปเป็นองคาพยพของรัฐบาลตลอดประมาณ 6 เดือนมานี้
ทว่าหลายต่อหลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการดับไฟใต้
ซึ่งไม่ได้มีอำนาจและผลประโยชน์เป็นสิ่งล่อใจ
เหล่าเสนาบดีต่างสังกัดพรรคกลับเล่นบทโยนกลองใส่กันและกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อปัดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบให้พ้นตัว
ปฎิเสธไม่ได้ว่าห้วง 5 ปีที่ผ่านมากำลังทหารปฏิบัติงานแทรกทุกพื้นที่
และเป็นศูนย์กลางในการสร้างมวลชนเข้าหารัฐ
เป็นที่มาของการแย่งชิงมวลชนระหว่างฝ่ายก่อความไม่สงบ
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ถูกหยิบยกมาอ้างเมื่อเหตุร้ายทวีความรุนแรง
ทั้งหมดทั้งปวงก็ส่อแสดงถึงความเป็นคณะรัฐมนตรีที่ไร้เอกภาพ
และไม่บูรณาการในการบริหารเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ
ที่กำลังรุมเร้าบ้านเมืองอยู่ในเวลานี้
โดยเฉพาะวิกฤตไฟใต้ที่ถือเป็นวาระสำคัญของชาติ
"การเมืองใหม่" คือคำตอบ
ถ้า จำลองระบบสุริยจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
แล้วส่งอิทธิพลให้ดาวนพเคราะห์ต้องโคจรอยู่รอบๆ
มาใช้อรรถาธิบายโครงสร้างอำนาจรัฐบาลที่นั่งบริหารชาติบ้านเมืองอยู่ในเวลา
นี้ก็ต้องบอกว่า บทบาทของรัฐบาลนั้นไม่ต่างอะไรกับดวงอาทิตย์
ที่ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ภาคเอกชนและประชาชน
รวมถึงเครือข่ายที่ใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์อีก 2 ฝ่ายคือ
ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ
ทั้งหมดทั้งปวงไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งแห่งหนไหน จะใกล้ชิดหรือไกลออกไป
ต่างก็ยึดโยงอยู่กับการขับเคลื่อนของรัฐบาล
และรับอิทธิพลจากการปฏิบัติหน้าที่ของรับบาลไม่มากก็น้อยด้วยเช่นกัน
ในเมื่อองคาพยพที่ก่อรูปหลอมรวมเป็นรัฐบาลในเวลานี้ค่อนข้างพิกล
พิการ การแสดงบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ดูแลทุกข์-สุข
รวมถึงความสงบร่มเย็นให้กับผู้คนสังคม
โดยเฉพาะการขับเคลื่อนให้เกิดการดับไฟใต้ก็เลยต้องเป็นไปแบบไร้ทิศทาง
การทำหน้าที่ของบุคคล หน่วยงานและองค์กรที่แวดล้อมก็บิดเบี้ยวตามไปด้วย
โดยส่งอิทธิพลไปจนถึงแม้กระทั่งรัฐสภาและกระบวนการยุติธรรม
ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่า
รัฐบาลชุดนี้เป็นผลิตผลจากระบบการเมืองของประเทศไทย
ที่ยึดถือเอาการเลือกตั้งเป็นสรณะ
ใครได้รับชัยชนะไม่ว่าจะด้วยกลวิธีทุ่มเงินซื้อเสียงมาก็ตาม
พวกเขาก็แทบจะเหมือนได้สิทธิ์ขาดเข้าไปร่วมกันโหวตกันเองเพื่อตั้งตัวแทนไป
นั่งเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วตามด้วยการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีบริหารประเทศชาติ
แล้วก็หาโอกาสกอบโกยผลประโยชน์เข้าพกเข้าห่อตนเองและพวกพ้อง พร้อมๆ
กับการสะสมเพื่อนำไปทุ่มใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
แล้วอย่างนี้จะหวังอะไรกับการให้ช่วยแก้ไขวิกฤตไฟใต้เล่า
ห้วงเวลานี้สังคมไทยกำลังเรียนรู้อย่างเอาจริงเอาจังกับงานต่อยอดงาน
การเมืองภาคประชาชน
โดยเฉพาะที่เกิดจากผลของการขับเคลื่อนของผองพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย ซึ่งกำลังร่วมมือร่วมใจกันอย่างมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์การเมืองใหม่
ขณะเดียวกันก็จะกระจายกำลังส่วนหนึ่งรุกเข้าไปสร้างการเมืองใหม่ถึงในรัฐสภา
แบบคู่ขนาน โดยกำลังก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมารองรับแล้ว
ซึ่งการเมืองใหม่นี้เองที่วาดหวังกันว่าจะเข้าไปไล่การเมืองน้ำเน่าที่ตั้ง
อยู่บนฐานของอำนาจและผลประโยชน์แบบเก่าๆ
ดัง นี้แล้ว
การเมืองใหม่จึงน่าจะเป็นที่วาดหวังของสังคมไทยในอนาคตได้ว่า
จะโน้มนำสิ่งดีๆ
เข้าไปช่วยขับเคลื่อนให้วิกฤตไฟใต้คลี่คลายและมอดดับได้ในที่สุด ซึ่ง ณ
ห้วงเวลานี้สังคมไทยมุ่งมั่นที่จะผลักดันนโยบายการเมืองนำการทหารให้เกิด
ขึ้น และนำไปสู่ภาคปฏิบัติการดับไฟใต้ให้ยุติได้โดยเร็ววันนั้น
จึงน่าจะเป็นเรื่องของการผลักดันให้เกิดการใช้นโยบายนี้เท่านั้นเพื่อนำไป
สู่การดับไฟใต้...
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000069252
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น