++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สภากาชาดเผยเลือดร้อยละ 40 คุณภาพต่ำ ข้นไม่พอ-พลาสมาขุ่น

สภากาชาดเผยเลือดร้อยละ 40 คุณภาพต่ำ ข้นไม่พอ-พลาสมาขุ่น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


สภากาชาดเผยผลโครงการดูแลผู้บริจาค โลหิต
พบสาเหตุที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ ร้อยละ 40 ความเข้มข้นของโลหิต
ไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน จากภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 10 ไม่รู้ว่าต้องงดยา
ปฏิชีวนะ ยารักษาสิว แอสไพริน ก่อนบริจาค
รวมถึงไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาคโลหิตทำให้ พลาสมาขาวขุ่น
นำเลือดไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ แนะดื่มน้ำ 3-4 แก้วก่อนบริจาคป้องกันเป็นลม

นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์
รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ กล่าวว่า
จากการที่สภากาชาดจัดให้มีโครงการดูแลผู้บริจาคโลหิต 4 โครงการ คือ
1.โครงการการดูแลผู้บริจาคโลกหิตด้วยการดำเนินโครงการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต
ที่ใช้ยา ระหว่างปี 2547 -2550 พบว่า
สาเหตุสำคัญที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตมาจากการใช้ยาร้อยละ 10
เนื่องจากไม่ทราบว่าต้องมีการงดยาบางประเภทก่อนที่จะมาบริจาคโลหิตหรือหาย
จากโรคหรือสาเหตุที่ต้องใช้ยาอย่างน้อย 3-7 วัน เช่น ยาปฏิชีวนะ
ยารักษาสิว และยาแอสไพริน เป็นเต้น

นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ กล่าวต่อว่า
2.โครงการการป้องกันและลดการเป็นลมระหว่างหรือหลังบริจาคโลหิต
โดยได้ให้ผู้บริจาคโลหิตดื่มน้ำก่อนการบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4
แก้ว หรือเท่ากับปริมาณโลหิตที่บริจาค 450 ซี.ซี. เพราะจะช่วย
จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น เลือดไหลเวียนดี
ป้องกันภาวะการขาดน้ำซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นลม
ซึ่งภายหลังการดำเนินการเช่นนี้ พบว่า
อัตราการเป็นลมหลังบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตฯ ระหว่าง
ส.ค.2550-มิ.ย.2551 ลดลงจาก ร้อยละ 0.25 เหลือ ร้อยละ 0.16
และที่หน่วยรับบริจาคเคลื่อนที่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงระหว่างเดือนก.ค.2550
- มิ.ย. 2551 ลดลงจาก ร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 0.16

"3. โครงการลดการสูญเสียพลาสมาขาวขุ่น พบว่าโลหิตที่ได้รับบริจาค
เมื่อนำไปปั่นแยกส่วนประกอบของโลหิต มักจะพบว่าพลาสมาหรือ น้ำเหลือง
มีสีที่ผิดปกติเช่น สีขาวขุ่น สีเขียว และสีดำ
ไม่สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้ ซึ่งพลาสมาขาวขุ่น พบในปริมาณมากที่สุด
จึงทำการศึกษาจากผู้บริจาคโลหิตที่มีพลาสมามีสีขาวขุ่น พบว่าร้อยละ 98
ไม่ทราบว่าต้องงดอาหารที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาคโลหิต
ทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารและไขมันเข้าสู่กระแสเลือด
จึงมีไขมันอยู่ในโลหิตปริมาณมาก
ผู้บริจาคโลหิตควรงดการทานอาหารที่มีไขมันสูงก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย
6 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณการเกิดพลาสมาขุ่นขาวได้"นาวาโทหญิง
พญ.อุบลวัณณ์ กล่าว

นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ กล่าวด้วยว่า 4.โครงการ
การป้องกันภาวะโลหิตจาง พบว่า สาเหตุที่ผู้ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้
อันดับ 1 หรือ ร้อยละ 40 ของผู้บริจาคโลหิต คือ ความเข้มข้นของโลหิต
ไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากเกิดภาวะโลหิตจาง จากการสูญเสียธาตุเหล็ก
ดังนั้น ผู้บริจาคโลหิตต้องให้ความสำคัญกับการรับประทานธาตุเหล็ก
ในรูปของเม็ดยา ภายหลังจากการบริจาคโลหิตทุกครั้ง
เพื่อรักษาภาวะความสมดุลของร่างกายให้สามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน
เพื่อให้โลหิตมีความเข้มข้นพอที่จะสามารถบริจาคโลหิตได้อย่างต่อเนื่อง
โดยสามารถสอบถามและขอรับเอกสารความรู้ได้ที่โทร. 0 2256 4300, 0 2263
9600 ต่อ 1760 หรือ www.blooddonationthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น