โดย ป.เพชรอริยะ
สภาพของพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ ต่างคนต่างทำงาน ต่างคนต่างก็เริ่มจะมูมมาม มุ่งแต่คิดจะหาเสบียงไว้เพื่อการเลือกตั้งในครั้งหน้า ต่างคนต่างวิ่งไปคนละทิศละทาง หาเอกภาพ หาจุดมุ่งหมายเดียวกันไม่ได้ การปกครองที่ถูกต้องทั้งรัฐบาลและปวงชนในประเทศจะต้องมุ่งหน้า ก้าวหน้าไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่เป็นไปไม่ได้เพราะว่าการเมืองการปกครองไทยมันผิดมานานแล้ว นับแต่จุดเริ่มต้น 24 มิถุนายน 2475 หรือกว่า 76 ปีที่ผ่านแล้ว
การมีความรู้อย่างถูกต้องว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ประเทศจีน ประเทศลาว ก็มีรัฐธรรมนูญ แต่เป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ เยอรมนีสมัยฮิตเลอร์ เรืองอำนาจและล่มจมในท้ายที่สุด ก็มีรัฐธรรมนูญแต่เป็นรัฐธรรมนูญของการปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสม์ (Fascism) และอะไรคือข้อผิดพลาดของการเมืองไทย
การที่ผู้ปกครองไทยในอดีตได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ แล้วตั้งชื่อเรียกว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงทำให้ผู้คนในบ้านในเมืองเข้าใจผิดไปตามๆ กันว่าเมื่อเรามีรัฐธรรมนูญ นั่นก็คือเรามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ความเห็นอันเป็นมิจฉาทิฐินี้แก้ไขยากที่สุดในหมู่นักการเมืองและนักวิชาการท างการเมืองทั้งหลาย มิจฉาทิฐิเกิดจากอะไร
แนวทางระบอบการเมืองไทยตกอยู่ใต้อิทธิพลปรัชญาแนวคิดตะวันตก ไม่สอดคล้องกับแนวคิดคำสอนในพระพุทธศาสนาและวิถีชีวิตของประชาชนไทย เอกลักษณ์ของคนไทยมีลักษณะพิเศษทั่วไปทางจิตใจของคนไทยอันมีมาแต่บรรพกาล คือ
(1) ถือธรรมเป็นใหญ่หรือธรรมาธิปไตย (Supremacy of Dharma)
(2) ถือพระมหากษัตริย์เป็นใหญ่ (The King as the head of the Kingdom of Thailand)
(3) รักความเป็นไท (อิสระ Love of Independence)
(4) รักสันติ (อหิงสา Non-Violence)
(5) การประสานประโยชน์ (Power of Assimilation)
การจัดความสัมพันธ์ระหว่าง “ระบอบหรือหลักการปกครองกับรัฐธรรมนูญ” ผิดพลาดมายาวนานกว่า 76 ปีแล้ว ข้อปฏิบัติที่ทำกันอยู่คือการยกร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ฉบับแรก จนถึงฉบับปัจจุบัน คือ ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจะสร้างระบอบประชาธิปไตย อย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย หน้าที่ของกฎหมายคือรักษา บังคับ คุ้มครอง กฎหมายไม่มีหน้าที่ที่จะไปสร้างระบอบอะไรได้เลย การสร้างระบอบต้องสร้างด้วยหลักนโยบายและนโยบาย เมื่อสร้างระบอบหรือหลักการปกครองเสร็จแล้ว จึงเขียนกฎหมายรัฐธรรมนูญมารักษาไว้
ถ้าเราสร้างหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญก็จะสะท้อนระบอบประชาธิปไตย หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (สากล) ได้แก่ (1) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (2) หลักเสรีภาพบริบูรณ์เสรีภาพทางความคิดและทางการเมือง (3) หลักความเสมอภาคทางโอกาส (4) หลักรัฐบาลจากการเลือกตั้ง (วิธีการขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง) และ (5) หลักนิติธรรม ส่วนด้านวิธีการได้แก่ ระบบรัฐสภา การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. การสรรหา ส.ว. เป็นต้น
หากว่าเรามีแนวคิดใหม่เพื่อแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ด้วยการสถาปนาหลักการปกครองแบบธรรมาธิปไตย รัฐธรรมนูญก็จะสะท้อนระบอบธรรมาธิปไตย จึงขอเสนอหลักการปกครองระบอบธรรมาธิปไตย ได้แก่
1. หลักธรรมาธิปไตย (จุดหมายสูงสุดของทุกศาสนา) ความบริสุทธิ์ในใจของทุกคน
2. หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ
3. หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (อย่างมีรูปธรรม)
4. หลักเสรีภาพบริบูรณ์
5. หลักความเสมอภาคทางโอกาส
6. หลักดุลยภาพ
7. หลักภราดรภาพ
8. หลักเอกภาพ
9. หลักนิติธรรม
ด้านวิธีการปกครอง คือ หมวดและมาตรา ระบบรัฐสภา ผู้แทนมาการเลือกตั้ง การสรรหา เป็นต้น
เมื่อจะร่างรัฐธรรมนูญก็ให้ยกร่างอยู่ภายใต้กรอบของหลักการปกครองทั้ง 9 นี้ ประชาชนประเทศชาติก็จะได้มีการปกครองแบบธรรมาธิปไตยหรือประชาธิปไตยที่แท้จร ิง ไม่ใช่ของปลอมเช่นปัจจุบัน หากว่าสร้างระบอบอะไร รัฐธรรมนูญก็จะสะท้อนระบอบนั้นๆ
ทั้งนี้ประเทศไทยไม่เคยสร้างระบอบประชาธิปไตย มีแต่การยกร่างสร้างแต่รัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้ประชาธิปไตย ถึง 18 ครั้งแล้ว เป็นมิจฉาทิฐิของนักวิชาการและนักการเมืองไทย เราขอพูดว่าจะร่างรัฐธรรมนูญสัก 100 ครั้ง 1,000 ฉบับ ก็จะไม่มีวันได้ระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการจัดความสัมพันธ์กลับหัวกลับหางเอาหัวเดินต่างเท้าปัญหาการร่างร ัฐธรรมนูญเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยนั้น ฝรั่งเป็นคนสอน แต่สอนอย่างหมกเม็ด นักคิดฝรั่งกำลังหัวเราะ ขำกลิ้งทุกครั้ง เมื่อนึกถึงประเทศไทย เพราะว่าพวกเขาหลอกเราได้สำเร็จ ก็เพื่อให้เราอ่อนแอ จุดประสงค์คือครอบงำ แย่งชิงผลประโยชน์จากประเทศไทยได้ง่าย และยาวนาน นั่นเอง “การครอบงำทางความคิด เป็นจริตที่แสนยากที่จะแก้ไข”
การจัดความสัมพันธ์ในการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้อง ที่ควรจะเป็นก็คือจะต้องมีหลักนโยบาย นโยบาย หลักการปกครอง (ระบอบ) หมวด มาตรา บทเฉพาะกาล
หลักนโยบาย คือมาจากหลักคิดในทางปรัชญาโดยธรรม กำหนดจุดมุ่งหมายหรือยุทธศาสตร์ทั่วไป ผู้รู้เป็นผู้เสนอ
นโยบาย ผู้มีอำนาจ หรือพรรคการเมืองเป็นผู้กำหนด ซึ่งมาจากหลักนโยบาย
หลักการปกครอง มีผู้เสนอหลักการปกครองธรรมาธิปไตย ผู้รู้ ผู้นำก็จะนำเสนอยกขึ้นเป็นหลักการปกครองของประเทศ เป็นศูนย์กลางทางการเมืองของชาติ เป็นศูนย์ของปวงชนในชาติ แสดงให้เห็นหากว่าเรามีหลักการปกครองโดยธรรม จะเป็นการง่าย และการจดจำของประชาชน รวมทั้งนักการเมืองทุกระดับ และประชาชนต่างก็มีความรู้ทางการเมืองเท่าๆ กัน ไปพร้อมๆ กัน หากว่ารัฐบาลใด นักการเมืองใดออกนอกลู่นอกทาง ประชาชนก็รู้เท่าทันและสามารถคัดค้าน ประชาชนก็จะไม่ถูกชักพาไปในทางที่ผิดอย่างเช่นปัจจุบันที่ประชาชนถูกชักพาไป รับใช้การเมืองบุคคล เพื่อประโยชน์ของบุคคลบางคนเท่านั้น
หมวด และมาตรา บทเฉพาะกาล ต้องอยู่ภายใต้กรอบของหลักการปกครองทั้ง 9
แต่ในอดีตความผิดพลาดอย่างซ้ำซาก หลายๆ ต่อหลายครั้ง พอร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็ดีใจกันยกใหญ่ รัฐธรรมนูญนี้สุดยอด “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” แต่ทุกวันนี้ชาวนา กรรมกร พวกเขาเหล่านี้ไม่มีอำนาจอธิปไตย ไม่มีเสรีภาพทางการเมือง ไม่มีความเสมอภาคทางการเมือง ไม่มีหลักนิติธรรมทางการเมือง ไม่มีหลักเอกภาพทางการเมือง แต่ผู้ปกครองก็จะพูดครอบงำย้ำอยู่เสมอว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย อยากจะพูดให้มันดังๆ ฟังกันทั้งแผ่นดินว่าอย่าได้บิดเบือนทำลายประเทศของตนเองกันเลย ควรจะรับฟังข้อคิด แนวคิดใหม่ๆ กันบ้าง
เราเชื่อว่าอีกไม่นานรัฐบาลนี้นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะค่อยๆเสื่อมลงไปเรื่อยๆ เพราะทั้งระบอบปัจจุบันและแนวคิดของพรรคร่วมรัฐบาล ในปัจจุบันล้วนแล้วเป็นพรรคที่เกิดจากระบอบมิจฉาทิฐิ เมื่อระบอบเลวเป็นเหตุ พรรคก็ดี รัฐบาลก็ดี ต้องเลวตาม เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ คือ กฎอิทัปปจจยตา “เมื่อเหตุเลว เป็นปัจจัยให้ผลเลว”
ดูง่ายๆ จาก มรรคมีองค์ 8 เมื่อมีสัมมาทิฐิ คือมีความเห็นถูกเป็นเหตุ ก็จะเป็นเหตุให้มีสัมมาสังกัปปะ คือ คิดถูกเป็นผล ว่าโดยย่อคือ ทำถูก มีอาชีพถูก มีความเพียรถูก มีสติถูก มีสมาธิถูก มีญาณปัญญาถูก และวิมุตติถูกในที่สุด เป็นเหตุเป็นปัจจัยไปตามลำดับไป
ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีมิจฉาทิฐิ คือมีความเห็นผิดเป็นเหตุ ก็จะเป็นปัจจัยให้คิดผิด พูดผิด ทำผิด... เป็นลำดับไป เช่นกัน
เมื่อระบอบผิด หมายถึงไม่มีหลักการปกครองโดยธรรม ย ่อมเป็นเหตุปัจจัยให้การปกครองไม่เป็นธรรม การปกครองไม่เป็นธรรมเป็นปัจจัยให้ระบบเศรษฐกิจไม่เป็นธรรม การดำเนินชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยการเบียดเบียน คนรวยมีเพียงหยิบมือเดียว คนจนขัดสนเต็มแผ่นดิน
ในอีกทางหนึ่ง เมื่อระบอบเลว ย่อมเป็นเหตุให้รัฐบาลเลว กระทรวงเลว กรมเลว จังหวัดเลว อำเภอเลว ตำบลเลว หมู่บ้านเลว ครอบครัวเลว บุคคลเลว สิ่งแวดล้อมเลว ระบอบเลวย่อมต้องแผ่ความเลวออกไปทุกทิศทุกทางในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกัน ทั้งหมด ดังที่ทานทั้งหลายได้ประจักษ์กันมากพอแล้วในปัจจุบัน
แนวทางแก้ไข หากว่า ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำไปพิจารณาริเริ่มสร้างหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ผู้เขียนยินดีให้ความร่วมมือ ในการสร้างการปกครองที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในแผ่นดิน จะก่อให้เกิดคุณูปการอันยิ่งใหญ่อย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชน ทั้งจะเป็นแบบอย่างสุดยอดให้กับโลกได้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น