คิดจะย้ายมหาวิทยาลัยหรือคณะ ทำยังไงดี ?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ .
ก้าวแรกของการสู่ชีวิตมหาวิทยาลัย คงต้องถามตัวเองก่อนว่าเราอยากทำงานอาชีพอะไร และมีปัจจัยใดบ้างที่นอกจากใบปริญญาบัตร ที่จะทำให้เราสามารถก้าวเข้าสู่สายอาชีพนั้นๆ ได้ดังใจฝัน หลายคนหาคำตอบให้กับตัวเองได้ และมองเห็นเส้นทางสายอาชีพนั้นโดยไม่ลังเล แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่เลือกนั้น ต้องสอดคล้องกับความชอบและความถนัดของตัวเองด้วย เพราะหากเลือกเรียนผิด ต้องเสียเวลาย้อนกลับไปเริ่มต้นใหม่ ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังอาจสับสนกับเส้นทางที่ตัวเองต้อง เลือก
ธิดาพร ชนะชัย อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้คำแนะนำถึงปัญหาการเปลี่ยนคณะ หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นปัญหาหลักของนักศึกษาสมัยนี้
“ บางคนมีเป้าหมายอาชีพในใจ แต่กลับต้องเรียนในสิ่งที่ผู้ปกครองแนะนำ หรือบางคนก็เลือกเรียนตามเพื่อน แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายคนพบว่าตนเองกำลังมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เช่น คณะหรือสาขาที่เลือกเรียนจบแล้วหางานยาก ไม่ชอบในสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ หรือเข้ากับอาจารย์หรือเพื่อนไม่ได้ จนกระทั่งทำให้นักศึกษาบางคนอาจทำเรื่องขอย้ายคณะหรือย้ายสาขา แต่บางคนอาจย้ายไปเรียนมหาวิทยาลัยอื่นเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาสามารถทำได้ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเช่นนั้นควรถามตัวเองถึงสาเหตุสำคัญ และวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งพิจารณาทางแก้ไขในรูปแบบอื่นก่อน”
ทั้งนี้ อาจารย์ธิดาพรได้ชี้แจงถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาว่า นักศึกษาหลายคนที่มีความตั้งใจที่จะย้ายมหาวิทยาลัย หรือ คณะ ต้องใช้หลักเหตุและผลหลายประการ ต้องพิจารณาในปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น
1.“ค่าใช้จ่ายทั้งหมด” ไ ม่ว่าจะเป็น ค่าหน่วยกิต ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีการกำหนดค่าหน่วยกิตต่างกัน แม้ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ต่างคณะกัน ค่าหน่วยกิตก็ยังต่างกัน ส่วนค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมเป็นค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมไปถึงการบริการในรูปแ บบต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา ซึ่งโดยรวมแล้วมหาวิทยาลัยเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐบาลมาก
2.“กองทุนเพื่อการศึกษาต่างๆ” นับว่ามีความจำเป็นมากสำหรับนักศึกษาในปัจจุบัน เพราะค่าใช้จ่ายในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยมีตัวเลขที่สูงพอสมควร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน กองทุนเพื่อการศึกษาต่างๆ ที่รัฐบาลจัดไว้ หรือที่มหาวิทยาลัยตั้งขึ้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ครอบครัวมีรายไ ด้ไม่มากนัก เช่น กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สำหรับนักศึกษาที่ครอบครัวมีรายได้ต่อปีรวมแล้วไม่เกิน 150,000 บาท เมื่อเรียนจบแล้วต้องใช้ทุนคืนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้บางมหาวิทยาลัยยังมีกองทุนเพื่อการศึกษาอื่นอีกหลายกองทุน
3.“คณะและสาขาที่เปิดสอน” มหาวิทยาลัยต่างๆ มีคณะและสาขาที่หลากหลาย ให้นักศึกษาได้เลือกเรียน แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีความโดดเด่นในคณะหรือสาขาที่แตกต่างกัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด นักศึกษาควรเลือกเรียนในคณะหรือสาขาที่ตนเองถนัด รักในสิ่งที่จะเรียน และเป็นสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำอย่างแน่นอน ไม่ควรเลือกเรียนตามกระแสความนิยม หรือตามเพื่อน เพราะสิ่งนี้จะไม่ทำให้นักศึกษาประสบความสำเร็จเลย
4.“คณาจารย์” นับว่าเป็นบุคลากรที่สำคัญ เพราะจะเป็นผู้ที่ช่วยสร้างนักศึกษาให้ประสบความสำเร็จและมีอาชีพที่มั่นคงใ นอนาคต มาตรฐานของคณาจารย์ในแต่ละมหาวิทยาลัยจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือใ ห้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
“งานรองรับในอนาคต” นักศึกษาควรจะเลือกศึกษาในมหาวิทยาลัย คณะ หรือสาขาที่สามารถหางานรองรับได้ง่ายหลังจากที่เรียนจบแล้ว เพราะเป้าหมายของการเรียนก็คือ การได้งานที่มั่นคง
5.“สถานที่ตั้งและการเดินทาง” บริเวณที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และการเดินทางเพื่อมาเรียนนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะนักศึกษาต้องใช้ชีวิตในการเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอย่างน้อยประมาณ 4 ปี ความสะดวกในเรื่องของการเดินทางจึงเป็นปัจจัยที่ควรคำนึงถึงอย่างมาก โดยพิจารณาว่ามหาวิทยาลัยแห่งนั้นตั้งอยู่ในตัวเมืองหรือรอบนอกเมือง มีรถประจำทางผ่านมากน้อยเพียงใด มีรถไฟฟ้าหรือไม่ ต้องใช้เวลาในการเดินทางเท่าใด เป็นต้น
6.“การบริการที่มหาวิทยาลัยจัดไว้” ถือว่าเป็นมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยควรจัดไว้สำหรับนักศึกษาประกอบด้วย หอพักที่สะอาดและปลอดภัยสำหรับนักศึกษาที่ไม่สะดวกในการเดินทาง หรือมีที่พักอยู่ต่างจังหวัด, ห้องเรียนที่มีอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนอย่างพร้อมเพรียง,ศูนย์ คอมพิวเตอร์และศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต, สำนักหอสมุดเพื่อการค้นคว้า, ศูนย์กีฬาในร่มและกลางแจ้ง รวมถึงศูนย์บริการฟิตเนส, การประกันอุบัติเหตุและการรักษาพยาบาล, ห้องอาหารที่สะอาด, ห้องพยาบาล, ห้องน้ำที่มีสุขอนามัยที่ดี, ร้ายขายหนังสือที่หลากหลาย, ธนาคารซึ่งเป็นสาขาย่อยภายในมหาวิทยาลัย, ศูนย์บริการไปรษณีย์ ฯลฯ
7.“บรรยากาศในมหาวิทยาลัย” มหาวิทยาลัยที่ดีควรมีบรรยากาศที่ร่มรื่นและน่ารื่นรมย์ สามารถสร้างความรู้สึกหรือกระตุ้นให้มีความอยากเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี มีภาพลักษณ์ที่ดีน่าเชื่อถือต่อสายตาของบุคคลภายนอก และนักศึกษาควรมีความภูมิใจที่ได้เข้ามาศึกษา ณ สถานศึกษานี้
8.“ผลการเรียนของตนเอง” นักศึกษาต้องพิจารณาว่าผลการเรียนของตนเองเหมาะที่จะเรียนในคณะหรือสาขาใด เพราะบางคณะจะมีการกำหนดเกรดขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษา และเมื่อเลือกเรียนในคณะนั้น แล้วต้องสามารถทำเกรดหรือคะแนนให้สูงขึ้นได้ไม่ยากด้วย
9.“เพื่อน” สำหรับการเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นกลุ่มเพื่อน หรือเพื่อนสนิทนับว่ามีความสำคัญ เพื่อช่วยเหลือกันในเรื่องของการเรียน และการทำกิจกรรม แต่ไม่ใช่การติดเพื่อนจนไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง
ส ำหรับรูปแบบและวิธีการย้ายมหาวิทยาลัย อาจารย์ธิดาพรเสริมว่า นักศึกษามั่นใจแล้วว่าจะย้ายเข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ต้องเลือกคณะห รือสาขาให้ตรงกับสายการเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย
อาจารย์ธิดาพร กล่าวต่อ น ักศึกษาที่เรียนจบสายศิลป์ก็ควรเลือกคณะหรือสาขาที่เป็นสายศิลป์ด้วยกัน ไม่ควรข้ามไปเรียนในคณะที่เป็นสายวิทย์ได้ และให้ตรวจสอบผลการเรียนของตนเองก่อนว่าเกรดเฉลี่ยอยู่ในระดับที่คณะหรือสาข าของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นกำหนดไว้หรือไม่
จากนั้นน ักศึกษาต้องติดต่อดำเนินการที่ฝ่ายทะเบียน พร้อมนำเอกสารการสมัครทุกอย่างมาให้ครบเหมือนกับการสมัครเข้าเรียน รวมทั้งเอกสารประกอบการใช้เทียบโอนผลการเรียนในรายวิชาที่ได้ศึกษาไปแล้ว ได้แก่ คำอธิบายรายวิชาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยเดิม โดยถ่ายเอกสารพร้อมประทับตรามหาวิทยาลัย และเซ็นชื่อกำกับ ซึ่งการเทียบโอนผลการเรียนนี้จะสามารถเทียบโอนได้ในรายวิชาที่ได้เกรด C ขึ้นไปเท่านั้น
สิ่ งสำคัญที่สุดคือเนื้อหาของวิชานั้นต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่จะเท ียบโอนของมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ อยู่ในระดับประมาณ 3 ใน 4 ของเนื้อหาทั้งหมดจึงจะสามารถเทียบโอนได้ ซึ่งบางมหาวิทยาลัยจะเก็บค่าธรรมเนียมในการ เทียบโอนเป็นรายวิชา แต่บางมหาวิทยาลัยก็ไม่มีค่าธรรมเนียม”
ส่วนการย้ายคณะ หรือสาขา ในมหาวิทยาลัยเดียวกับต้องพิจารณาที่ความถนัด หรือความชอบ นักศึกษาควรตัดสินใจเลือกให้ดี และควรพิจารณาถึงกฏเกณฑ์ดังนี้
1.“ผลการเรียนของตนเอง” อยู่ในระดับที่คณะหรือสาขานั้นกำหนดไว้หรือไม่ เพราะบางคณะจะกำหนดเกรดขั้นต่ำไว้ สำหรับผู้ที่จะเข้ามาเรียน
2.“ข้อกำหนดของคณะหรือสาขาที่จะย้ายเข้าไป” ควรตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติเบื้องต้นตามข้อกำหนดของคณะหรือสาขาที่จะย้ายเข้าไ ปเรียนหรือไม่ เพราะบางคณะจะมีข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะศึกษาต่างกัน
3.“งานรองรับในอนาคต” ควรพิจารณาว่า คณะหรือสาขาที่จะย้ายเข้าไปเรียนนั้น เมื่อจบมาแล้วควรหางานทำได้ง่าย หรือทางคณะมีการประสานงานกับองค์กรต่างๆในสายอาชีพนั้นในด้านของการฝึกงาน และการเข้าทำงานในอนาคตของนักศึกษาหรือไม่
4.“เพื่อน” การย้ายเข้ามาเรียนในคณะหรือสาขาใหม่ก็เหมือนกับการเริ่มต้นในสังคมใหม่ จึงควรหาเพื่อนที่ดีเพื่อช่วยเหลือกันในเรื่องการเรียนและการทำกิจกรรมระหว่ างเรียนด้วย
นักศึก ษาจะต้องศึกษามาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา เมื่อค้นพบว่าตนเองไม่เหมาะที่จะเรียนในคณะหรือสาขานี้ก็สามารถทำเรื่องย้าย ได้ในช่วงภาคการศึกษาที่ 1 หรือ 2 และควรทำเรื่องย้ายใน 2 สัปดาห์ก่อนที่จะเปิดภาคเรียน หรืออย่างช้าที่สุดภายในสัปดาห์แรกที่เปิดภาคเรียน
อาจารย์ธิดาพร กล่าวทิ้งท้ายว่า ช่วงเวลาของการเปลี่ยนคณะ หรือย้ายสาขา ถือเป็นเรื่องสำคัญ เ พื่อให้ทันกับการเปิดภาคเรียน นักศึกษาต้องเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งความประสงค์พร้อมเหตุผลที่จะต้องขอย ้าย และไปติดต่อที่คณะหรือสาขาใหม่ที่ต้องการย้ายไป เพื่อตรวจสอบว่าคณะหรือสาขาที่จะย้ายไปนั้นสามารถรับนักศึกษาเพิ่มได้หรือไม ่
บางคณะหรือสาขามี เงื่อนไขกันออกไป และผลการเรียนของนักศึกษาอยู่ในระดับที่คณะหรือสาขานั้นรับได้หรือไม่ ในส่วนของวิชาเรียน หากเป็นรายวิชาพื้นฐานที่ทุกคณะเรียนเหมือนกัน และนักศึกษาเรียนมาแล้วก็ไม่ต้องลงทะเบียนเรียนอีก ให้ลงเรียนในรายวิชาของคณะหรือสาขานั้นๆ ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาคนใหม่จะเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา
ไม่ว่านักศึกษาจะย้ายภายในมหาวิทยาลัย หรือย้ายต่างสถาบันในลักษณะใดก็ตาม นั่นแสดงว่านักศึกษาก็ต้องกลับมาเริ่มต้นชีวิตในสังคมใหม่ จึงต้องมีทั้งการปรับตัว ปรับใจ ปรับทัศนคติความคิดใหม่ เปิดใจยอมรับกับสภาพแวดล้อม อาจารย์ใหม่ เพื่อนใหม่ รูปแบบการเรียนใหม่ ด้วยความพร้อมและกำลังใจจากตัวเองเพื่อการก้าวไปเป็นบัณฑิตในอนาคต แต่ในทางที่ดีที่สุด นักศึกษาควรเลือกเรียนในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับตัวเองตั้งแต่ครั้งแรกข องการเข้าสู่ชีวิตการเป็นนักศึกษา เพื่อที่จะไม่ต้องย้อยกลับไปเริ่มต้นใหม่อีก เพราะชีวิตเราไม่ใช่การลองผิดลองถูก”
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000012032
ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ
ตอบลบ