++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การเมืองควร “นิ่ง” เสียที

โดย ชัยสิริ สมุทวณิช
ไม่รู้เหมือนกันว่ารัฐบาลนึกอย่างไรที่ใช้วิธีการจ่ายเงินเดือนๆ ละ 2 พันบาทให้กับพวกมีเงินเดือนประจำซึ่งไม่เกินเดือนละ 2 หมื่นบาท และยังได้ลดเงินที่สมทบการเข้าประกันสังคมให้อีกต่างหาก
      
        นี่คือนโยบายส่วนหนึ่งที่รัฐบาลหวังว่าจะช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศซ ึ่งในความคิดเห็นของผมก็มองว่ามันน่าจะส่งผลน้อยมาก เพราะมันเกี่ยวกับการใช้เงินไปในการบริโภคมากไปกว่าการกระตุ้นการผลิต
      
        น อกเหนือจากนี้ก็ยังมีนโยบายที่แปลกๆ ออกมากด้วย อย่างที่น่าสนใจก็คือ จะให้หมอจากต่างประเทศหรือหมอต่างชาติมาทำงานในไทยได้ ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลได้ให้ทางแพทยสภาไปพิจารณาดูว่ามีความเป็นไปได้และศึกษา ถึงผลกระทบโดยรวม และดูว่าจะกระทบสิทธิของคนไทยหรือไม่
      
        ในแง่อนามัยรัฐบาลจะยกสถานีอนามัยกว่า 9,762 แห่งให้เป็นโรงพยาบาลเสริมสุขภาพประจำตำบล ซึ่งผมเห็นด้วย และความจริงไม่จำเป็นต้องยกระดับเป็นโรงพยาบาล แต่ขอให้มีเครื่องไม้เครื่องมือพอเพียง อย่างน้อยพอที่จะให้ทำการผ่าตัดเล็กๆ ได้ และมีแพทย์ประจำอย่างน้อย 3 คน
      
        ท ี่ดีอีกประการหนึ่งก็คือ ทางการจะให้โรงพยาบาลเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายในการบริการสุขภาพข องรัฐมากขึ้น และมีบทบาทโดยตรงมากกว่าเดิม ซึ่งกรณีนี้ผมเห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งก็น่าจะยินดีอยู่แล้ว
      
        รัฐบาลเห็นว่านโยบายเบื้องต้นนี้น่าจะดำเนินการได้ทันที และนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้นจะพอเห็นผลได้ภายในระยะเวลาหน ึ่งเดือน และรัฐบาลก็หวังว่าเงินคงจะไหลเข้าสู่กระเป๋าประชาชนเร็วที่สุด
      
        รัฐบาลกล่าวว่า เวลานี้ได้ทำงานในส่วนผู้มีรายได้ก่อนและในส่วนผู้สูงอายุก็จะได้สิทธิในการดูแลเป็นกรณีพิเศษ
      
        แน่นอนว่า พอมีรัฐบาลใหม่ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา
      
        หน่วยงานที่หนีไม่พ้นเห็นจะเป็นองค์กรสื่อของรัฐนี่แหละ
      
        ที่ผ่านมาสื่อของรัฐนั้นออกจะเป็นปฏิกิริยา และเป็นเวทีที่กว้างเกินกว่าที่จำเป็น เป็นช่องทางให้เกิดการใช้อำนาจไปในการใช้สื่อตอบโต้ฝ่ายที่รัฐบาลไม่เห็นด้ว ย มีการพูดยั่วยุโดยไม่จำเป็น
      
        นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เวลานี้รับผิดชอบเรื่องสื่อโดยตรงมีทัศนะว่า หากต้องการให้สื่อของรัฐดำรงอยู่อย่างเป็นกลางและทำงานอย่างมืออาชีพจริงๆ ก็น่าจะต้องทบทวนบทบาท
      
        ประการแรก กรมประชาสัมพันธ์ถึงเวลาที่ควรก้าวไปสู่การเป็นองค์การมหาชน และควรหมดยุคการเป็นกลไกของรัฐทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐ เพราะนักการเมืองซีกที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็จะมาใช้เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามอย่า งต่อเนื่อง
      
        ทำให้สื่อของรัฐขาดความเป็นกลาง
      
        จนได้ภาพกรม “กรมกร๊วก” ในอดีตนั่นแหละ
      
        ดังนั้นเรื่องนี้ใช่ว่าแต่พูด แต่จะเปลี่ยนฉับพลันโดยไม่ศึกษาก็ไม่ได้ ดังนั้นย่อมมีขั้นตอน และต้องหารือกับพนักงานด้วย
      
        ประเด็นสำคัญคือ อสมท เป็นเรื่องความโปร่งใสและเรื่องการทำงานของบอร์ดเป็นสำคัญ บอร์ดมีประสิทธิภาพหรือเปล่า เป็นเรื่องที่นายสาทิตย์เองตั้งคำถามไว้
      
        ข้อสำคัญที่สุดคือ ผอ.อสมท อยู่กระบวนสรรหา และเรื่องนี้ต้องทำกันอย่างรอบคอบด้วย
      
        ปัญหาวิทยุคือเรื่องความถี่ ร่าง พ.ร.บ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสีย ง ในรัฐบาลที่แล้วมาได้เสนอโดยกระทรวงไอซีที เวลานี้กำลังแก้ไขร่างอยู่
      
        ค รับ เรื่องสื่อของรัฐสมควรยกเครื่องปฏิรูปให้ทำหน้าที่สมเหตุสมผลและเปิดโอกาสให ้เป็นอิสระจากรัฐบาล และปลอดจากผลประโยชน์ทั้งในเชิงแสวงหากำไรกันแบบไม่บันยะบันยัง และกลายเป็นแหล่งที่นักการเมืองเข้ามาทำกัน หรือส่งคนเข้ามาคุมก็ทุกยุคแหละครับ
      
        ความจริงแล้ว พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลหนนี้ ถือว่าน่าจะมีความมั่นคง และไม่น่ามีปัญหาเลย
      
        ผลงานเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์
      
        น ายอภิสิทธิ์ก็จะเป็นผู้นำในยุคที่หากพรรคสามารถพิสูจน์ให้คนกรุงเทพฯ และคนทั่วประเทศเห็นว่า เป็นพรรคที่ทำมากกว่าพูด และทำได้สำเร็จ พรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ได้นาน และเลือกตั้งครั้งหน้าก็น่าจะได้เสียงเพิ่มขึ้นจนอาจได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา อีกครั้ง
      
        แน่นอนว่าฐานของประชาธิปัตย์ที่เหนียวแน่นที่สุดย่อมเป็นภาคใต้และที่กรุงเทพฯ
      
        ก ารเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่ผ่านมาก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ฐานของพรรคบวกศรัทธาที่คนให้กับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ชนะ 46 เขต ส่วนลำดับที่ 2 คือ ยุรนันท์ ภมรมนตรี นั้นชนะไปแค่ 4 เขต โดยได้เขตดอนเมือง ลาดกระบัง-สายไหม และดุสิตเท่านั้น
      
        คุณชายสุขุมพันธุ์ ชนะด้วยคะแนน 934,602 แม้จะไม่ถึงล้าน แต่ก็สูงมากสำหรับคนที่ออกไปเลือกตั้งน้อย ส่วนที่ทิ้งคนต่อมาลำดับ 2 ก็ทิ้งห่างมากคือได้ 611,169 ถ้าเทียบเปอร์เซ็นต์ระหว่างที่ 1 ได้ 45.5 กับที่ 2 29.72 ก็จะเห็นความห่างไกลกันชัดขึ้น
      
        ส ำหรับคุณปลื้มหรือ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล นั้น มาห่างไกล ได้คะแนน 334,846 คะแนน หรือ 16.27 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และผมคิดว่า อนาคตทางการเมืองคงไม่มีอีก เพราะว่าแพ้ แม้กระทั่งดารา แก้วสรรเสียอีกที่น่าจะมีอนาคตมากกว่าแม้ว่าเขามีโอกาสจะเป็นวุฒิสมาชิกอีกใ นอนาคต แต่เขาก็ต้องการได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชนอย
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000004344

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล

    ตอบลบ