โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
“สมิทธ” ทำนายไทยเกิดฮีตเวฟ สตอร์มเซิร์จ ภัยธรรมชาติรุม หน้าร้อนอุณหภูมิทะลุ 42 องศา โรคภัยไข้เจ็บอาละวาด ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ฤดูมรสุมยิ่งน่าห่วง เอลนีโญกลับมา พายุถล่ม ฝนตกหนักรุนแรงกว่าทุกปี แนะตั้งวอร์รูมจัดการปัญหาทันควัน ด้าน สพฉ.เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และการประสานงาน เผยประชาชนใช้บริการแจ้งเหตุฉุกเฉิน 1669 ร้อยละ 50
วันที่ 29 มกราคม ในการประชุม การจัดการภัยพิบัติสำหรับประเทศไทย บทเรียนการฝึกซ้อมการบริหารวิกฤตการณ์ด้านสาธารณภัย ประจำปี 2551 นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในขณะนี้ถือว่ามีความผิดปกติ โดยประเทศไทยมีฤดูหนาวยาวนานและอุณหภูมิลดลงต่ำเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากได้รับอิทธิพลมวลอากาศเย็นจากขั้วโลกเหนือผ่านมาทางจีนนานผิดปกติ โดยมาพร้อมกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ชายฝั่งภาคตะวันออกด้านอ่าวไทย มีความเร็วลม 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีสตรอมเซิร์จขนาดกลางและเล็ก ทำให้เกิดคลื่นกัดเซาะชายฝั่งที่หัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งเห็นได้ชัดเจนบริเวณแหลมตะลุมพุก บริเวณชายฝั่ง บ้านเรือนประชาชนเกิดความเสียหายรุนแรง 2-3 เมตร
นายสมิทธ ธรรมสโรช
นายสมิทธ กล่าวต่อว่า การเกิดภัยธรรมชาติที่ผิดปกติในช่วงฤดูหนาวนี้ ทำให้นักวิชาการ นักวิจัยต่างวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางถึงสภาวการณ์ของโล กที่ไม่ใช่เกิดเฉพาะในไทย แต่ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ต่างก็ได้รับผลกระทบจากมวลอากาศเย็นจากขั้วโลกเหนือเคลื่อนตัวเข้าหาเส้นศูน ย์สูตร ซึ่งคาดว่าเกิดจากแกนของโลกเอียงห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าปกติจากเดิมในฤดูห นาวแกนโลกจะเอียงห่างจากดวงอาทิตย์ 23.5 องศา แต่ปีนี้อาจห่างมากกว่านั้น ซึ่งในอดีตแกนโลกห่างจากดวงอาทิตย์แค่ 0.5-1 องศา อย่างไรก็ตาม ภายใน 1-2 เดือน น่าจะมีหลักฐานทางวิชาการออกมายืนยันผล
“ สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หากปีนี้ฤดูหนาวยาวนานในฤดูร้อนจะเป็นอย่างไร ซึ่งในปีนี้จะมีภัยพิบัติรุนแรงหรือไม่จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงฤดูร้อนนี้ หากหากฤดูร้อนสั้นลง หรือแกนของโลกจะเอียงเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นทำให้อุณหภูมิสูงหรืออุ่นล้ว นผลกระทบทั้งสิ้น ผลโดยตรงอาจเกิดคลื่นความร้อน หรือฮีตเวฟ เหมือนที่เกิดขึ้นในอินเดียมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก คาดว่าปีนี้อุณหภูมิน่าจะสูงถึง 42 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว นอกจากนี้อาจเกิดไฟป่า มีหมอกควันปกคลุมเหมือนที่เคยเกิดในภาคเหนือของไทย สำหรับผลกระทบทางอ้อม โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ลดลง เกิดภาวะแห้งแล้งส่งผลให้ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ขณะเดียวกันโรคระบาดจะมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บสูงเพราะเชื้อโรคสามารถแพร่พันธุ์ได้ง่าย ผนวกกับประเทศไทยกำลังประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจยิ่งทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนซ้ำเต ิมปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน”นายสมิทธ กล่าว
อดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวอีกว่า ส่วนในฤดูมรสุมซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากฤดูร้อนที่น้ำแข็งขั้วโลกเกิดการ ละลายอย่างมากทำให้อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรมรลดลง เมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดความชื้นมาจากมหาสมุทรอินเดียและอันดามันเข้าม าทางตะวันตกเฉียงเหนือมาเจอกับความร้อนที่ระเหยมาจากพื้นดิน ทำให้เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญมีความรุนแรงมากขึ้น มีฝนตกหนัก เกิดพายุบ่อยครั้ง น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม รวมถึงสตอร์มเซิร์จขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าปีนี้สถานการณ์น่าจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านๆ มา
“ส่วนการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ควรจะมีการตั้งวอร์รูมขึ้นเพื่อสามารถรับมือสถานการณ์ได้ทันท่วงที และถือเป็นหน้าที่ที่ต้องร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเนื่องจากหากต้องรอเข้าที่ประชุ มเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติขึ้นอาจไม่ทันการณ์” นายสมิทธกล่าว
ด้านนพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (เลขาธิการ สพฉ.) กล่าวว่า เหตุการณ์ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ การที่นายสมิทธได้วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ไว้ก็อาจเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ดังนั้นจึงต้องมีความพร้อมเตรียมรับมือกับทุกสถานการณ์ ที่ผ่านมาสึนามิ หรือล่าสุดเพลิงไหม้ที่ซานติก้าผับ ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของคนไทย เนื่องจากสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่า ไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องก ารประสานงานและความไม่พร้อมของการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่โดยขณะนี้พยายามพัฒนาระบบในการบรรเทาสาธารณภัยให้ดียิ่งข ึ้น โดยร่วมมือกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนในระดับจังหวัดจัดให้มีแผนการซักซ้อมวิกฤตการณ์ด้านสาธารณ์ภัยซึ่งกำหนด ให้มีการซักซ้อม 2-5 ครั้งต่อปี
“ ประเทศไทยมีทรัพยากรอยู่แล้ว จึงอยู่ที่การประสานงานและบริหารจัดการ เช่น สามารถประสานขอความช่วยเหลือโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ของทหาร หรือตำรวจเมื่อเกิดภัยพิบัติได้ ซึ่งในอนาคตจะเสนอให้มีการลงนามความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานทั้งทหาร ตำรวจ โรงพยาบาลเอกชน ที่มีความพร้อม โดยคำนึงถึงชีวิตของประชาชนเป็นหลัก ส่วนค่าใช้จ่ายนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือสพฉ.มีระเบียบตามกฎหมายเรื่องค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 40,000 บาทต่อครั้ง โดยผู้ป่วยหรือญาติที่มีกำลังจ่าย สามารถมีส่วนร่วมจ่าย เนื่องจากการใช้เฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติหน้าที่แต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1 แสนบาท ซึ่งถือเป็นการซื้อเวลาช่วยรักษาชีวิตเป็นเรื่องคุ้มค่า”
นพ.ชาตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับผลการดำเนินงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉินทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1-26 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา มีปฏิบัติการกู้ชีพทั้งสิ้น 50,914 ราย ได้รับแจ้งจากสายด่วน 1669 จำนวน 25,725 ราย หรือ ร้อยละ 50.53 ส่วนเหตุที่ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตสูงสุด คือ อุบัติเหตุจราจร 16,671 ราย หรือร้อยละ 32.74 โดยเจ้าหน้าที่บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน (อีเอ็มเอส) สามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาที 37,844 ราย หรือร้อยละ 74.33 สามารถให้การดูแลรักษา ณ จุดเกิดเหตุ 47,950 ราย หรือร้อยละ 94.17 โดยพบว่ามีผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ 35 รายหรือร้อยละ 0.07 นอกจากนี้มีผู้โทรศัพท์ก่อกวนประมาณร้อยละ 20-30 โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000010778
ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ
ตอบลบ