A Comparison of Achievement, Reasoning Mathematical and Attitude toward Mathematics on Real Number Topic for students Matthayomsuksa 4 By using Team Assisted Individualization Approach and the Following-Teacher’s Handbook learning Approach
รัชนี งอกศิริ (Rutchanee Ngoksiri)*ดร.นิราศ จันทรจิตร (Dr. Nirat Jantharajit) **ดร. ญาณภัทร สีหะมงคล (Dr. Yanabhpat Seehamongkhon) ***
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล(TAI)ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล(TAI) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ , เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล(TAI)และการเรียนรู้ตามคู่มือครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 80 คน เลือกเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน สอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล กลุ่มควบคุม 40 คน สอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล(TAI)และแผนการจัดกิจกรรมตามคู่มือครู แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผล แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู มีประสิทธิภาพ 84.49 / 79.31 และ 83.02 / 78.25 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและมีค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนเท่ากับ .7055 / .6898 ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) และนักเรียนที่ได้รับการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่แตกต่าง 3) ความสามารถในการให้เหตุผลของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) มีความสามารถในการให้เหตุผลผลสูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) และนักเรียนที่ได้รับการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู ไม่แตกต่าง
ABSTRACT
The purpose of research 1) to study plans for the organization of Teams Assisted Individualization (TAI) group learning activities with a required efficiency of 75/75 2) to find our an effectiveness index of plans for the organization of learning activities 3) to compare mathematics learning achievement, reasoning, Attitude toward Mathematics by the organization of Teams Assisted Individualization(TAI) group learning activities and the organization of the Following-Teacher’s Handbook learning Approach. The sample consisted of 80 Matthayomsuksa 4 Students of Nonthaikhuruuppatham School in Amphoe Nonthai, Chagwat NakhonRatchasima In first semester of the academic year 2006. They were selected through the purposive sampling technique and were divided into an experimental group and a control group by labeling method. The experiment group 40 students was taught through the Teams Assisted Individualization (TAI) approach while the control group 40 students was taught through the Following-Teacher’s Handbook learning Approach. They types of instruments used included : 9 plans for the organization of Teams Assisted Individualization(TAI) group learning activities and 9 plans for the organization of the Following-Teacher’s Handbook learning Approach activities. achievement test, reasoning thinking ability test and questionnaire on attitude toward mathematics. The results of research were as follows : 1) The pans for the organization of Teams Assisted Individualization (TAI) group learning activities and learning by using the plans for organization of the Following-Teacher’s Handbook learning Approach activities had efficiency of 84.48/79.31 and 83.02/78.25 respectively which indicated higher efficiency than the established requirements and had effectiveness index of .7055 and .6898 respectively 2) The academic achievement of was not statistically significant difference. 3) The ability of reasoning of experimental group showed higher than control group at the .05 level of significance. 4) The attitude to wards mathematics of the experimental group and control group was not statistically significant different.
* นักศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม** อาจารย์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม*** อาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น