สละเวลาอ่านสักนิดจะได้รู้ต้นสายปลายเหตุ
Siriwanna Jill
ปัญหามุสลิมโรฮีนจา เผือกร้อนในหลายประเทศ ในภูมิภาค ผลพวงจากอังกฤษ ใช้ชาวโรฮีนจา เป็นทหารรับจ้าง ต่อสู้กับพม่า จนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ รัฐบาลพม่าถึงได้แค้น และ ชิงชัง อีกทั้งอังกฤษ ส่งเสริมให้ชาวเบงกอล ที่อยู่ในดินแดนใกล้เคียง อพยพเข้าไปตั้งรกรากในดินแดนอาระกัน ในฐานะผู้ใช้แรงงานในฟาร์ม อังกฤษ ยกเลิกเขตแดนระหว่างเบงกอลและ อาระกัน ทำให้มีไม่ข้อจำกัด ในการอพยพระหว่างดินแดน
รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับ ชาวโรฮีนจาเป็นประชาชนชาวพม่า โดยให้เหตุผลว่าประเทศพม่าเป็นเมืองพุทธ แต่ชาวโรฮีนจาเป็นคนอิสลาม และชาวโรฮีนจาส่วนใหญ่ ไม่ยอมใช้ภาษาพม่าในการสื่อสาร
การหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภ้ยที่ Cox's Bazar เพราะมีการปล่อยข่าวว่า สามารถทำางานในไทยได้และทางการมาเลเซียจะให้ที่ทำกิน จึงทำให้มีการลักลอบเข้าประเทศ ทั้ง 2 มาก ที่ผ่านมามาเลเซียให้อยู่ชั่วตราว มีใบอนุญาตทำงานชั้นต่ำ ประเภท 3D or 5D jobs - “dirty, difficult and dangerous”, or with “domestic and dull” โดยหวังว่า UNHCR จะดูแลและจะออกเอกสารรับรองให้ สามารถขอผ่อนผัน ให้อยู่โดยไม่ต้องถูกจับกุม หรือส่งกลับมาตุภูมิ จนกว่าจะเดินทางไปประเทศที่สาม โดย UNHCR เป็นฝ่ายดำเนินการให้
องค์การระหว่างประเทศ ที่มีบทบาทต่อประเทศไทย ในประเด็นสิทธิมนุษยชนมากที่สุดคือ UNHCR รัฐบาลไทย ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคนไทยด้วยกัน จากกรณีเหตุการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากการนำเสนอข่าว ที่บิดเบือนไปของสื่อต่างประเทศ บางสำนักในประเทศไทย
รัฐบาลไทยให้การช่วยเหลือ ชาวโรฮินจาตามหลักมนุษยธรรม แต่บนพื้นฐานหลักการ กลุ่มโรฮินจาเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง อย่างผิดกฎหมาย (Illegal migration) มิใช่ผู้หนีภัยจากการสู้รบ (Displaced person from fighting) และมิใช่เป็นผู้อพยพ/ลี้ภัย (Refugee) แนวทางปฏิบัติของทางการไทย จึงต้องเป็นไปตามกรอบกฎหมายของไทย ซึ่งทั้งหมด ก็จะถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ที่ลักลอบหนีเข้าเมือง มาอย่างผิดกฎหมาย
การดำเนินการของไทย จะเป็นมาตรการสกัดกั้น ใน 2 ลักษณะ คือ กรณี ชาวโรฮินจาสามารถเข้าถึงแนวชายฝั่ง จะดำเนินการจับกุมโดยใช้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ กองกำลังป้องกันชายแดน ทหารเรือ และตำรวจน้ำ ก่อนที่จะส่งมอบให้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินคดี และผลักดันต่อไป กรณี สามารถจับกุมได้ในขณะยังไม่ขึ้นฝั่ง จะใช้ วิธี การผลักดัน
แต่เนื่องจากการที่ชาว โรฮินจา ถูกปฏิเสธจากทางการพม่า และการส่งกลับแบบที่ เคยทำในช่วงเวลาก่อนปี 2555 ไม่ได้ถูกยอมรับจากรัฐบาลพม่า อีกต่อไปแล้ว และในปัจจุบัน การควบคุมภายใต้ ตม. นี้ ที่ทางรัฐบาลไทยได้ปฏิบัติไปนั้น ก็เพื่อรอการส่งต่อไป ยังรัฐชาติอื่น ๆ ที่ยอมรับสถานะ ของชาวมุสลิมโรฮินจา
Siriwanna Jill
ปัญหามุสลิมโรฮีนจา เผือกร้อนในหลายประเทศ ในภูมิภาค ผลพวงจากอังกฤษ ใช้ชาวโรฮีนจา เป็นทหารรับจ้าง ต่อสู้กับพม่า จนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ รัฐบาลพม่าถึงได้แค้น และ ชิงชัง อีกทั้งอังกฤษ ส่งเสริมให้ชาวเบงกอล ที่อยู่ในดินแดนใกล้เคียง อพยพเข้าไปตั้งรกรากในดินแดนอาระกัน ในฐานะผู้ใช้แรงงานในฟาร์ม อังกฤษ ยกเลิกเขตแดนระหว่างเบงกอลและ อาระกัน ทำให้มีไม่ข้อจำกัด ในการอพยพระหว่างดินแดน
รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับ ชาวโรฮีนจาเป็นประชาชนชาวพม่า โดยให้เหตุผลว่าประเทศพม่าเป็นเมืองพุทธ แต่ชาวโรฮีนจาเป็นคนอิสลาม และชาวโรฮีนจาส่วนใหญ่ ไม่ยอมใช้ภาษาพม่าในการสื่อสาร
การหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภ้ยที่ Cox's Bazar เพราะมีการปล่อยข่าวว่า สามารถทำางานในไทยได้และทางการมาเลเซียจะให้ที่ทำกิน จึงทำให้มีการลักลอบเข้าประเทศ ทั้ง 2 มาก ที่ผ่านมามาเลเซียให้อยู่ชั่วตราว มีใบอนุญาตทำงานชั้นต่ำ ประเภท 3D or 5D jobs - “dirty, difficult and dangerous”, or with “domestic and dull” โดยหวังว่า UNHCR จะดูแลและจะออกเอกสารรับรองให้ สามารถขอผ่อนผัน ให้อยู่โดยไม่ต้องถูกจับกุม หรือส่งกลับมาตุภูมิ จนกว่าจะเดินทางไปประเทศที่สาม โดย UNHCR เป็นฝ่ายดำเนินการให้
องค์การระหว่างประเทศ ที่มีบทบาทต่อประเทศไทย ในประเด็นสิทธิมนุษยชนมากที่สุดคือ UNHCR รัฐบาลไทย ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคนไทยด้วยกัน จากกรณีเหตุการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากการนำเสนอข่าว ที่บิดเบือนไปของสื่อต่างประเทศ บางสำนักในประเทศไทย
รัฐบาลไทยให้การช่วยเหลือ ชาวโรฮินจาตามหลักมนุษยธรรม แต่บนพื้นฐานหลักการ กลุ่มโรฮินจาเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง อย่างผิดกฎหมาย (Illegal migration) มิใช่ผู้หนีภัยจากการสู้รบ (Displaced person from fighting) และมิใช่เป็นผู้อพยพ/ลี้ภัย (Refugee) แนวทางปฏิบัติของทางการไทย จึงต้องเป็นไปตามกรอบกฎหมายของไทย ซึ่งทั้งหมด ก็จะถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ที่ลักลอบหนีเข้าเมือง มาอย่างผิดกฎหมาย
การดำเนินการของไทย จะเป็นมาตรการสกัดกั้น ใน 2 ลักษณะ คือ กรณี ชาวโรฮินจาสามารถเข้าถึงแนวชายฝั่ง จะดำเนินการจับกุมโดยใช้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ กองกำลังป้องกันชายแดน ทหารเรือ และตำรวจน้ำ ก่อนที่จะส่งมอบให้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินคดี และผลักดันต่อไป กรณี สามารถจับกุมได้ในขณะยังไม่ขึ้นฝั่ง จะใช้ วิธี การผลักดัน
แต่เนื่องจากการที่ชาว โรฮินจา ถูกปฏิเสธจากทางการพม่า และการส่งกลับแบบที่ เคยทำในช่วงเวลาก่อนปี 2555 ไม่ได้ถูกยอมรับจากรัฐบาลพม่า อีกต่อไปแล้ว และในปัจจุบัน การควบคุมภายใต้ ตม. นี้ ที่ทางรัฐบาลไทยได้ปฏิบัติไปนั้น ก็เพื่อรอการส่งต่อไป ยังรัฐชาติอื่น ๆ ที่ยอมรับสถานะ ของชาวมุสลิมโรฮินจา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น