ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย ธาตุเหล็กจึงมีความ "สำคัญต่อไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง" เป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อขาดธาตุเหล็ก จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง หรือ Anemia (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก) นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังมีช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ (Cognitive development) ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงมีปัญหาการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆในการนำพลังงานต่างๆไปใช้
ในทางตรงข้าม หากได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป หรือจากการเสริมธาตุเหล็กในปริมาณสูงต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ รวมทั้งอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียปวดท้องปวดศีรษะหายใจลำบากอ่อนเพลียวิงเวียนน้ำหนักลดผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเทา กดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคภูมิต้านตนเอง (Autoimmune) หรือโรคมะเร็งได้ และหากมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายในปริมาณมากขึ้น จะส่งผลต่อการทำงานของไขกระดูก ตับ ไต หัวใจ ปอด และสมอง ก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลียมากขึ้นภาวะซีดหัวใจเต้นผิดปกติ ตัวเขียวคล้ำชักตับวายไตวายโคม่า และอาจอันตรายถึงเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น จึงไม่ควรได้รับธาตุเหล็กเสริมอาหารเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
1 เด็กแรกเกิดที่กินนมแม่อย่างเดียวสำหรับทารกแรกเกิดถึงอายุ 2 เดือน จะได้รับเหล็กที่อยู่ในนมแม่ถูกดูดซึมได้ถึงร้อยละ 50 แต่ถ้าได้รับอาหารเสริมอย่างอื่นด้วยการดูดซึมของเหล็กจะลดลง จึงไม่แนะนำอาหารเสริม
2 สำหรับเด็กที่โตขึ้นอายุตั้งแต่ 3-5, 6-8 และ 9-11 เดือน ต้องการเหล็กเพิ่มขึ้นคือวันละ 6, 7 และ 8 มก.ตามลำดับ
3 เด็กอายุ 1-9 ปี ทั้งหญิงและชายต้องการวันละ 10 มก.
4 เด็กชายอายุ 10-15 ปี ต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 12 มก.ต่อวัน
5 และผู้ชายอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปต้องการ 10 มก. ต่อวัน
6 ส่วนผู้หญิงอายุตั้งแต่ 10 ถึง 49 ปี ต้องการเหล็ก 15 มก.ต่อวัน
และอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ต้องการน้อยลงเนื่องจากไม่มีประจำเดือนเหลือเพียงวันละ 10 มก.
7 หญิงตั้งครรภ์ต้องการเหล็กเพิ่มขึ้นอีกวันละ 30 มก. ส่วนหญิงให้นมลูกต้องการเหล็กวันละ 15 มก.
พืชที่มีธาตุเหล็กสูงสุด 10 อันดับแรก โดยเทียบจากน้ำหนักผัก 100 กรัม ได้แก่ ผักกูด (36.3 มิลลิกรัม) ถั่วฝักยาว (26 มิลลิกรัม) ผักแว่น (25.2 มิลลิกรัม) เห็ดวัว หรือเห็ดฟาง (22.2 มิลลิกรัม) พริกหวาน (17.2 มิลลิกรัม) ใบแมงลัก (17.2 มิลลิกรัม) ใบกะเพรา (15.1 มิลลิกรัม) ผักเม็ก (11.6 มิลลิกรัม) ยอดมะกอก (9.9 มิลลิกรัม) ยอดอ่อนกระถิน (9.2 มิลลิกรัม)
อ่านความรู้ที่ https://sites.google.com/…/applicat…/thatu-helk-tx-sukhphaph
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น