ทุกวันเสาร์ จะเป็นหัวข้อ" เสาร์สรรสร้าง "
วันเสาร์นี้ 28 มีค. 2558 วันนี้ขอเสนอเรื่อง
" วิธีกันความร้อน จากหลังคาคอนกรีต"
ผมมีห้องทำงานที่บ้านที่ดัดแปลงมาจากที่จอดรถเดิม แต่ต้องเจอกับปัญหาความร้อนที่ลงมาจากหลังคาโรงรถคอนกรีต จนแทบเข้าไปใช้งานห้องนี้ไม่ไหว แม้ในตอนเย็นที่ไม่มีแดดแล้วก็ยังมีไอร้อนที่คายออกมาจากหลังคาคอนกรีตร้อนๆออกมาได้อีกหลายชั่วโมง...ผมจึงต้องหาวิธีต่อสู้กับความร้อนนี้ให้ได้
ตามข้อกำหนดข้อจำกัดของผมและ เป็นวิธีของวิศวกรด้วย หมายความว่าห้ามใช้แก้โดยวิธีต่อไปนี้ เช่น ติดแอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น( เสียค่าไฟแพง) , ทำฝ้าเพดานห้องเพิ่มและเติมแผ่นฉนวนกันความร้อน( ดี แต่จะมาบังโครงสร้างที่ผมภูมิใจมากและต้องหยุดใช้งานห้อง ) , ทำหลังคาขึ้นไปอีกชั้น( เสียรูปแบบบ้าน) , เอากระเบื้องหลังคาลอนคู่มาวางทับ( ถูก แต่น่าเกลียด) , พ่นทับด้วยวัสดุผสมCeramicกันความร้อน ( แพง ) ...หลังจากเปรียบเทียบวิธีการต่างๆข้อดี
ข้อเสีย จำนวนเงินที่ต้องใช้ แล้วผมเลือกใช้วิธีนี้ครับ:..ใช้กระเบื้องคอนกรีต
ที่มีขาสั้นๆ 4 ขา ขายกขึ้นมาสูงประมาณ 4 ซม. ที่เรียกกันว่า Solar Slab
ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กระเบื้องปูพื้นดาดฟ้า CT เป็นกระเบื้องคอนกรีตที่เขาทำมาเพื่อใช้ปูบนชั้นดาดฟ้า ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่ให้ส่องมายังพื้นดาดฟ้าโดยตรง ใต้แผ่นกระเบื้องจะมีช่องว่างที่เป็นโพรงอากาศ ดังนั้นเมื่อแสงแดดกระทบกับพื้นผิวของกระเบื้อง จะทำให้ความร้อนลอยสูงขึ้น ก็จะมีการถ่ายเทอากาศเข้ามาแทนที่ ราคาก็ไม่แพง เพียงตารางเมตรละประมาณ 200 บาท ...การติดตั้งที่ผมทำเอง ไม่ได้ใช้ปูนยึดที่ขา ผมใช้เอามาวางเรียงชิดกันง่ายๆ ทำเองได้ในวันหยุด..ถามหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างใหญ่ๆ แต่ที่ร้านของCPAC
เขาจะมีบล็อกปูพื้นกันความร้อนใหม่อีกตัวชื่อว่า COOL PLUS ดูแล้วน่าสนใจแต่ผมยังไม่เคยใช้....อันที่ผมใช้ค้นหาดูได้ใน
กระเบื้องปูพื้นดาดฟ้า CT. - บริษัท เซลโลกรีตไทย จำกัด
www.cellocretethai.com/customize-กระเบื้องปูพื้น...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น