แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท
“ขอให้นายกรัฐมนตรี อย่าเพิ่งเปิดให้สัมปทานปิโตเลียมโดยที่ยังไม่ได้ศึก.ษาอย่างถี่ถ้วน”
วันที่ 18 มกราคม 2558
แถลงโดย นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
สืบเนื่องจากความทุกข์และความคาดหวังของประชาชนต่อเรื่องการปฎิรูปพลังงานที่กระทบปากท้องของคนทุกคน จนนำมาสู่การถกเถียงและเคลื่อนไหวของหลายกลุ่มในสังคม ที่แม้จะต่างแนวคิดต่างความเชื่อ แต่ก็ล้วนมีความปรารถนาดีของประเทศไทย ความตื่นตัวของประชาชนนั้น ส่งผลให้การที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้มีมติเสียงข้างมาก 130 ต่อ 79 เสียงในวันที่ 13 มกราคม 2558 ไม่เห็นด้วยกับการให้สัมปทานปิโตรเลียมและสนับสนุนแนวทางตามระบบการแบ่งปันผลผลิต อย่างไรก็ตามในสองวันถัดมา นายกรัฐมนตรีก็ออกมายืนยันว่าให้เดินหน้าสัมปทานต่อไป ซึ่งผิดไปจากความคาดหวังของประชาชนในประเทศอย่างมาก
ชมรมแพทย์ชนบทมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้
1. ชมรมแพทย์ชนบทเข้าใจว่า ปัญหาของประเทศชาติมีจำนวนมาก ต่างล้วนมีความซับซ้อน มีสาระเฉพาะที่ยากที่จะเข้าใจได้ทั้งหมดในเวลาอันจำกัด ท่านนายกรัฐมนตรีเองก็มีเวลาเพียง 24 ชั่วโมง มีหนึ่งสมองสองมือเหมือนกับทุกคน ประกอบกับการที่ท่านถูกประกบและมีโอกาสรับฟังเฉพาะคนใกล้ชิด โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานและเทคโนแครตด้านพลังงานมากกว่าสียงของประชาชนหรือคนที่คิดต่าง จึงไม่แปลกที่นายกรัฐมนตรีจะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกับกระทรวงพลังงานที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนายทุนพลังงาน
2. ชมรมแพทย์ชนบทซึ่งได้มีส่วนร่วมในเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปใหญ่ประเทศไทยตั้งแต่แรก และได้ติดตามประเด็นการปฏิรูปพลังงานอย่างใกล้ชิด มีความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้านปิโตรเลียมแก่นายทุนพลังงานมายาวนานด้วยการให้สัมปทาน ครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญที่ประเทศไทยจะได้เริ่มต้นจัดการปิโตรเลียมใหม่ให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานอย่างแท้จริง การสัมปทานคือการขายสิทธิทั้งหมดเสมือนการที่จีนจำใจยอมยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษเช่าในอดีต เมื่อสัมปทานไปแล้ว เราจะสูญเสียสิทธิเหนือพื้นที่สัมปทานไปตลอดอายุสัมปทาน 39 ปีอย่างไม่อาจเรียกกลับคืนมา แต่ระบบการแบ่งปันผลผลิต เรายังเป็นเจ้าของทรัพยากร ยังเป็นเจ้าของสิทธิทุกประการ ผลิตปิโตรเลียมได้มาเท่าไรก็แบ่งปันผลผลิตกันตามสัญญา บังเกิดความมั่นคงทางพลังงานมากกว่า และที่สำคัญโปร่งใสมากกว่า โอกาสเกิดการคอรับชั่นน้อยกว่าการให้สัมปทานอย่างมาก
3. ชมรมแพทย์ชนบทยังมีความเชื่อมั่นลึกๆว่า ท่านนายกรัฐมนตรี มีความตั้งใจในการพัฒนาและแก้ปัญหาประเทศ โดยไม่ได้มีผลประโยชน์ส่วนตน แต่การตัดสินใจที่ไม่ฟังเสียงประชาชนและ สปช.นั้น เป็นเพราะอิทธิพลของทุนปิโตรเลียมที่ใกล้ชิดและฉ้อฉล เป่าหูด้วยข้อมูลรายละเอียดที่ซับซ้อนจนมึนงง ถึงขนาดที่จับหลักการใหญ่ไม่ถูก ดังนั้นหากหลากหลายองค์กรร่วมกันออกมาแสดงจุดยืนให้ความเห็น จนเป็นกระแสร่วมของสังคมแล้ว เชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะหันกลับทบทวนจุดยืนของตนเองและรัฐบาล หาไม่แล้วรัฐบาลก็จะสูญเสียความชอบธรรมในการปกครองประเทศไปอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้
ชมรมแพทย์ชนบทหวังว่า ท่านนายกรัฐมนตรีจะทบทวนจุดยืนที่ได้ประกาศไปแล้ว แล้วหันกลับมาฟังเสียงประชาชนและองค์กรอื่นๆ รวมทั้งเสียงของฝ่ายทหารสายปฏิรูปเองที่ก็ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทาน เพื่อให้การตัดสินใจครั้งนี้มีความรอบคอบ ไม่ตกเป็นเครื่องมือของทุนพลังงานที่รอเขมือบทรัพยากรประเทศไทย
“ขอให้นายกรัฐมนตรี อย่าเพิ่งเปิดให้สัมปทานปิโตเลียมโดยที่ยังไม่ได้ศึก.ษาอย่างถี่ถ้วน”
วันที่ 18 มกราคม 2558
แถลงโดย นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
สืบเนื่องจากความทุกข์และความคาดหวังของประชาชนต่อเรื่องการปฎิรูปพลังงานที่กระทบปากท้องของคนทุกคน จนนำมาสู่การถกเถียงและเคลื่อนไหวของหลายกลุ่มในสังคม ที่แม้จะต่างแนวคิดต่างความเชื่อ แต่ก็ล้วนมีความปรารถนาดีของประเทศไทย ความตื่นตัวของประชาชนนั้น ส่งผลให้การที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้มีมติเสียงข้างมาก 130 ต่อ 79 เสียงในวันที่ 13 มกราคม 2558 ไม่เห็นด้วยกับการให้สัมปทานปิโตรเลียมและสนับสนุนแนวทางตามระบบการแบ่งปันผลผลิต อย่างไรก็ตามในสองวันถัดมา นายกรัฐมนตรีก็ออกมายืนยันว่าให้เดินหน้าสัมปทานต่อไป ซึ่งผิดไปจากความคาดหวังของประชาชนในประเทศอย่างมาก
ชมรมแพทย์ชนบทมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้
1. ชมรมแพทย์ชนบทเข้าใจว่า ปัญหาของประเทศชาติมีจำนวนมาก ต่างล้วนมีความซับซ้อน มีสาระเฉพาะที่ยากที่จะเข้าใจได้ทั้งหมดในเวลาอันจำกัด ท่านนายกรัฐมนตรีเองก็มีเวลาเพียง 24 ชั่วโมง มีหนึ่งสมองสองมือเหมือนกับทุกคน ประกอบกับการที่ท่านถูกประกบและมีโอกาสรับฟังเฉพาะคนใกล้ชิด โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานและเทคโนแครตด้านพลังงานมากกว่าสียงของประชาชนหรือคนที่คิดต่าง จึงไม่แปลกที่นายกรัฐมนตรีจะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกับกระทรวงพลังงานที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนายทุนพลังงาน
2. ชมรมแพทย์ชนบทซึ่งได้มีส่วนร่วมในเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปใหญ่ประเทศไทยตั้งแต่แรก และได้ติดตามประเด็นการปฏิรูปพลังงานอย่างใกล้ชิด มีความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้านปิโตรเลียมแก่นายทุนพลังงานมายาวนานด้วยการให้สัมปทาน ครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญที่ประเทศไทยจะได้เริ่มต้นจัดการปิโตรเลียมใหม่ให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานอย่างแท้จริง การสัมปทานคือการขายสิทธิทั้งหมดเสมือนการที่จีนจำใจยอมยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษเช่าในอดีต เมื่อสัมปทานไปแล้ว เราจะสูญเสียสิทธิเหนือพื้นที่สัมปทานไปตลอดอายุสัมปทาน 39 ปีอย่างไม่อาจเรียกกลับคืนมา แต่ระบบการแบ่งปันผลผลิต เรายังเป็นเจ้าของทรัพยากร ยังเป็นเจ้าของสิทธิทุกประการ ผลิตปิโตรเลียมได้มาเท่าไรก็แบ่งปันผลผลิตกันตามสัญญา บังเกิดความมั่นคงทางพลังงานมากกว่า และที่สำคัญโปร่งใสมากกว่า โอกาสเกิดการคอรับชั่นน้อยกว่าการให้สัมปทานอย่างมาก
3. ชมรมแพทย์ชนบทยังมีความเชื่อมั่นลึกๆว่า ท่านนายกรัฐมนตรี มีความตั้งใจในการพัฒนาและแก้ปัญหาประเทศ โดยไม่ได้มีผลประโยชน์ส่วนตน แต่การตัดสินใจที่ไม่ฟังเสียงประชาชนและ สปช.นั้น เป็นเพราะอิทธิพลของทุนปิโตรเลียมที่ใกล้ชิดและฉ้อฉล เป่าหูด้วยข้อมูลรายละเอียดที่ซับซ้อนจนมึนงง ถึงขนาดที่จับหลักการใหญ่ไม่ถูก ดังนั้นหากหลากหลายองค์กรร่วมกันออกมาแสดงจุดยืนให้ความเห็น จนเป็นกระแสร่วมของสังคมแล้ว เชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะหันกลับทบทวนจุดยืนของตนเองและรัฐบาล หาไม่แล้วรัฐบาลก็จะสูญเสียความชอบธรรมในการปกครองประเทศไปอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้
ชมรมแพทย์ชนบทหวังว่า ท่านนายกรัฐมนตรีจะทบทวนจุดยืนที่ได้ประกาศไปแล้ว แล้วหันกลับมาฟังเสียงประชาชนและองค์กรอื่นๆ รวมทั้งเสียงของฝ่ายทหารสายปฏิรูปเองที่ก็ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทาน เพื่อให้การตัดสินใจครั้งนี้มีความรอบคอบ ไม่ตกเป็นเครื่องมือของทุนพลังงานที่รอเขมือบทรัพยากรประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น