.....ค้นคว้าโดยศาสตราจารย์ลอเรนซ์ ซี แคทซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ชาวอเมริกัน โดยนำแนวคิดการออกกำลังแบบแอโรบิคส์ ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการขยับกล้ามเนื้อหลายๆ ส่วน มาประยุกต์กลายเป็นวิธีบริหารสมองที่ใช้ประสาทสัมผัสไปกระตุ้นกล้ามเนื้อ สมองหลายๆ ส่วนให้ขยับและตื่นตัว ทำให้แขนงเซลล์ประสาทแตกกิ่งก้านสาขา เซลล์สมองสื่อสารกันมากขึ้น เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ สมองแข็งแรงขึ้น
ยิ่งใช้ชีวิตแบบเดิมมากเท่าไร สมองก็ไม่ได้ใช้งานมากเท่านั้น เพราะสมองจดจำรูปแบบพฤติกรรมได้แล้ว เช่น ถ้าคุณขับรถไปทำงานตามเส้นทางที่คุ้นเคยทุกวัน สมองจะใช้ประสาทส่วนเดิม อาจทำให้เซลล์ประสาทบริเวณนั้นแข็งแรง แต่ก็ลดทอนประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทส่วนอื่น (เพราะไม่ได้ออกกำลังคิด) ถ้าลองเปลี่ยนเส้นทางไปทำงาน คุณจะรู้สึกตื่นเต้นในการจดจำเส้นทาง ผู้คนหรือร้านค้าที่ขับผ่าน
และเชื่อเถอะว่าขณะนั้นสมองหลายส่วนกำลังมีกิจกรรมร่วมกัน ทำงานประสานกันเต็มที่ เพื่อเชื่อมโยงเซลล์ประสาทส่วนอื่นรูปแบบใหม่ มีการหลั่งสาร “นิวโรโทฟินส์” ซึ่งเป็นอาหารสมองมากขึ้น เซลล์สมองแข็งแรงขึ้น ตามหลักนิวโรบิคส์สมองจึงโหยหาประสบการณ์แปลกใหม่เหนือการคาดหมาย เพื่อการเติบโตนั่นเอง
หลักการของนิวโรบิคส์ เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน การทำกิจกรรมซ้ำแบบเดิมทุกวัน ทำให้สมองไม่ได้รับการกระตุ้น นาน เข้าจะทำโดยไม่ต้องคิด (Subconscion) สมองจะทำงานลดลง เซลล์สมองถูกกระตุ้นลดลง นำไปสู่การฝ่อของเซลล์ นิวโรบิคส์จึงเริ่มจาก เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันง่ายๆ เช่น เคยกินข้าวหลังอาบน้ำ ให้กินข้าวก่อนอาบน้ำ เพิ่มกิจกรรมใหม่ให้ตัวเอง ออกไปวิ่งตอนเช้า ปรุงอาหารเช้าด้วยตนเอง เปลี่ยนวิธีปฏิบัติ เช่นใช้มือข้างที่ไม่ถนัดแปรงฟันหรือกดรีโมท ฟังวิทยุจากสถานีใหม่ (ที่ไม่เคยฟัง)
ใช้ประสาทสัมผัสมากขึ้น ดึงความสามารถของประสาทสัมผัสทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ มาใช้ให้มากที่สุด และใช้ประสาทสัมผัสมากกว่า 1 อย่างขึ้นไป โดยงดใช้ประสาทสัมผัสที่ใช้บ่อย เช่นใช้มือคลำหาของ แทนการมองหา สื่อสารด้วยท่าทางแทนคำพูด ผสมผสานประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น ดมกลิ่นหอมของดอกไม้ขณะฟังเพลง ลิ้มลองรสชาติไปพร้อมสูดดมกลิ่นของอาหาร กระตุ้นประสาทสัมผัส เช่น ใช้กลิ่นบำบัด จุดน้ำมันหอมระเหยขณะนวดตัว เล่นเกมส์ฝึกสมอง เช่น เล่นไพ่ เล่นหมากรุก หมากล้อม
ท้าทายประสบการณ์ใหม่ การทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นการกระตุ้นสมองอย่างดี และได้ ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อารมณ์” เมื่อรู้สึกสนุก มีความสุขกับกิจกรรมใหม่ ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุข นอกจากมีผลดีต่อสมอง ยังมีผลดีต่อร่างกายส่วนด้วย ซึ่งอาจทำได้โดย เดินทางท่องเที่ยว การไปสถานที่ใหม่ๆ เจอคนใหม่ๆ และการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ทำให้สมองได้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหามากขึ้น ทำงานอดิเรกใหม่ เช่น เล่นกีฬา งานฝีมือ เย็บปักถักร้อย หรือเลือกซื้อสินค้าในตลาดสดที่ได้พบปะผู้คนมากขึ้น พบปะ สังสรรค์ การเข้าสังคมทำให้สมองได้แก้ปัญหามากขึ้น มีการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองมากขึ้น เช่นเข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัว เป็นสมาชิกชมรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ฝึกสมองให้ไบร์ทไม่ใช่เรื่องยาก เริ่มตั้งแต่วันนี้
ที่มา http://www.siamdara.com/VarietyK/00012478.html#abc
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น